EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^

Join the forum, it's quick and easy

EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^
EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
avatar
????????
ผู้มาเยือน

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty ระบบวิธีพิจารณาคดี

Wed Apr 04, 2012 2:48 pm
ดังที่ได้เคยกล่าวถึงไว้คร่าวๆในเรื่องกฎหมายสามบทแรกไปแล้ว ในบทนี้ จะกล่าวถึงเรื่องการพิจารณาคดีในชั้นศาลโดยตรง และละเอียดกว่าเดิม



ระบบวิธีพิจารณาคดี
ระบบวิธีพิจารณาคดี คือ วิธีการดำเนินคดีในศาล หลักเกณฑ์การฟ้องคดีต่างๆ รวมถึงภาระการพิสูจน์ การแสวงหาพยานหลักฐานนำเสนอต่อศาลเพื่อสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของแต่ละฝ่าย
ระบบวิธีพิจารณาคดีแบ่งออกเป็นสองระบบหลักๆ คือ
1.ระบบกล่าวหา (Accusatorial System) ใช้กับกฎหมายในระบบ Common law
2.ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) ใช้กับกฎหมายในระบบ Civil law

ระบบกล่าวหานั้น มีที่มาจากประเทศอังกฤษและกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอว์ (Common Law) เช่นสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แคนาดา รวมทั้งกลุ่มประเทศอาณานิคมของอังกฤษ โดยมีพื้นฐานวิธีคิดมาจากการแก้แค้นกันระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดด้วยตนเอง แล้วรวบรวมพยานหลักฐานมานำสืบความผิดของจำเลยในศาล ส่วนศาลหรือผู้พิพากษาจะวางตัวเป็นกลางโดยเคร่งครัด ไม่ถามหรือแสวงหาพยานหลักฐานใดเพิ่มเติม หากขาดพยานหลักฐานในส่วนใด ศาลจะถือว่าเป็นความบกพร่องของผู้เสียหายเอง และจะยกประโยชน์ในข้อนี้ให้แก่จำเลย
สำหรับระบบกล่าวหานั้น บางประเทศอาจจะนิยมใช้คณะลูกขุนในการตัดสินข้อเท็จจริง แต่บางประเทศก็ไม่ใช้คณะลูกขุน แต่ยกหน้าที่ในการตัดสินทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้แก่ศาลเป็นผู้ใช้อำนาจวินิจฉัยทั้งหมด ทั้งนี้แล้วแต่บริบททางสังคมของแต่ละประเทศนั้น หลักกใหญ่ๆ ที่พิจารณาว่าประเทศใดใช้วิธีพิจารณาในระบบกล่าวหานั้น มีวิธีพิจารณาข้อแตกต่างของทั้งสองระบบ ดังนี้
1. ผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง ในบางความผิดอาญา โดยไม่ต้องอาศัยพนักงานอัยการและในคดีแพ่งผู้เสียหายก็มีอำนาจฟ้องคดีได้เองด้วย
2. การพิจารณาคดี เน้นการเท่าเทียมกันของคู่ความ ไม่ว่าระหว่างรัฐ-เอกชนหรือเอกชน-เอกชน
3. การพิจารณา กระทำโดยเปิดเผย และด้วยวาจา โดยกระทำต่อหน้าศาล และคณะลูกขุน (หากมี) ในศาล
4. ศาลไม่มีอำนาจแสวงหาพยานหลักฐาน ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยหน้าที่การแสวงหาและนำเสนอพยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของคู่ความ ในส่วนนี้กฎหมายไทย ได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในหลักของภาระการพิสูจน์ “ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ในข้อเท็จจริงนั้น” ศาลไม่สามารถถามความได้เอง ไม่สามารถถามในส่วนที่ตนเองสงสัย หรืออยากเห็นพยานหลักฐานใดก็ไม่สามารถถามหาเอาได้ ศาลจะมีหน้าที่ฟัง และทำการบันทึกคำให้การต่างๆ หากศาลสงสัยในส่วนใด ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
5. ในวิธีพิจารณา มีบทตัดพยานชัดเจนเคร่งครัด (อยู่ในกฎหมายลักษณะพยาน) เช่น หากพยานหลักฐานนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่สามารถที่จะนำมาให้ศาลรับฟังเป็นพยานได้ ใช้หลักต้นไม้มีพิษ ลูกไม้ย่อมมีพิษ Fruit of the poisonous tree
6. คำพิพากษา มีลักษณะเป็นการบัญญัติกฎหมาย




ส่วนระบบไต่สวนนั้น มีพื้นฐานและวิธีคิดว่า ผู้มีอำนาจในการไต่สวนควรจะเป็นผู้มีอำนาจในบ้านเมือง อันที่จริงมีอิทธิพลจากศาสนา ว่ากันว่าระบบไต่สวนมีที่มาจากศาลทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิคในสมัยกลาง ซึ่งทางศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสันตปาปาแห่งกรุงโรม มีอิทธิพลเหนือฝ่ายอาณาจักรคือ กษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต่างๆในสมัยกลาง ศาลศาสนาของยุโรปมีวิธีการพิจารณาคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายของทางศาสนาด้วยวิธีการซักฟอกพยาน โดยพระผู้ทำการไต่สวนจะมีอำนาจซักฟอก ซักถามตัวผู้กระทำความผิดได้โดยตรง นอกจากนั้น การแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ ยังอยู่ในอำนาจของศาลอีกด้วย หากสงสัยในเรื่องใด ก็สามารถที่จะไปแสวงหาข้อเท็จจริงมานำเสนอ โดยไม่ต้องผ่านการนำเสนอของคู่ความในคดีแต่อย่างใด

