ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
+8
Fuyuki Winter
conan1412
กันต์
sodium2468
NaBee
story207
Pischanan
topyok
12 posters
- ????????ผู้มาเยือน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sat Mar 03, 2012 12:02 am
ทุกคนคงจะรู้กันแล้วว่า เนื้อหาในส่วนแรกนั้น คือ กฏหมายแพ่งและอาญาเบื้องต้นสำหรับนักสืบ แต่ก่อนจะเรียนเรื่องกฎหมายแพ่งและอาญา เราต้องมาปรับความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายโดยรวมกันก่อน
กฎหมาย ในความหมายโดยรวมคือ บรรดากฎเกณฑ์กลางของสังคมหรือรัฐอันมีลักษณะเป็นการสั่งการหรือการบังคับให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ความสำคัญของกฎหมาย
เนื่องจากกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์กลางที่ใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ให้สมาชิกในสังคมอยู่อย่างเป็นระเบียบและเป็นการประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกันด้วยความยุติธรรมตามกฎหมาย กฎหมายจึงจำเป็นต้องถือ (สันนิษฐาน)ว่าทุกคนต้องรู้กฎหมายหรือตามภาษิตกฎหมายที่ว่า "บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้" (Ignoreance of the Law Excuses for no Man)
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
1 กฎหมายต้องมาจากรัฐธาธิปัตย์(Sovereignty) ซึ่งก็คือสถาบันหรือกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดแห่งรัฐในขณะนั้นที่มีอำนาจออกกฎหมาย
2 ต้องใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป(Equality) ต้องบังคับความประพฤติในรัฐอย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน มิใช่เพื่อกลุ่มชนใดหรือคณะใดโดยเฉพาะ
3 ต้องบังคับใช้เสมอไป(Enaction) จนกว่าจะถึงวันยกเลิก(และไม่มีผลย้อนหลัง)
4 จำเป็นต้องปฏิบัติตาม(Recognition)
5 ต้องมีสภาพบังคับ(Sanction) หรือบทลงโทษ เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด กฎหมายใดปราศจากสภาพบังคับย่อมไม่ใช่กฎหมายแม้จะเข้าลักษณะทั้งสี่ประการก็ตาม
(กฎหมายที่ดีควรสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางสังคม เช่น ศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณี ขัดแย้งจะขัดกับความรู้สึกประชาชนและถูกยกเลิกในที่สุด)
ขอบเขตการบังคับใช้
สถานที่และบุคคลที่ใช้กฎหมายบังคับ
ยึดหลักดินแดนซึ่งถือเป็นหลักสากลดังนี้
1 พื้นแผ่นดิน
2 ขอบเขตน่านน้ำ
3 พื้นอากาศซึ่งอยู่เหนือพื่นที่ตามข้อข้างต้น
4 เรือและอากาศยานของประเทศนั้นๆ
บุคคลยกเว้นที่ไม่นำหลักดินแดนมาใช้ได้แก่
1 ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ
2 ทูตและบริวาร
3 บุคคลซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศระบุความคุ้มกันไว้โดยตรง
4 บุคคลที่มีกฎหมายพิเศษให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันไว้
การตีความ
หลักเกณฑ์ในการตีความ(Interpretation)มี 2 วิธี
1 การตีความตามอักษร
1.1 กรณีกฎหมายใช้ความหมายพิเศษ ใช้นิยามศัพท์ในการตีความ เช่น ทุจริต หมายถึง การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สาธารณสถาน หมายถึง สถานที่ใดๆซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เข้าไป หมายถึง การกระทำการใดๆที่รบกวนการครอบครองโดยปกติสุข เป็นต้น
1.2 กรณีกฎหมายใช้ภาษาธรรมดา
2 การตีความตามเจตนารมณ์
ต้องศึกษาบันทึกเหตุผลของการร่างกฎหมาย ศึกษาสถานการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนการร่างกฎหมาย อ่านกฎหมายในเรื่องเดียวกันหลายๆมาตรา เพื่อเปรียบเทียบค้นหาความหมายที่ควรจะเป็น
ผู้ตีความ
1 ประชาชนที่ใช้กฎหมายย่อมต้องตีความกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการทำนิติกรรมสัญญาระหว่างกันโดยถูกต้อง
2 นักนิติศาสตร์ตีความหมายของกฎหมายเพื่อให้ทราบความหมายที่แน่นอน
3 พนักงานตามกฎหมาย
4 ศาล
