การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
+4
Lightdramon
คิรัวร์
Winter
/Charcoal/
8 posters
- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Fri Oct 07, 2011 1:03 am
การตายจากไฟไหม้ ส่วนใหญ่เกิดจากไฟไหม้บ้าน ในประเทศไทยซึ่งนิยมติดเหล็กดัดตามหน้าต่าง เมื่อเกิดไฟไหม้แล้วไม่สามารถหาทางออกได้ ถูกไฟครอกตายอยู่เนืองๆ ไฟไหม้ที่เป็นเหตุให้เสียชีวิตครั้งละมากๆในประเทศไทยเคยเกิดขึ้นหลายครั้งเช่น ไฟไหม้บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เกิดจากรถบรรทุกก๊าซระเบิดผู้เสียชีวิต 90 คนเนื่องจากคนขับกินยาบ้าแล้วรถพลิกคว่ำขณะที่มีรถกำลังติดไฟจราจรอยู่ ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ผู้เสียชีวิต 180 คน เนื่องจากการสูบบุหรี่แล้วทิ้งไม่เป็นที่ และทางหนีไฟไม่ดีพอ ไฟไหม้โรงแรมโรยัลจอมเทียนผู้เสียชีวิต90 คนจากแก๊ซในครัวระเบิด และทางหนีไฟถูกปิด ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการได้รับก๊าซCO เกือบทั้งสิ้น และบางรายอาจถูกไฟครอกตามมา
กลไกของไฟที่สามารถลุกไหม้ได้นั้นเนื่องจากมีเชื้อเพลิงซึ่งอาจเป็นสารใดใดที่ติดไฟได้กับออกซิเจนในอากาศ ถ้ามีออกซิเจนในอากาศน้อยกว่า 13 - 15 % ไฟจะไม่สามารถลุกไหม้ได้ แต่คนสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนระดับนี้(คนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศ ที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 5 %) ฉะนั้นจึงไม่ควรเปิดประตูหน้าต่างเมื่อเกิดไฟไหม้ในห้อง
แต่ถ้ามีไฟไหม้อยู่นอกห้อง และลามมาถึงหน้าห้อง ซึ่งอาจจะทราบได้จากความร้อนที่ประตู หรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลูกบิดประตูที่จับมีความร้อนมาก ห้ามเปิดประตูบานนั้น เพราะถ้าเปิดไฟที่อยู่ข้างนอกซึ่งลุกไหม้จนออกซิเจนในอากาศเหลือน้อยแล้ว จะพุ่งเข้ามาในที่ที่มีออกซิเจนสูงกว่าอย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า "Back Draft"
ในผู้ที่ไม่เสียชีวิต บาดแผลจากความร้อนบนร่างกายต้องบรรยายเป็นสองอย่าง คือ
1.ความกว้างของผิวกายที่มีบาดแผล
2.ระดับความร้อนที่ได้รับที่บาดแผล
ความกว้างของผิวกายที่มีบาดแผล (Extent)
ความกว้างของผิวกายที่มีบาดแผลคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผิวกายทั้งหมด แบ่งคร่าวๆโดยใช้กฎเลข9(rule of nines) คือให้ผิวของร่างกายทั้งหมดเป็นร้อยส่วน ผิวหนังที่ศีรษะทั้งหมดจะเป็น9ส่วน ผิวหนังทั้งหมดของแขนข้างหนึ่งเป็น9ส่วน ผิวหนังของลำตัวด้านหน้าทั้งหมดเป็น18ส่วน ด้านหลัง18ส่วน ขาแต่ละข้าง(ทั้งหน้าหลัง) 18ส่วน เหลือ1 ส่วน เป็นพื้นผิวของอวัยวะสืบพันธ์
