EDS
- จำนวนข้อความ : 10481
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 364
วันเกิด : 28/12/1976
งานอดิเรก : รดน้ำต้นไม้
Mon Mar 31, 2014 11:53 am
Morse Code หรือ รหัสมอร์ส คือ รหัสสัญญาณสั้นยาวใช้แทนตัวอักษร ในการส่งข้อความหากัน แต่เดิมนั้นใช้กับเครื่องส่งโทรเลข ของ Samuel Finley Breese Morse ซึ่งคิดค้นขึ้นมาในปี ค.ศ.1832 และหากท่านสนใจในประวัติการกำเนิดของรหัสมอร์ส และชีวประวัติของนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ ก็สามารถคลิ๊กดูได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ การส่งรหัสมอร์สในยุคแรก ๆ นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การส่งข้อความถึงกันในระยะทางไกล ๆ นั้นทำได้โดยรวดเร็วและง่ายขึ้นกว่าการส่งจดหมาย โดยพนักงานส่งก็แค่ กดแป้นบนเครื่องส่งโทรเลขตามรหัสมอร์สเท่านั้น ทางฝ่ายรับเมื่อได้รหัสข้อความก็นำมาถอดรหัสอีกที นับว่าวิธีการนี้ เป็นการปฏิวัติการส่งข้อความหากันเลยทีเดียว เพราะสามารถส่งข้อความถึงกันในระยะทางไกล ๆ ได้โดยใช้เวลาแค่ไม่ถึงนาที (แล้วแต่ความยาวของข้อความ)
ในการใช้รหัสมอร์สนั้น สามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบนอกจากใช้กับเครื่องส่งโทรเลขแล้ว เรายังสามารถส่งรหัสมอร์สในรูปของสัญญาณเสียง สั้น ยาว (แบบในเรื่อง U-571 ก็เป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่ง), สัญญาณไฟ ซึ่งจะส่งสัญญาณโดยการกระพริบไฟ สั้น ยาว หรือแม้กระทั่งเขียนลงไปในกระดาษเป็นจุด และขีด dash
แต่ในปัจจุบันนี้ รหัสมอร์สนั้นก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเข้ารหัสข้อความอย่างง่าย ๆ ซึ่งถึงแม้รหัสมอร์สจะถูกดักจับและแปลความหมายได้ง่าย แต่ก็จัดว่ายาก เพราะผู้คนส่วนใหญ่จะหลงลืมกันไปเกือบหมดแล้ว และในการรับส่งข้อความนั้น ต้องอาศัยการฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ เพราะเวลารับส่งกันจริง ๆ นั้น จะส่งกันเร็วมาก ๆ ถ้าไม่ชำนาญล่ะก้อรับรองว่ารับไม่ทัน เพราะเวลารับนั้นจะต้องแปลรหัสนั้นออกมาเป็นตัวอักษรเลย สำหรับทหารเรือไทยนั้น แม้ปัจจุบันจะไม่มีการใช้งานกันจริงๆ แต่นักเรียนนายเรือ และนักเรียนจ่าเหล่าสื่อสาร ก็จำเป็นต้องเรียนและฝึกให้รู้ แต่การเรียนและฝึกให้รู้นี้ก็เป็นการเรียนและฝึกที่เข้มข้นอย่างยิ่ง เพราะเรียนกันตลอด 5 ปีเลยทีเดียว ต้องท่องจำจนขึ้นใจ และฝึกรับส่งสัญญาณกันจริง ๆ ยามออกฝึกในทะเล ทั้งจากสัญญาณเสียง และสัญญาณไฟเมื่อพูดถึงการฝึกรับและส่งรหัสมอร์ส เมื่อสมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนนายเรือนั้น พวกเราต้องท่องจำกันแทบเป็นแทบตาย ทั้งรหัสมอร์สสากลและไทย (นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกเยอะที่ต้องท่องจำ) และถ้าท่องผิดหรือว่ารับข้อความผิดเกิน 85 % ตอนสอบ (ซึ่งก็สอบกันทุกอาทิตย์เลย) ล่ะก้อ โดนกักบริเวณอาทิตย์นั้นทันทีเลยล่ะครับ ในการท่องจำรหัสมอร์สให้ขึ้นใจนั้น ทหารเรือไทยจะจำว่า จุด หรือ "." นั้นอ่านว่า "วับ" และ dash หรือ "-" ก็จะอ่านว่า "วาบ" ดังนั้น ตัวอักษร A ก็จะอ่านรหัสมอร์สว่า "วับ วาบ" , B อ่านว่า "วาบ วับ วับ วับ" เป็นต้น สาเหตุที่ใช้คำว่า "วับ วาบ" นั้น ก็เพราะว่าในการส่งรหัสมอร์สส่วนใหญ่นั้น ทหารเรือจะส่งในเวลากลางคืน