5 ผู้ตีความตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ซึ่งได้แก่ คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ
สรุปการใช้กฎหมาย
1 ยึดถือตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นหลัก
2 กรณีตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีข้อสงสัย ต้องอาศัยการตีความ
2.1 ตีความตามตัวอักษรก่อนการตีความโดยเจตนารมณ์
ก. ใช้การตีความหมายพิเศษในนิยามศัพท์ก่อน
ข. ใช้การตีความตามความหมายธรรมดา
2.2 ตีความตามเจตนารมณ์
ศาล(ความรู้เพิ่มเติม)
ศาล ต้องมีความเป็นกลางทางความคิด ตัดสินตามหลักฐานทางกายภาพที่พิสูจน์ได้ชัดเจน เช่น อาวุธ DNA ลายนิ้วมือ ฯลฯ หลักการทางจิตวิทยาไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ ใช้ในขั้นตอนของการสัณนิษฐานตัวผู้ต้องสงสัยเท่านั้น และหากหลักฐานที่มีอยู่ไม่สามารถระบุได้ว่า จำเลยเป็นผู้เดียวที่สามารถกระทำความผิดนั้นได้ หรือเกิดข้อสงสัยในหลักฐานที่มโจทก์นำมามัดตัวจำเลย จะต้องยกผลประโยชน์ให้จำเลยทันที และไม่ต้องรับโทษ(ถึงแม้จะผิดจริงแต่หลักฐานทางกายภาพมัดตัวไม่ได้ก็รอด)
ในการว่าความในชั้นศาล โจทก์ต้องแสดงพยานหลักฐานใดๆก็ตามที่ระบุว่าจำเลยคือผู้กระทำความผิด และจำเลยหรือทนายความฝ่ายจำเลยมีหน้าที่แก้ต่างความผิดนั้น หากคำแก้ต่างสมเหตุสมผลหรือเิกิดความสงสัยในหลักฐานนั้นๆ และโจทก์ไม่สามารถหาพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้มาพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดจริง จะถือว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ต้องรับโทษ หากมีการคุมขังก่อนการว่าความก็คุมขังฟรี แต่หากจำเลยจำนนต่อหลักฐานไม่สามารถหาคำแก้ต่างให้แก่ตัวเองได้ และ หลักฐานที่โจทก์แสดงสมเหตุสมผล จำเลยจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
กฎหมาย ในความหมายโดยรวมคือ บรรดากฎเกณฑ์กลางของสังคมหรือรัฐอันมีลักษณะเป็นการสั่งการหรือการบังคับให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ความสำคัญของกฎหมาย
เนื่องจากกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์กลางที่ใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ให้สมาชิกในสังคมอยู่อย่างเป็นระเบียบและเป็นการประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกันด้วยความยุติธรรมตามกฎหมาย กฎหมายจึงจำเป็นต้องถือ (สันนิษฐาน)ว่าทุกคนต้องรู้กฎหมายหรือตามภาษิตกฎหมายที่ว่า "บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้" (Ignoreance of the Law Excuses for no Man)
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
1 กฎหมายต้องมาจากรัฐธาธิปัตย์(Sovereignty) ซึ่งก็คือสถาบันหรือกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดแห่งรัฐในขณะนั้นที่มีอำนาจออกกฎหมาย
2 ต้องใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป(Equality) ต้องบังคับความประพฤติในรัฐอย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน มิใช่เพื่อกลุ่มชนใดหรือคณะใดโดยเฉพาะ
3 ต้องบังคับใช้เสมอไป(Enaction) จนกว่าจะถึงวันยกเลิก(และไม่มีผลย้อนหลัง)
4 จำเป็นต้องปฏิบัติตาม(Recognition)
5 ต้องมีสภาพบังคับ(Sanction) หรือบทลงโทษ เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด กฎหมายใดปราศจากสภาพบังคับย่อมไม่ใช่กฎหมายแม้จะเข้าลักษณะทั้งสี่ประการก็ตาม
(กฎหมายที่ดีควรสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางสังคม เช่น ศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณี ขัดแย้งจะขัดกับความรู้สึกประชาชนและถูกยกเลิกในที่สุด)
ขอบเขตการบังคับใช้
สถานที่และบุคคลที่ใช้กฎหมายบังคับ
ยึดหลักดินแดนซึ่งถือเป็นหลักสากลดังนี้
1 พื้นแผ่นดิน
2 ขอบเขตน่านน้ำ
3 พื้นอากาศซึ่งอยู่เหนือพื่นที่ตามข้อข้างต้น
4 เรือและอากาศยานของประเทศนั้นๆ
บุคคลยกเว้นที่ไม่นำหลักดินแดนมาใช้ได้แก่
