- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
อักษรรูน - Runic Alphabet
Sun Feb 16, 2014 1:00 am
ต้นกำเนิด
อักษรรูน หรือที่ชื่อพื้นเมืองคือ ฟูทาร์ก(futhark) ซึ่งตั้งชื่อตามตัวอักษรหกตัวแรก มีที่มาที่ไม่แน่ชัด ในภาษานอร์สโบราณ คำว่ารูนหมายความว่า 'ตัวอักษร(letter)', 'ข้อความ(text)' หรือ 'คำจารึก(inscription)' และในกลุ่มภาษาเยอรมันโบราณมีความหมายว่า 'สิ่งลึกลับ(mystery)' หรือ 'ความลับ(secret)' และรูนยังมีบทบาทที่สำคัญในด้านพิธีกรรมและเวทมนต์อีกด้วย
ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของอักษรรูน:
คำจารึกอักษรรูนที่เก่าแก่ที่สุดที่พบ มีอายุอยู่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 1 แต่คำจารึกอักษรรูนส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 11 คำจารึกอักษรรูนพบได้ทั่วไปในยุโรป ตั้งแต่บอลข่าน(Balkans) ถึงเยอรมนี, สแกนดิเนเวีย และหมู่เกาะอังกฤษ(British Isles)
ลักษณะเด่น
ประเภทของคำจารึกอักษรรูน:
อักษรรูนรูปแบบต่างๆ:
ฟูทาร์กยุคเก่า(Elder Futhark)
ฟูทาร์กยุคเก่าเชื่อกันว่าเป็นรูปแบบที่เก่าที่สุดของอักษรรูน และถูกใช้ในพื้นที่ในยุโรปที่เป็นที่อาศัยของชนกลุ่มเยอรมันรวมถึงสแกนดิเนเวีย รูปแบบอื่นๆน่าจะพัฒนามาจากรูปแบบนี้ ชื่อของอักษรปรากฏใน Common Germanic ซึ่งเป็นบรรพบุรุษใหม่ของภาษากลุ่มเยอรมันทั้งหมด มีการใช้ในช่วง ค.ศ.150-800
เพิ่มเติม
ตัวอักษร k ยังถูกเรียกว่า kēnaz (คบไฟ) หรืแor kanō (เรือแจว)ได้อีกด้วย ความหมายของชื่อ perþ ยังไม่มีใครทราบ
Anglo-Saxon Futhorc
ชาวแองโกลแซกซอนนำฟูทาร์กเข้าสู่อังกฤษในช่วงคริสตศตวรรษที่5 และได้ถูกดัดแปลงเป็นอักษร 33 ตัวเรียกว่าฟูธอร์ค(Futhorc) เพื่อบันทึกการออกเสียงในภาษาอังกฤษโบราณ
Gothic Runes
Gothic เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก ใช้โดยชาวโกธ(Goths) ใช้อักษรรูนในการเขียนจนถึงคริสตศตวรรษที่4 ถูกแทนที่โดยอักษรโกธิกแบบกรีก
Gothic Runes
Gothic เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก ใช้โดยชาวโกธ(Goths) ใช้อักษรรูนในการเขียนจนถึงคริสตศตวรรษที่4 ถูกแทนที่โดยอักษรโกธิกแบบกรีก
ฟูทอร์กยุคใหม่(Younger Futhork)
ฟูทอร์กยุคใหม่ หรือ "รูนปกติ(Normal Runes)" มีการพัฒนามาทีละน้อยจากฟูทาร์กยุคเก่า กินเวลานานหลายช่วงปี และอยู่ตัวตอนประมาณ ค.ศ.800 ช่วงเริ่มต้นของยุคไวกิ้ง อักษรนี้เป็นอักษรหลักใน นอร์เวย์, สวีเดน และ เดนมาร์ก ตลอดช่วงเวลาของยุคไวกิ้ง แต่ก็ยังมีการใช้อย่างแพร่หลายถึงแม้จะถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินตอนประมาณปี 1200 จากการที่ชาวสแกนดิเนเวียได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์
มีรูปแบบที่ต่างกับเล็กน้อยสามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในเดนมาร์ก, สวีเดน และนอร์เวย์:
ฟูทาร์กเดนมาร์ก(Danish Futhark)
Swedish-Norwegian / Short-twig / Rök Runes
ฟูทาร์กนอร์เวย์(Norwegian Futhark)