เพราะในเวลากลางวันสามารถส่งข้อความโดยใช้ธงประมวล และธงสองมือ (คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ) ซึ่งในเวลากลางคืน ไม่สามารถส่งข้อความทางธงได้ เพราะความมืด เราก็จะส่งสัญญาณโดยใช้โคมไฟสัญญาณของเรือ ในการส่งสัญญาณสั้น นั้นก็จะใช้การเปิดแผงกั้นโคมไฟแค่เสี้ยววินาที ซึ่งก็จะเหมือนไฟกระพริบ วับ ๆ แวม ๆ ซึ่งตามหลักภาษาไทยก็จะเรียกว่า "วับ" อยู่แล้ว ส่วนในการส่งสัญญาณยาวนั้น ก็จะเปิดแผงกั้นโคมไฟให้นานขึ้น ซึ่งภาษาไทยก็จะเรียกว่า "วาบ" ส่วนตัวอักษรแต่ละตัวนั้น ใช้รหัสมอร์สอะไร ดูได้จากตารางด้านล่างนี้เลยครับ รหัสมอร์ส พยัญชนะอังกฤษ
รหัสมอร์ส Common Punctuation
Period [.] | · - · - · - |
Comma [,] | - - · · - - |
Question mark [?] | · · - - · · |
Apostrophe ['] | · - - - - · |
Exclamation mark [!] | - · - · - - |
Slash [/] | - · · - · |
Parentheses ( ) | - · - - · - |
Ampersand [&] | · ··· |
Colon [:] | - - - · · · |
Semicolon [;] | - · - · - · |
Double dash [=] | - · · · - |
Fraction bar | - · · - · |
Hyphen [-] | - · · · · - |
Underscore [_] | · · - - · - |
Quotation mark ["] | · - · · - · |
"@" (commat) | · - - · - · |
รหัสมอร์ส พยัญชนะไทย
ก | - - . | ป | . - - . |
ข , ฃ | - . - . | ผ | - - . - |
ค , ฅ , ฆ | - . - | ฝ | - . - . - |
ง | - . - - . | พ, ภ | . - - . . |
จ | - . . - . | ฟ | . . - . |
ฉ | - - - - | ม | - - |
ช , ฌ | - . . - | ย | - . - - |
ซ | - - . . | ร | . - . |
ญ | . - - - | ล , ฬ | . - . . |
ด, ฎ | - . . | ว | . - - |
ต, ฏ | - | ส, ศ, ษ | . . . |
ถ, ฐ | - . - . . | ห | . . . . |
ท, ธ, ฑ, ฒ | - . . - - | อ | - . . . - |
น, ณ | - . | ฮ | - - . - - |
บ | - . . . | ฤ, ฤา | . - . - - |
รหัสมอร์ส สระไทย
อะ | - . . . | อู | - - - . |
อา | . - | เอ | . |
อิ | . . - . . | แอ | . - . - |
อี | . . | โอ | - - - |
อึ | . . - - . | ไอ , ใอ | . - . . - |
อื | . . - - | อำ | . . . - . |
อุ | . . - . - | | |
รหัสมอร์ส วรรณยุกต์ไทย และเครื่องหมาย
ไม้เอก (จ่า) | . . - | ไม้ไต้คู้ (ก็) | - - - . . |
ไม้โท (กล้า) | . . . - | การันต์ (วงศ์) | . - - - . |
ไม้ตรี (ก๊าก) | - - . . . | ไม้ทั้ง (ตั้ง) | - - . . - |
ไม้จัตวา (ก๋า) | . - . - . | ไปยาลน้อย (ฯ) | - - . - . |
ไม้หันอากาศ (หัน) | . - - . - | ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) | - - - . - |
รหัสมอร์ส พยัญชนะไทยนั้น จะเน้นที่เสียงมากกว่า รูปพยัญชนะ เพราะฉะนั้น ตัวอักษรที่ออกเสียงเดียวกัน จึงใช้รหัสมอร์สเดียวกัน เวลาที่ใช้งานจริง ๆ พอถอดรหัสออกมาแล้วก็จะรู้เองว่า ใช้ตัวอักษรอะไร อันนี้ไม่ยาก ส่วนทางด้านภาษาอังกฤษนั้น ก็ยังมีคำย่อ และรหัสซ้อนรหัสอีกมากมาย เช่น AGN = Again , C = Yes , DE = From , TU = Thank You , 73 = Best Regards ฯลฯเป็นยังงัยบ้างครับ เรื่องรหัสมอร์ส ถ้าใครสนใจ ลองจำไปใช้กับเพื่อนๆ ดูก็ได้นะครับ ไว้ส่งข้อความลับ ๆ หากันงัยล่ะครับ รับรองว่า หาคนจับได้ยาก
ที่มา : http://zedth.exteen.com
- Code:
เคยเล่นครอสเวิร์ดกันมั้ยครับ
ตอนที่ทำถุงตัวอักษรตกแล้วมันก็สลับกันมั่ว
NOBATY ที่ไหนนะ