สำหรับประเทศไทย ใช้ระบบไต่สวนในศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนในศาลยุติธรรมเช่น ศาลอาญา ศาลแพ่ง ฯลฯ ใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา แต่ไม่ใช้คณะลูกขุน

หลักการใหญ่ที่จะพิจารณาถึงระบบไต่สวน
1. ศาลเป็นผู้ทำการไต่สวน มีอำนาจสืบพยาน และควบคุมการไต่สวนเอง ซึ่งทำให้ศาลมีบทบาทในเรื่องนี้อย่างมากทีเดียว
2. ไม่เน้นความเท่าเทียมกันของคู่ความ เนื่องจากวิธีพิจารณา มีลักษณะเป็น การต่อสู้ระหว่างรัฐกับจำเลย โดยหากมีการฟ้องร้องใดๆ จะต้องผ่านรัฐเสมอ รัฐจึงเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย
3. การพิจารณา อาจมิได้กระทำโดยเปิดเผย
4. เนื่องจากศาลมีอำนาจในการสืบพยานและไต่สวน การพิจารณาพยานหลักฐานจึงเปิดกว้างขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล โดยศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานที่ศาลสงสัยหรืออาจะเห็นว่าเป็นหลักฐานสำคัญได้ด้วยอำนาจของศาลเอง (ข้อดีหรือข้อด้อย ความได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับรูปคดี เพราะไม่มีการเปิดเผยพยานหลักฐานในการใช้ต่อสู้คดีก่อนการพิจารณาแบบระบบกล่าวหา)
5. ใช้ประมวลกฎหมาย ในการกำหนดความผิดและโทษ ไม่ใช่คำพิพากษา


สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ การตัดสินพิจารณาคดีทางแพ่งและอาญา ได้มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว นั่นคือ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ซึ่งทั้งสองประมวลกฎหมายนี้ ใช้วิธีกล่าวหา ตามที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

แบบให้คิดเล่นๆ(อีกแล้ว) เกี่ยวกับความผิดทางอาญา

ตามข้อต่อไปนี้ ก.มีความผิดฐานใด
1 ก.ไล่ยิงข. ข.กระโดดหนีลงแม่น้ำจมน้ำตาย
2 ก.ฟันข.ด้วยเจตนาจะฆ่า ข.หลบเลยพลาดตกตึกตาย
3 ก.สามีตั้งใจหยอกล้อภริยา จึงอยากเอามีดเหวี่ยงไปข้างหลังข. มีดโดนประตูเรือนแล้วสะท้อนไปถูกเท้าข. เส้นโลหิตใหญ่ขาด โลหิตไหลไม่หยุด รุ่งขึ้นข.ตาย

เหมือนเดิมครับ "ไม่มีคะแนน" แต่ตอบคราวนี้ช่วยอ้างอิงกฎหมายมาด้วยนะครับ
sodium2468
sodium2468
นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
จำนวนข้อความ : 235
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 8
วันเกิด : 16/01/1995
งานอดิเรก งานอดิเรก : อัพนิยาย เล่นFacebook ดูการ์ตูน

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Sat Apr 07, 2012 6:14 pm
จะลองทำดูค่ะ Arrow
Pischanan
Pischanan
นักเดินทางแห่งสายลม
นักเดินทางแห่งสายลม
จำนวนข้อความ : 69
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 2
วันเกิด : 06/05/1997
งานอดิเรก งานอดิเรก : SLEEP ^^

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Wed Apr 11, 2012 1:31 pm
ขอบคุณค่ะ
avatar
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Sun Apr 29, 2012 9:28 pm
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆจ้าาา
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Fri Nov 09, 2012 8:18 pm
Kamehameha
ระบบวิธีพิจารณาคดี Tumblr_lhz5f9SQR21qf8kb8o1_400

This dice is not existing.
Lightdramon
Lightdramon
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 1674
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 97
วันเกิด : 01/01/1992
งานอดิเรก งานอดิเรก : ดูอนิเม,ซีรีย์,ฟังเพลง,ดูทีวี,อ่านหนังสือ

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Fri Nov 09, 2012 8:35 pm
เฮียวรินมารุ
ระบบวิธีพิจารณาคดี Tumblr_mbephpnmnk1rh3cbfo1_500

This dice is not existing.
mimozaa
mimozaa
นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
จำนวนข้อความ : 277
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 72
วันเกิด : 12/08/1998
งานอดิเรก งานอดิเรก : YY

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Fri Nov 09, 2012 9:18 pm
ระบบวิธีพิจารณาคดี GraphicHuman19

ท้าพลังสกดจิต เ็็ป็นหิน

This dice is not existing.
Rightman
Rightman
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
จำนวนข้อความ : 374
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 23
วันเกิด : 01/04/1995
งานอดิเรก งานอดิเรก : มากมาย

ระบบวิธีพิจารณาคดี Empty Re: ระบบวิธีพิจารณาคดี

Fri Nov 09, 2012 10:36 pm
เจ้าตัวให้ชื่อว่า"หักคอ" =.=a
ระบบวิธีพิจารณาคดี Tumblr_mcu06m5uUt1rtsjj1o1_500
This dice is not existing.
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