Gothenburg / Bohuslän Runes
Hungarian Runes
Hungarian Runes เป็นประเภทหนึ่งของอักษรรูน ถูกใช้โดยชาว Magyars จนถึงคริสตศตวรรษที่11 พระราชาชาวคาธอลิกคนแรกของฮังการี St. Stephen I สั่งให้ทำลายอักษรท้องถิ่นทุกชนิด และให้ใช้อักษรคริสเตียน(ละติน)แทน อย่างไรก็ตาม รูนเหล่านี้ยังหลงเหลือในชนบทของทรานซิลเวเนียจนถึงช่วงปี1850
Medieval (Latinised) Futhark
หลังจากศาสนาคริสต์ได้เข้าสู่สแกนดิเนเวีย อักษรรูนได้ถูก Latinised และถูกใช้เพียงบางโอกาสเท่านั้น ส่วนมากเพื่อการตกแต่ง จนถึงปี 1850
ที่มา Omniglot
อักษรรูน หรือที่ชื่อพื้นเมืองคือ ฟูทาร์ก(futhark) ซึ่งตั้งชื่อตามตัวอักษรหกตัวแรก มีที่มาที่ไม่แน่ชัด ในภาษานอร์สโบราณ คำว่ารูนหมายความว่า 'ตัวอักษร(letter)', 'ข้อความ(text)' หรือ 'คำจารึก(inscription)' และในกลุ่มภาษาเยอรมันโบราณมีความหมายว่า 'สิ่งลึกลับ(mystery)' หรือ 'ความลับ(secret)' และรูนยังมีบทบาทที่สำคัญในด้านพิธีกรรมและเวทมนต์อีกด้วย
ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของอักษรรูน:
- อักษรรูนน่าจะถูกสร้างขึ้นอย่างเอกเทศ ไม่ได้มีการวิวัฒนาการมาจากอักษรอื่นๆ
- การเขียนรูนครั้งแรกน่าจะมีขึ้นในยุโรปตอนใต้ และถูกเผยแพร่สู่ทางเหนือโดยชนเผ่าเยอรมัน(Germanic tribes)
- อักษรรูนนั้นเชื่อกันว่าเป็นต้นแบบของอักษรละติน และ/หรือ อักษรอีทรัสคัน
คำจารึกอักษรรูนที่เก่าแก่ที่สุดที่พบ มีอายุอยู่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 1 แต่คำจารึกอักษรรูนส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 11 คำจารึกอักษรรูนพบได้ทั่วไปในยุโรป ตั้งแต่บอลข่าน(Balkans) ถึงเยอรมนี, สแกนดิเนเวีย และหมู่เกาะอังกฤษ(British Isles)
ลักษณะเด่น
- ทิศทางของการเขียนจารึกอักษรรูนสมัยก่อนเป็นไปอย่างหลากหลาย ในภายหลังได้มีการตกลงให้เป็นในรูปแบบซ้ายไปขวา
- การแบ่งคำไม่เป็นที่พบเห็นได้ทั่วไปนัก แม้ว่าบางครั้งจะมีการใช้จุดในการแบ่งคำก็ตาม
ประเภทของคำจารึกอักษรรูน:
- ประเภท 'Hrolf was here' จารึกลงบนหน้าผา, หินขนาดใหญ่ และอาคาร
- คำจารึกบนหินหลุมศพ มักจะบอกชื่อผู้สลักหิน, ผู้ที่ถูกฝัง และผู้ยืนยันว่าหินนี้ได้ถูกสร้างขึ้นจริง (ภายหลังป้ายหลุมศพหรือโลงหินบางครั้งจะถูกจารึกด้วยข้อความทางศาสนาคริสต์สลักด้วยอักษรรูน)
- คำจารึกทางศาสนา/เวทมนต์: บทสวดและคำสาป, ตำราคาถา, ฯลฯ
- คำจารึกเกี่ยวกับการค้าและการเมือง: มีตัวอย่างของการติดต่อค้าขายมากมาย: รายการของในคลังและคำอธิบาย, คำขอโทษที่ไม่จ่ายตรงเวลา, ป้ายชื่อสินค้าสำหรับกระสอบและัลังสินค้า, ฯลฯ คำจารึกทางการค้ามักจะสลักลงบนแท่งไม้ คำจารึกทางการเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย, บุคคลทางประวัติศาสตร์ระบุว่าพวกเขากำลังซ่อนตัวจากศัตรูอยู่ที่ไหนสักแห่ง, ข้อความลับเกี่ยวกับการรบในสงคราม, ฯลฯ
- จดหมายส่วนตัว: จดหมายรัก, ทักทายระหว่างเพื่อน, คำขอแต่งงาน, ฯลฯ
- ข้อความหยาบ เช่นเดียวกับกราฟิตีสมัยใหม่(modern graffiti)