ระดับความร้อนที่ได้รับที่บาดแผล (Degree)
ระดับความร้อนที่บาดแผลแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
ระดับที่ 1 ไหม้เฉพาะที่ผิวนอกของผิวหนัง ผิวหนังแสดงลักษณะเป็นผื่นแดงโดยไม่มีผิวหนังพอง การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์จะพบเส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัวมาก เซลล์ผิวหนังบางเซลล์ถูกทำลายไปบ้าง ต่อมาเซลล์ที่ตายจะลอกหลุดออก พบลักษณะเป็นขุยเหมือน”หนังลอก”เช่นเดียวกับที่เกิดหลังจากถูกแดด "เผา" 2-3วัน การไหม้ ระดับ1นี้ อาจจะเกิดจากการได้รับความร้อนน้อยๆแต่เวลานานเช่นแดดเผา หรืออาจถูกความร้อนสูงในระยะเวลาที่สั้นพอ ก็ได้ หายแล้วไมมีแผลเป็น
ระดับที่ 2 เป็นการไหม้ผิวหนังบางส่วน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น2ระดับคือชั้นตื้นกับชั้นลึก ลักษณะของการไหม้ในระดับ 2 นี้ จะพบผิวหนัง แดง พอง และเยิ้มแฉะ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ในกรณีระดับ2ชั้นตื้นจะเห็นเซลล์ของผิวหนังชั้นนอกถูกทำลายไปจนเกือบถึงแถวสุดท้าย(basal layer) ในกรณีระดับ 2 ชั้นลึก จะพบการทำลายของเซลล์แถวสุดท้ายหมดหรือเกือบหมด อาจจะมีพองหรือไม่มีก็ได้ แต่เซลล์ขนและเซลล์ต่อมเหงื่อจะยัง ไม่ถูกทำลายและเป็นแหล่งให้เกิดการสร้างผิวหนังต่อไปใหม่ เมื่อหาย จะไม่มีแผลเป็น
ระดับที่ 3 เป็นการไหม้ของผิวหนังตลอดทั้งชั้น ลักษณะจะพบผิวหนังส่วนที่ไหม้แห้ง และหนาเหมือนหนังหมู อาจมีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำก็ได้ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์พบการทำลายของเซลล์ผิวหนังชั้นนอกและชั้นในรวมถึงเซลล์ขุมขนและเซลล์ต่อมเหงื่อด้วย
ระดับที่ 4 เป็นการไหม้ที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อผิวหนังทั้งชั้นและลึกลงไปเกินกว่าชั้นเฉพาะผิวหนังด้วย
ลักษณะต่างๆที่ปรากฏที่ผิวหนังด้วยตาเปล่าที่กล่าวมาแล้วอาจจะไม่เป็นเครื่องชี้บ่งถึงระดับที่ของความลึกของการไหม้ ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าไฟไหม้ลึกระดับใดหรือมีการไหม้สลายของเนื้อเยื่อมากเท่าไรอาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวหนังที่ไหม้ไฟนั้นด้วย เช่นหนังที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้าจะหนากว่าที่อื่น บางครั้งวินิจฉัยว่าเป็นการไหม้ระดับที่ 3 แต่ต่อมาพบว่าเป็นเพียงการไหม้ระดับที่ 2 เท่านั้น
พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกความร้อนอาจจะแบ่งตามสภาพของสิ่งที่เป็นความร้อนเป็น 6 อย่างคือ
1. ความร้อนจากเปลวไฟ
2. ความร้อนจากการสัมผัสสิ่งที่ร้อน
3. ความร้อนที่ได้จากการแผ่รังสีของวัตถุ