1 ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ
2 ทูตและบริวาร
3 บุคคลซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศระบุความคุ้มกันไว้โดยตรง
4 บุคคลที่มีกฎหมายพิเศษให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันไว้
การตีความ
หลักเกณฑ์ในการตีความ(Interpretation)มี 2 วิธี
1 การตีความตามอักษร
1.1 กรณีกฎหมายใช้ความหมายพิเศษ ใช้นิยามศัพท์ในการตีความ เช่น ทุจริต หมายถึง การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น สาธารณสถาน หมายถึง สถานที่ใดๆซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เข้าไป หมายถึง การกระทำการใดๆที่รบกวนการครอบครองโดยปกติสุข เป็นต้น
1.2 กรณีกฎหมายใช้ภาษาธรรมดา
2 การตีความตามเจตนารมณ์
ต้องศึกษาบันทึกเหตุผลของการร่างกฎหมาย ศึกษาสถานการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนการร่างกฎหมาย อ่านกฎหมายในเรื่องเดียวกันหลายๆมาตรา เพื่อเปรียบเทียบค้นหาความหมายที่ควรจะเป็น
ผู้ตีความ
1 ประชาชนที่ใช้กฎหมายย่อมต้องตีความกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการทำนิติกรรมสัญญาระหว่างกันโดยถูกต้อง
2 นักนิติศาสตร์ตีความหมายของกฎหมายเพื่อให้ทราบความหมายที่แน่นอน
3 พนักงานตามกฎหมาย
4 ศาล
5 ผู้ตีความตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ซึ่งได้แก่ คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ
สรุปการใช้กฎหมาย
1 ยึดถือตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นหลัก
2 กรณีตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีข้อสงสัย ต้องอาศัยการตีความ
2.1 ตีความตามตัวอักษรก่อนการตีความโดยเจตนารมณ์
ก. ใช้การตีความหมายพิเศษในนิยามศัพท์ก่อน
ข. ใช้การตีความตามความหมายธรรมดา
2.2 ตีความตามเจตนารมณ์
ศาล(ความรู้เพิ่มเติม)
ศาล ต้องมีความเป็นกลางทางความคิด ตัดสินตามหลักฐานทางกายภาพที่พิสูจน์ได้ชัดเจน เช่น อาวุธ DNA ลายนิ้วมือ ฯลฯ หลักการทางจิตวิทยาไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ ใช้ในขั้นตอนของการสัณนิษฐานตัวผู้ต้องสงสัยเท่านั้น และหากหลักฐานที่มีอยู่ไม่สามารถระบุได้ว่า จำเลยเป็นผู้เดียวที่สามารถกระทำความผิดนั้นได้ หรือเกิดข้อสงสัยในหลักฐานที่มโจทก์นำมามัดตัวจำเลย จะต้องยกผลประโยชน์ให้จำเลยทันที และไม่ต้องรับโทษ(ถึงแม้จะผิดจริงแต่หลักฐานทางกายภาพมัดตัวไม่ได้ก็รอด)
ในการว่าความในชั้นศาล โจทก์ต้องแสดงพยานหลักฐานใดๆก็ตามที่ระบุว่าจำเลยคือผู้กระทำความผิด และจำเลยหรือทนายความฝ่ายจำเลยมีหน้าที่แก้ต่างความผิดนั้น หากคำแก้ต่างสมเหตุสมผลหรือเิกิดความสงสัยในหลักฐานนั้นๆ และโจทก์ไม่สามารถหาพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้มาพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดจริง จะถือว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ต้องรับโทษ หากมีการคุมขังก่อนการว่าความก็คุมขังฟรี แต่หากจำเลยจำนนต่อหลักฐานไม่สามารถหาคำแก้ต่างให้แก่ตัวเองได้ และ หลักฐานที่โจทก์แสดงสมเหตุสมผล จำเลยจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
- topyokนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 321
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 5
วันเกิด : 29/05/1995
งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sat Mar 03, 2012 6:50 pm
krabbbbbbbbbb
- Pischananนักเดินทางแห่งสายลม
- จำนวนข้อความ : 69
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 2
วันเกิด : 06/05/1997
งานอดิเรก : SLEEP ^^
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sat Mar 03, 2012 7:31 pm
เข้าใจแล้วค่ะ แต่ก็งง - -"
- ผู้มาเยือนผู้มาเยือน
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sat Mar 03, 2012 10:18 pm
ความรู้แน่นปึ๊ก!! จะตั้งใจเรียนวิชานี้!!