- ศิลปะ และสลักลายเซ็น: ช่างทอง, ช่างตีเหล็ก, ช่างสลักไม้, คนงานสร้างโบสถ์, ฯลฯ มักจะใส่ชื่อตัวเองลงไปในสิ่งที่ตนสร้าง สิ่งของต่างๆก็มักจะมีชื่อสลักไว้บนนั้น - ทั้งชื่อของสิ่งของนั้นเอง หรือชื่อของคนที่เป็นเจ้าของสิ่งนั้น
อักษรรูนรูปแบบต่างๆ:
- ฟูทาร์กยุคเก่า(Elder Futhark)
- ฟูทอร์กยุคใหม่(Younger Futhork)
- Medieval (Latinised) Futhark
ฟูทาร์กยุคเก่า(Elder Futhark)
ฟูทาร์กยุคเก่าเชื่อกันว่าเป็นรูปแบบที่เก่าที่สุดของอักษรรูน และถูกใช้ในพื้นที่ในยุโรปที่เป็นที่อาศัยของชนกลุ่มเยอรมันรวมถึงสแกนดิเนเวีย รูปแบบอื่นๆน่าจะพัฒนามาจากรูปแบบนี้ ชื่อของอักษรปรากฏใน Common Germanic ซึ่งเป็นบรรพบุรุษใหม่ของภาษากลุ่มเยอรมันทั้งหมด มีการใช้ในช่วง ค.ศ.150-800
เพิ่มเติม
ตัวอักษร k ยังถูกเรียกว่า kēnaz (คบไฟ) หรืแor kanō (เรือแจว)ได้อีกด้วย ความหมายของชื่อ perþ ยังไม่มีใครทราบ
Anglo-Saxon Futhorc
ชาวแองโกลแซกซอนนำฟูทาร์กเข้าสู่อังกฤษในช่วงคริสตศตวรรษที่5 และได้ถูกดัดแปลงเป็นอักษร 33 ตัวเรียกว่าฟูธอร์ค(Futhorc) เพื่อบันทึกการออกเสียงในภาษาอังกฤษโบราณ
|
|
|
Gothic Runes
Gothic เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก ใช้โดยชาวโกธ(Goths) ใช้อักษรรูนในการเขียนจนถึงคริสตศตวรรษที่4 ถูกแทนที่โดยอักษรโกธิกแบบกรีก
Gothic เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก ใช้โดยชาวโกธ(Goths) ใช้อักษรรูนในการเขียนจนถึงคริสตศตวรรษที่4 ถูกแทนที่โดยอักษรโกธิกแบบกรีก
ฟูทอร์กยุคใหม่(Younger Futhork)
ฟูทอร์กยุคใหม่ หรือ "รูนปกติ(Normal Runes)" มีการพัฒนามาทีละน้อยจากฟูทาร์กยุคเก่า กินเวลานานหลายช่วงปี และอยู่ตัวตอนประมาณ ค.ศ.800 ช่วงเริ่มต้นของยุคไวกิ้ง อักษรนี้เป็นอักษรหลักใน นอร์เวย์, สวีเดน และ เดนมาร์ก ตลอดช่วงเวลาของยุคไวกิ้ง แต่ก็ยังมีการใช้อย่างแพร่หลายถึงแม้จะถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินตอนประมาณปี 1200 จากการที่ชาวสแกนดิเนเวียได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์
มีรูปแบบที่ต่างกับเล็กน้อยสามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในเดนมาร์ก, สวีเดน และนอร์เวย์:
ฟูทาร์กเดนมาร์ก(Danish Futhark)
Swedish-Norwegian / Short-twig / Rök Runes
ฟูทาร์กนอร์เวย์(Norwegian Futhark)
Gothenburg / Bohuslän Runes
Hungarian Runes
Hungarian Runes เป็นประเภทหนึ่งของอักษรรูน ถูกใช้โดยชาว Magyars จนถึงคริสตศตวรรษที่11 พระราชาชาวคาธอลิกคนแรกของฮังการี St. Stephen I สั่งให้ทำลายอักษรท้องถิ่นทุกชนิด และให้ใช้อักษรคริสเตียน(ละติน)แทน อย่างไรก็ตาม รูนเหล่านี้ยังหลงเหลือในชนบทของทรานซิลเวเนียจนถึงช่วงปี1850
Medieval (Latinised) Futhark
หลังจากศาสนาคริสต์ได้เข้าสู่สแกนดิเนเวีย อักษรรูนได้ถูก Latinised และถูกใช้เพียงบางโอกาสเท่านั้น ส่วนมากเพื่อการตกแต่ง จนถึงปี 1850
ที่มา Omniglot
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
|
|