4. ความร้อนที่ได้จากการถูกของเหลวที่ร้อน
5. ความร้อนที่เกิดจากสารเคมี
6. ความร้อนที่เกิดจากไมโครเวฟ
ความร้อนจากเปลวไฟจะทำให้ขนไหม้หงิกงอ และผิวหนังไหม้เกรียม ส่วนการสัมผัสสิ่งที่ร้อนคือการที่ร่างกายสัมผัสกับของร้อนเช่นหม้อน้ำร้อน หรือเหล็กร้อนแต่ถ้าเป็นเหล็กร้อนแดงผิวหนังอาจปรากฏพยาธิสภาพเช่นเดียวกับการถูกเปลวไฟ การถูกไฟไหม้แบบไหม้วูบขึ้นมาอย่างรุนแรงเช่นการไหม้จากกาซระเบิดก็เป็นการถูกเปลวไฟชนิดหนึ่ง และผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับไฟที่วูบขึ้นมานี้จะไหม้ในระดับเท่ากันทุกส่วน แต่ถ้าเสื้อผ้าติดไฟด้วยก็จะเกิดสภาพการไหม้มากขึ้นในส่วนนั้น
การเกิดไฟลุกติดเสื้อผ้ามักเกิดในบ้าน โดยเกิดระหว่างการเอื้อมผ่านเปลวไฟบนเตาขณะสวมเสื้อแขนยาวรุ่มร่าม
ถ้าเสื้อผ้าติดแน่นกับร่างกายจะไหม้น้อยกว่า ชนิดของผ้าก็กันความร้อนได้ต่างกัน ผ้าฝ้ายจะนำความร้อนให้ร่างกายได้มากกว่าผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าฝ้ายไหม้เร็วกว่า ทำให้เกิดแผลมากกว่า การใส่ชั้นในจะป้องกันความร้อนให้ส่วนนั้น ผ้าที่หนักกว่าป้องกันไฟได้ดีกว่าและผ้าถักป้องกันไฟได้ดีกว่าผ้าทอ
ผู้ถูกไฟไหม้อาจจะตายทันทีหรือตายในเวลาต่อมา ผู้ตายทันทีอาจจะเกิดจากความร้อนของเปลวไฟหรือจากการ”สำลักควันไฟ” ผู้ตายใน 2 - 3 วันต่อมามักตายจากช๊อค,เสียน้ำมาก,หรือเกิดจากการหายใจล้มเหลวเนื่องจากสูดควันร้อนเข้าปอด ถ้าการตายหลังจากนี้มักเกิดจากการติดเชื้ออักเสบ
ในผู้ตายในจากไฟไหม้ จะต้องตรวจ 5 ประการคือ
1. พิสูจน์บุคคล
2. ตายก่อนไฟไหม้หรือไม่
3. สาเหตุตาย
4. พฤติการณ์ที่ตาย
5. มีเหตุอื่นร่วมในการทำให้ไฟไหม้หรือการตายด้วยหรือไม่เช่น แอลกอฮอล์,ยา,ฯลฯ
พบเสมอว่าในการตายจากไฟไหม้ ร่างกายมีการไหม้ไม่มาก เพราะตายจากการสำลักควัน (หรือสูดเอาCOเข้าไป) การพิสูจน์บุคคลทำได้ง่ายเพราะจำได้หรือใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ
ถ้าถูกเผาจนไหม้ดำใบหน้าจะจำไม่ได้ และลายพิมพ์นิ้วมือถูกทำลายด้วย การพิสูจน์บุคคลมักใช้การพิสูจน์โดยสภาพฟัน ดังนั้นจึงควรเตรียม ทำรายงานการตรวจฟัน และ x-rays ฟันไว้ด้วยเพื่อตรวจการเรียงตัว โครง และลักษณะของฟันเพื่อการเปรียบเทียบต่อไป
การเปรียบเทียบภาพถ่ายx-raysก่อนและหลังตาย โดยเฉพาะภาพx-raysของกะโหลกอาจช่วยการพิสูจน์ได้มาก
DNAก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำได้ในกรณีนี้
การผ่าศพไม่สามารถบอกได้ว่าการเผาไหม้ของร่างกายนั้นเกิดก่อนหรือหลังตาย การตรวจชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์ก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าผู้ตายไม่ได้มีชีวิตอยู่หลายวันหลังถูกไฟไหม้ ถึงแม้ในบางรายอาจมีชีวิตอยู่หลายวันแต่เกิดการอุดตันของเส้นเลือดของผิวหนังจากการไหม้ทำให้ไม่มีเม็ดเลือดขาวมาที่บาดแผลทำให้บอกการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์ไม่ได้