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
- story207นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 192
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 7
วันเกิด : 14/12/1997
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sun Mar 04, 2012 9:04 am
รับทราบ !!
- NaBeeผู้ชนะเกมสิบทิศ
- จำนวนข้อความ : 1169
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 231
วันเกิด : 11/01/1998
งานอดิเรก : ร้องเพลง อ่านหนังสือการ์ตูน เต้น cover วาดรูป แต่งนิยาย(ไม่เคยจบ) ดูหนัง เล่นเกมส์ เที่ยวไปวันๆ
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sun Mar 04, 2012 12:56 pm
รับทราบค่ะ จะศึกษาให้มากๆๆฮะ
- sodium2468นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 235
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 8
วันเกิด : 16/01/1995
งานอดิเรก : อัพนิยาย เล่นFacebook ดูการ์ตูน
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Mon Mar 05, 2012 4:24 pm
จะตั้งใจศึกษาค่ะ ^^
- กันต์ผู้ชนะเกมสิบทิศ
- จำนวนข้อความ : 1391
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 126
วันเกิด : 28/09/1997
งานอดิเรก : อ่านนวนิยายแนวสืบสวน
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Mon Mar 05, 2012 5:09 pm
มาเรียนด้วยคนจ้า แหะๆ
- conan1412นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 192
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 0
วันเกิด : 14/12/1994
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ เล่นคอม ฟังเพลง
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Tue Mar 06, 2012 4:30 pm
เข้าใจแล้วค่ะ
ชอบวิชานี้มากๆเลย
ชอบวิชานี้มากๆเลย
- Fuyuki Winterนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 157
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 19
วันเกิด : 28/11/1997
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Tue Mar 06, 2012 5:17 pm
Arigato
- ????????ผู้มาเยือน
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Tue Mar 13, 2012 1:40 pm
ขั้นพื้นฐานเลยสินะวิชากฎหมายเนี่ย เฮ้อ ยังไงก็ รับทราบครับ
- Na///SodiUmนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 450
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 81
วันเกิด : 09/03/1995
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ(นิยาย,การ์ตูน) , ฟังเพลง , ดูหนัง
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Mon Mar 19, 2012 4:22 pm
อ่านไปสามรอบ ฮ่าๆๆๆ
- ผู้มาเยือนผู้มาเยือน
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Wed Mar 21, 2012 8:09 pm
แน่นจริงค่ะ จะรอบทต่อไปนะค่ะ
- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Fri Nov 23, 2012 10:23 pm
ง่วงแล้ว นอนก่อนนะ ปิกะ
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- ผู้มาเยือนผู้มาเยือน
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Fri Nov 23, 2012 11:19 pm
บวกกกกกกกกกกกกก
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- khaw dissaroผู้ชนะเกมสิบทิศ
- จำนวนข้อความ : 958
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 151
วันเกิด : 19/05/2002
งานอดิเรก : อ่านการ์ตูนและนวนิยายสืบสวนสอบสวน เล่นคอมพิวเตอร์
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sat Nov 24, 2012 5:20 pm
- Na///SodiUmนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 450
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 81
วันเกิด : 09/03/1995
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ(นิยาย,การ์ตูน) , ฟังเพลง , ดูหนัง
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sun Nov 25, 2012 12:37 am
จ๊ะเอ๋โลกิ!
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
Sun Nov 25, 2012 2:03 pm
แปลบๆ
This dice is not existing.
This dice is not existing.
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