EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^

Join the forum, it's quick and easy

EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^
EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
Winter
Winter
นักล่าปริศนา
นักล่าปริศนา
จำนวนข้อความ : 678
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 33
วันเกิด : 10/01/1997

สาขาของพิษวิทยา - Page 2 Empty สาขาของพิษวิทยา

Mon Mar 19, 2012 10:21 am
First topic message reminder :

สาขาของพิษวิทยา
-Analytical toxicology ศึกษาเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์สารพิษ
-Clinical toxicology ศึกษาเกี่ยวกับอาการ และการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ
-Environmental toxicology ศึกษาเกี่ยวกับผลของสารพิษต่อสิ่งแวดล้อม
-Forensic toxicology ศึกษาเกี่ยวกับผลของสารพิษ วิธีการเก็บตัวอย่าง วิธีตรวจสารหาสารพิษ และการแปลผลในตัวผู้ป่วยและศพ

ประเภทของสารพิษ
แบ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้ศึกษา
1. จำแนกตามต้นกำเนิดของสารพิษ
1.1 สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
1.1.1 สารพิษที่ได้จากสัตว์
1.1.2 สารพิษที่ได้จากพืช
1.2 สารพิษจากการสังเคราะห์

2.จำแนกตามความเป็นพิษของสารพิษ (toxicity rating) นิยมแบ่งตามค่า LD50 หมายถึง ปริมาณสารพิษที่ทำให้สัตว์ทดลองที่ได้รับสารพิษไปตายร้อยละ 50

3. จำแนกตามระบบและอวัยวะที่สารพิษออกฤทธิ์ (target organ)
3.1 พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง
3.2 พิษต่อระบบประสาทส่วนปลาย
3.3 พิษต่อระบบไหลเวียนโลหิต
3.4 พิษต่อกล้ามเนื้อ
3.5 พิษต่อตับ
3.6 พิษต่อไต
3.7 พิษต่อปอด
3.8 พิษต่อการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ (DNA)

4. ในงานนิติพิษวิทยาจะแนกสารพิษตามวิธีการตรวจวิเคราะห์ในการแยกสกัดสารพิษจากชีววัตถุ ซึ่งแบ่งสารพิษเป็น5ประเภท
4.1 สารพิษที่เป็นก๊าซ หรือสารที่ระเหยได้ เช่น โทลูอีน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เอทานอล
4.2 สารอินทรีย์ที่ไม่ระเหย เช่น ยารักษาโรค มอร์ฟีน
4.3 กลุ่มโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สังกะสี ปรอท
4.4 กลุ่มอนุมูลประจุลบ เช่นโบร์ไมด์ ไนเทรต์
4.5 กลุ่มอื่นๆที่ไม่อยู่ใน4กลุ่มแรก



ปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นพิษ
มีหลายปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนตอบสนองสารพิษแตกต่างกัน ทั้งที่ได้รับสารพิษในปริมาณเท่ากัน เช่น
-ปัจจัยเกี่ยวกับสารพิษ สารเคมีชนิดเดียวกันแต่อยู่ในรูปที่แตกต่างกัน
-ปัจจัยที่เกี่ยวกับการได้รับสารพิษ
-ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
-ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ได้รับสารพิษ



พฤติการณ์การตายจากสารพิษ
- อัตวินิบาตกรรม เป็นการตั้งใจฆ่าตัวตาย
- ฆาตกรรม เป็นการเสียชีวิตโดยถูกผู้อื่นเจตนาใช้สารพิษทำร้าย
- อุบัติเหตุ เป็นการรับสารพิษเข้าสู้ร่างกายโดยที่ผู้ตายหรือบุคคลอื่นไม่มีเจตนามุ่งร้ายต่อชีวิตส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็กและบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารพิษ
- เสียชีวิตจากพิษของสัตว์มีพิษกัด ต่อย




เภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamics)


เกี่ยวกับวิธีการออกฤทธิ์และฤทธิ์ของยาในสิ่งมีชีวิต โดยศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ ผลทางเภสัชวิทยา ผลข้างเคียง พิษของยา รวมถึงปฏิกิริยาระหว่างกันของยาชนิดต่างๆ


เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)


เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณหาปริมาณยาในร่างกายตามกระบวนการต่างๆที่ร่างกายใช้จัดการกับยา ซึ่งกระบวนการนั้นแบ่งเป็น4ขั้นตอน