ในรายที่ไหม้มากๆผิวหนังอาจจะไหม้หายไป พบแต่กล้ามเนื้อ ผิวหนังส่วนที่เหลือจะมีสภาพแห้งไหม้และแข็ง ถ้าร่างนั้นนอนหงายถึงแม้นส่วนที่ไหม้จะไหม้มากสักเท่าใด ผิวหนังที่ด้านหลังบางส่วนจะยังคงสภาพดีมาก
กล้ามเนื้อที่ถูกไหม้มักขาดออกจากกัน ส่วนกระดูกที่ไหม้จะกลายเป็นสีเทาขาว และอาจจะแตกจากความร้อนซึ่งทำให้มักร่วนร่วงระหว่างการ เคลื่อนย้าย ศีรษะที่ถูกไหม้จนเนื้อหายไปหมด กระดูกกะโหลกอาจไหม้จนกระดูกแผ่นบนสลายไป
มือและเท้าของศพหลุดหายไปเนื่องจากไหม้มากบ่อยๆ ศพมักอยู่ในท่า”นักมวย”คือแขนขางอขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อที่ถูกไฟเผาจะ หดตัว แข็ง
ผนังหน้าท้องอาจจะแตกออกจากก๊าซในลำไส้ที่ขยายตัวจากความร้อนดันออกมา
อาจจะพบเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ซึ่งเกิดจากเลือดออกมาจากไขกระดูกจากการเผาไหม้ ไม่ใช่เกิดจากการบาดเจ็บ แต่ลักษณะจะเป็นสีน้ำตาลและมีลักษณะเป็นรูพรุนและยังแผ่เป็นบริเวณกว้างไม่เหมือนที่เกิดจากการบาดเจ็บ
การมีแผลพองตามผิวหนังตอนถูกไฟไหม้ก็ไม่ใช่เครื่องชี้ว่าต้องมีชีวิตขณะถูกไฟไหม้ เพราะถึงตายแล้วก็เกิดการพองได้เช่นเดียวกัน
พวกที่ตายจากการสูด COนั้น การผ่าศพจะพบว่าในหลอดลมจะมีเขม่าในปาก จมูก คอ กล่องเสียงและหลอดลม การไม่พบเขม่าก็ไม่ใช่เครื่องชี้ว่าตายมาก่อน นอกจากนั้นอวัยวะต่างๆจะมีสีแดงกว่าปกติ ค่าCOที่เจาะได้ในพวกนี้จะประมาณ 70%หรือมากกว่า บางรายอาจจะมีน้อยแค่ 20%ก็เพราะมีโรคอื่นอยู่แล้ว เช่นอาจจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว เมื่อได้COเพียงไม่มากก็เกิดอาการกำเริบและตาย
การตายที่อาจจะไม่พบCO อาจจะเกิดจากการขาดออกซิเจน หรือการเกิดก๊าซไซยาไนด์ หรือสารที่เป็นพิษอื่นๆ แต่การเข้าใจว่าการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนหมด เป็นการ เข้าใจที่ผิด เพราะถ้ามีออกซิเจนไม่พอให้รอดชีวิตไฟจะไม่ติด ตามที่กล่าวแล้ว
การตรวจไซยาไนด์ทำยากและให้ผลไม่แน่นอน จึงไม่ค่อยมีการตรวจยืนยัน
สารอื่นๆอันอาจจะเป็นพิษเนื่องจากอาจจะไปทำลายแรงตึงผิวของถุงลมปอดทำให้ปอดฟอกเลือดไม่ได้
การสูบบุหรี่เป็นเหตุไฟไหม้บ้านที่พบบ่อยที่สุด(ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ก็เชื่อว่าจากบุหรี่)สามารถตรวจปริมาณของนิโคตีนในปัสสาวะได้
มักพบว่ามีเด็กตายมากเมื่อมีไฟไหม้มักเกิดจากการที่ผู้ใหญ่ไม่สอนให้ระมัดระวัง เช่น การพยายามจุดไม้ขีดไฟ หรือ ไฟแช็ค
การตายจากไฟไหม้มักเป็นอุบัติเหตุ แต่ถ้าไฟไหม้จากการจงใจวางเพลิง การตายในรายนั้นอาจจะเกิดจากการฆาตกรรมได้
การวางเพลิงอาจจะเพราะต้องการค่าประกันภัย แก้แค้น เป็นโรคจิต หรือ เพื่อปกปิดร่องรอยของอาชญากรรมเช่นอำพรางการโจรกรรม หรือการฆ่าคนตาย
ไฟไหม้บ้านอุณหภูมิมักไม่ถึง 900องศาเซลเซียส และมักจะเหลือซากศพให้เห็นเสมอ เพราะการเผาศพให้ไหม้จนหมดต้องใช้ความร้อนเกิน 1000องศาเซลเซียสขึ้นไป การเผาศพกลางแจ้งโดยสุมไฟไว้ข้างบนจะไม่มีทางเผาให้ศพสลายไปจนหมดได้ และจะพบส่วนด้านหลังของศพที่สัมผัสพื้นเหลือ อยู่เสมอ ถ้าต้องการเผาให้ไหม้จนหมดในกลางแจ้งต้องยกศพให้ตั้งอยู่บนกองไฟให้ไฟอยู่ทางด้านล่างของศพ น้ำมันจากตัวศพจะไหลลงมาช่วยให้ไหม้ ได้ดีขึ้นจนหมด
การฆ่าตัวตายโดยการใช้ไฟเผาตัวเองพบน้อย และมักทำโดยเอาน้ำมันเบ็นซีนราดตัวแล้วจุดไฟ การตรวจที่เกิดเหตุน่าจะพบถังน้ำมันกับไม้ขีดไฟซึ่งน่าจะหาลายพิมพ์นิ้วมือได้ และแผลที่ได้รับกรณีนี้มักเป็นแผลไหม้ระดับที่2ถึง3ทั่วทั้งตัว นิติเวชแพทย์ควรเก็บเศษเสื้อผ้าจากร่างกายเพื่อตรวจหาน้ำมันเบ็นซินด้วย และเสื้อผ้าที่เก็บนั้นต้องใส่ขวดแก้วเพราะเบ็นซินละลายพลาสติค หรือซึมระเหยผ่านกระดาษ หรืออาจต้องเก็บดินในจุดที่มีการเผาตัวเองเพื่อตรวจหาน้ำมันเช่นกัน
ในการเผาตัวเอง ระดับCOในเลือดจะสูงขึ้นหรืออยู่ในค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ว่าสามารถอยู่ได้นานเท่าใด รวมทั้งกรณีที่ตายจาก การระเบิดของก๊าซ หรือเปลวไฟ ถ้าลุกอย่างแรง จนเสียชีวิตก่อนที่จะมีโอกาศสูดควันไฟมาก ระดับ CO อาจจะไม่สูง ส่วนใหญ่ถ้ามี CO สูงกว่า10%ขึ้นไปมักแสดงว่ามีชีวิตอยู่ก่อนการถูกเผา
การที่อยู่ดีดีไฟสามารถลุกขึ้นบนตัวเองได้นั้น เป็นไสยาศาสตร์ที่ชาวผิวขาวบางคนที่เชื่อลัทธิบางอย่างคิดว่าพลังอำนาจอาจจะสาบให้ไฟลุกขึ้นที่ตัวบุคคลใดได้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลและไม่ใช่วิชานิติเวชศาสตร์
ความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสี
ความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีของวัตถุอื่นมักเป็นความร้อนที่ไม่มากแต่ได้รับเป็นเวลานานๆ เช่นจากแสงแดด จากเตาผิง อาจจะทำให้เกิดการไหม้ระดับที่1เท่านั้น แต่บางครั้งความร้อน เช่น คลื่นความร้อนในต่างประเทศทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวเพื่อลดความร้อน จากตัวเอง
ความร้อนที่เกิดจากของเหลวที่ร้อน
อาจจะมี 3 แบบคือ
1. การลงไปในน้ำร้อน
2. การกระเซ็นของของเหลวหรือของเหลวลวก
3. การถูกไอน้ำร้อน
สองอย่างแรกมักเป็นน้ำร้อนธรรมดา เคยพบว่าน้ำร้อนประมาณ80องศาเซลเซียส สามารถทำให้เกิดไหม้ระดับที่ 3 ในการสัมผัสเป็นเวลา 1 วินาที