1.การดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (absorption) การดูดซึมยาจะต้องผ่านผนังเซลล์ซึ่งเป็นตัวกั้นตามธรรมชาติ เซลล์แต่ละชนิดมีโครงสร้างและรูปร่างที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีการดูดซึมยาต่างกัน การเคลื่อนที่ของยาผ่านผนังเซลล์แบ่งเป็น2วิธีคือ

1.1 Passive transport
Simple diffusion เป็นการเคลื่อนที่ของยาจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง ไปบรืเวณที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า
Filtration เป็นการเคลื่อนที่ของยาที่มีขนาดเล็กผ่านไปพร้อมกับน้ำที่เคลื่อนเข้าสู้เซลล์ทาง aqueous pores ตาม hydrostatic pressure

1.2 Special transport ในกรณียาที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ ละลายในไขมันได้ไม่ดี หรือเคลื่อนที่จากความเข้มข้นต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ต้องอาศัยการขนส่งพิเศษผ่านทางผนังเซลล์ ซึ่งแบ่งได้เป็น2วิธี คือ
Faciliated diffusion เป็นการเคลื่อนที่ของยาผ่านผนังเซลล์ตาม concentration gradiend โดยมีตัวพา ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับยานั้นๆ
Active transport ยาที่เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงกว่าได้ โดยอาศัยพลังงานจากเซลล์และอาศัยตัวพาในการขนส่งยา

2.การกระจายในร่างกาย (distridution)
หลังจากยาถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตแล้ว ยานั้นจะกระจายตัวไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะที่ยานั้นไปออกฤทธิ์
การเคลื่อนที่ของยาจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งนั้นจะต้องผ่านผนังกั้นต่างๆเช่นเดียวกับการดูดซึม โดยที่ยาในกระแสโลหิตจะเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปในของเหลวระหว่างผ่านเซลล์ และผ่านผนังเซลล์เข้าไปในของเหลวภายในเซลล์

3.การเปลี่ยนรูป (biotransformation)
ยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นรูปเอนไซม์ชนิดต่างๆในร่างกาย กระบวนการนี้ส่วนใหญ่เกิดที่ตับ ยาที่ถูกเปลี่ยนรูปนั้นอาจจะไดเสารใหม่ที่มีฤทธิ์มากขึ้น เท่าเดิม หรือน้อยลงก็ได้ตามแต่ชนิดของยา

4.การขับถ่ายออกจากร่างกาย (excretion)
ยาส่วนใหญ่ถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ มีส่วนน้อยที่ขับออกทางเหงื่อ ลมหายใจ น้ำตา หรืออุจจาระ
ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียและยาออกจากเลือดไปทางปัสสาวะ โดยกระบวนการที่ไตทำงานนั้นมี3ขั้นตอน
ยาที่อยู่ในรูปอิสระและละลายได้ดีในไขมันจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่พลาสมาโดยกระบวนการ tubular reabsorption ในทางตรงกันข้ามยาใดที่แตกตัวเป็นไอออนได้ดี และละลายน้ำได้ดีจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

5.Redistribution
เป็นการเคลื่อนที่ของยาออกจากเซลล์เข้าสู่กระแสเลือด หรือจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆโดนเกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิต หรือในช่วงการเก็บรักษาตัวอย่าง ซึ่งมีผลทำให้ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์นั้นมีค่าที่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้




หลักการการรักษาผู้ได้รับสารพิษ

1.ให้การรักษาประคับประคองตามอาการ
2.ป้องกันไม่ให้มีการดูดซึมสารพิษมากขึ้น
3.เพิ่มการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
4.ให้สารต้านสารพิษ
5.ป้องกันการรับสารพิษซ้ำ





แก้ไขล่าสุดโดย Winter เมื่อ Fri May 04, 2012 2:48 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง

princeofsong
princeofsong
นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
จำนวนข้อความ : 229
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 3
วันเกิด : 02/11/1986
งานอดิเรก งานอดิเรก : นอน

สาขาของพิษวิทยา - Page 2 Empty Re: สาขาของพิษวิทยา

Sun Jan 27, 2013 7:54 pm
This dice is not existing.
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

สาขาของพิษวิทยา - Page 2 Empty Re: สาขาของพิษวิทยา

Fri Feb 08, 2013 1:10 pm
สาขาของพิษวิทยา - Page 2 Bth_443

fukamaru
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