การถูกกระเซ็นหรือลวกจากของเหลวมักเกิดในเด็ก เช่นจะดึงกาน้ำร้อนจากเตาไฟ ลักษณะนี้แผลไหม้จะมากที่ส่วนบนของร่างกายจากนั้นค่อยๆเบาลงเมื่อไหลลงมาถึงด้านล่าง
การถูกไอน้ำร้อนลวกก็เหมือนถูกน้ำร้อนลวกแล้วยังมีอันตรายจากการที่สูดเอาไอน้ำร้อนเข้าไปในปอดและหลอดลมด้วย อาจจะทำให้เยื่อบุกล่องเสียงบวมอย่างมากและอุดทางเดินอากาศทำให้ขาดอากาศได้
ลักษณะผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกมักพบว่าเส้นขนจะยังอยู่ ต่างกับการถูกเปลวไฟที่เส้นขนจะไหม้หรือหงิกงอ
ความร้อนที่เกิดจากสารเคมี
อันตรายที่เกิดกับร่างกายในประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความแรง ความเข้มข้น ปริมาณของสารเคมีนั้น ระยะเวลาในการสัมผัส และความลึกที่เข้าไปในร่างกาย สารเคมีจะทำ ปฏิกิริยาเรื่อยไปบนผิวหนังยิ่งนานยิ่งมากจนกว่ามันจะถูกทำลายจากน้ำยาอื่น ไม่เหมือนน้ำเพราะน้ำจะค่อยๆเย็นลง สารเคมีจะทำปฏิกริยาทำลายเนื้อเยื่อโดยขบวนการ reduction, 0xidation, salt formation, corrosion, protoplamic poisoning, metabolic competition or inhibition, desication, หรือโดยการทำให้เกิดการขาดเลือดของอวัยวะ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของกรด ด่าง หรือ vesicant
กรดแก่ มักมีpH ต่ำกว่า2 ด่างแก่มีpH11.5หรือมากกว่า เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารเหล่านี้จะสะท้อนความรุนแรงของการทำลายเนื้อเยื่อ ด่างจะมีผลรุนแรงต่อร่างกายมากกว่ากรด มันจะสลายเนื้อเยื่อให้กลายเป็นน้ำทำให้สามารถลุกลามลึกลงไปในเนื้อเยื่อได้ง่ายกว่า และมีการบวมมาก
กรดจะกัดเนื้อเยื่อให้สลายตัวเป็นก้อนทำให้เกิดเนื้อแข็ง การไหม้ที่เกิดจากกรดจะมีขอบชัด เนื้อแข็ง และแห้ง ไม่ค่อยมีการบวม มักเป็นการไหม้ระดับที่2อย่างลึก แต่ถ้าสัมผัสนานอาจจะถึงไหม้ ระดับที่ 3 โดยเฉพาะกับกรด ซัลฟูริค และกรดไนตริก จะเกิดสะเก็ดสีคล้ำ เหมือนหนังหมู และแห้ง กรดไฮโดรฟลูออริคจะไหม้ลึกกว่ากรดอื่นๆ และ สีของสะเก็ดจะขึ้นอยู่กับความลึกของเนื้อเยื่อที่ไหม้ กรดไนตริค จะมีสะเก็ดสีเหลือง กรดซัลฟูริก สะเก็ดสีดำหรือน้ำตาล กรดเกลือสะเก็ดสีขาวหรือสีเทา สารฟีนอลสะเก็ดสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอ่อน
ฟีนอล ,ฟอสฟอรัส และแอมโมเนียมซัลไฟด์ไม่เกิดเฉพาะการไหม้แต่ยังเป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ ฟีนอลทำอันตรายต่อไต ฟอสฟอรัสทำให้ตับและไตสลายตัว
น้ำมันเบ็นซีน หรือปูนซีเมนต์สามารถเกิดการไหม้ได้ เช่นปูนซีเมนต์จะมีpH12.5-14 ซึ่งเป็นด่างอย่างแรง การถูกน้ำมันเบ็นซีนนานและทำลายเนื้อเยื่อไขมัน และจะไหม้ได้ถึงระดับที่ 2
การไหม้จากไมโครเวฟ
ไมโครเวฟทำให้เกิดความร้อนในระดับโมเลกุล ยิ่งเนื้อเยื่อใดมีส่วนประกอบของน้ำมาก เนื้อเยื่อนั้นยิ่งเกิดความร้อนมากและจะทำลายถึงอวัยวะ ภายในเลย การเกิดการไหม้จากไมโครเวฟมักเป็นการเกิดทางอ้อมเช่นกินน้ำหรืออาหารที่อุ่นด้วยไมโครเวฟโดยไม่ทราบว่ามันร้อนมาก
เคยมีรายงานการเกิดไหม้จากไมโครเวพโดยตรงพบว่ามีลักษณะการไหม้แบบแซนวิชคือผิวหนังไหม้ไขมันใต้ผิวหนังปกติ แต่กล้ามเนื้อล่างลง ไปไหม้อีก เพราะเนื้อเยื่อไขมันมีปริมาณน้ำต่ำมาก
ืที่มา http://www.ifm.go.th
กลไกของไฟที่สามารถลุกไหม้ได้นั้นเนื่องจากมีเชื้อเพลิงซึ่งอาจเป็นสารใดใดที่ติดไฟได้กับออกซิเจนในอากาศ ถ้ามีออกซิเจนในอากาศน้อยกว่า 13 - 15 % ไฟจะไม่สามารถลุกไหม้ได้ แต่คนสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนระดับนี้(คนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศ ที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 5 %) ฉะนั้นจึงไม่ควรเปิดประตูหน้าต่างเมื่อเกิดไฟไหม้ในห้อง
แต่ถ้ามีไฟไหม้อยู่นอกห้อง และลามมาถึงหน้าห้อง ซึ่งอาจจะทราบได้จากความร้อนที่ประตู หรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลูกบิดประตูที่จับมีความร้อนมาก ห้ามเปิดประตูบานนั้น เพราะถ้าเปิดไฟที่อยู่ข้างนอกซึ่งลุกไหม้จนออกซิเจนในอากาศเหลือน้อยแล้ว จะพุ่งเข้ามาในที่ที่มีออกซิเจนสูงกว่าอย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า "Back Draft"
ในผู้ที่ไม่เสียชีวิต บาดแผลจากความร้อนบนร่างกายต้องบรรยายเป็นสองอย่าง คือ
1.ความกว้างของผิวกายที่มีบาดแผล
2.ระดับความร้อนที่ได้รับที่บาดแผล
ความกว้างของผิวกายที่มีบาดแผล (Extent)
ความกว้างของผิวกายที่มีบาดแผลคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผิวกายทั้งหมด แบ่งคร่าวๆโดยใช้กฎเลข9(rule of nines) คือให้ผิวของร่างกายทั้งหมดเป็นร้อยส่วน ผิวหนังที่ศีรษะทั้งหมดจะเป็น9ส่วน ผิวหนังทั้งหมดของแขนข้างหนึ่งเป็น9ส่วน ผิวหนังของลำตัวด้านหน้าทั้งหมดเป็น18ส่วน ด้านหลัง18ส่วน ขาแต่ละข้าง(ทั้งหน้าหลัง) 18ส่วน เหลือ1 ส่วน เป็นพื้นผิวของอวัยวะสืบพันธ์
ระดับความร้อนที่ได้รับที่บาดแผล (Degree)
ระดับความร้อนที่บาดแผลแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
ระดับที่ 1 ไหม้เฉพาะที่ผิวนอกของผิวหนัง ผิวหนังแสดงลักษณะเป็นผื่นแดงโดยไม่มีผิวหนังพอง การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์จะพบเส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัวมาก เซลล์ผิวหนังบางเซลล์ถูกทำลายไปบ้าง ต่อมาเซลล์ที่ตายจะลอกหลุดออก พบลักษณะเป็นขุยเหมือน”หนังลอก”เช่นเดียวกับที่เกิดหลังจากถูกแดด "เผา" 2-3วัน การไหม้ ระดับ1นี้ อาจจะเกิดจากการได้รับความร้อนน้อยๆแต่เวลานานเช่นแดดเผา หรืออาจถูกความร้อนสูงในระยะเวลาที่สั้นพอ ก็ได้ หายแล้วไมมีแผลเป็น
ระดับที่ 2 เป็นการไหม้ผิวหนังบางส่วน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น2ระดับคือชั้นตื้นกับชั้นลึก ลักษณะของการไหม้ในระดับ 2 นี้ จะพบผิวหนัง แดง พอง และเยิ้มแฉะ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ในกรณีระดับ2ชั้นตื้นจะเห็นเซลล์ของผิวหนังชั้นนอกถูกทำลายไปจนเกือบถึงแถวสุดท้าย(basal layer) ในกรณีระดับ 2 ชั้นลึก จะพบการทำลายของเซลล์แถวสุดท้ายหมดหรือเกือบหมด อาจจะมีพองหรือไม่มีก็ได้ แต่เซลล์ขนและเซลล์ต่อมเหงื่อจะยัง ไม่ถูกทำลายและเป็นแหล่งให้เกิดการสร้างผิวหนังต่อไปใหม่ เมื่อหาย จะไม่มีแผลเป็น
ระดับที่ 3 เป็นการไหม้ของผิวหนังตลอดทั้งชั้น ลักษณะจะพบผิวหนังส่วนที่ไหม้แห้ง และหนาเหมือนหนังหมู อาจมีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำก็ได้ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์พบการทำลายของเซลล์ผิวหนังชั้นนอกและชั้นในรวมถึงเซลล์ขุมขนและเซลล์ต่อมเหงื่อด้วย
ระดับที่ 4 เป็นการไหม้ที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อผิวหนังทั้งชั้นและลึกลงไปเกินกว่าชั้นเฉพาะผิวหนังด้วย
ลักษณะต่างๆที่ปรากฏที่ผิวหนังด้วยตาเปล่าที่กล่าวมาแล้วอาจจะไม่เป็นเครื่องชี้บ่งถึงระดับที่ของความลึกของการไหม้ ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าไฟไหม้ลึกระดับใดหรือมีการไหม้สลายของเนื้อเยื่อมากเท่าไรอาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวหนังที่ไหม้ไฟนั้นด้วย เช่นหนังที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้าจะหนากว่าที่อื่น บางครั้งวินิจฉัยว่าเป็นการไหม้ระดับที่ 3 แต่ต่อมาพบว่าเป็นเพียงการไหม้ระดับที่ 2 เท่านั้น
พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกความร้อนอาจจะแบ่งตามสภาพของสิ่งที่เป็นความร้อนเป็น 6 อย่างคือ
1. ความร้อนจากเปลวไฟ
2. ความร้อนจากการสัมผัสสิ่งที่ร้อน
3. ความร้อนที่ได้จากการแผ่รังสีของวัตถุ
4. ความร้อนที่ได้จากการถูกของเหลวที่ร้อน
5. ความร้อนที่เกิดจากสารเคมี
6. ความร้อนที่เกิดจากไมโครเวฟ
ความร้อนจากเปลวไฟจะทำให้ขนไหม้หงิกงอ และผิวหนังไหม้เกรียม ส่วนการสัมผัสสิ่งที่ร้อนคือการที่ร่างกายสัมผัสกับของร้อนเช่นหม้อน้ำร้อน หรือเหล็กร้อนแต่ถ้าเป็นเหล็กร้อนแดงผิวหนังอาจปรากฏพยาธิสภาพเช่นเดียวกับการถูกเปลวไฟ การถูกไฟไหม้แบบไหม้วูบขึ้นมาอย่างรุนแรงเช่นการไหม้จากกาซระเบิดก็เป็นการถูกเปลวไฟชนิดหนึ่ง และผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับไฟที่วูบขึ้นมานี้จะไหม้ในระดับเท่ากันทุกส่วน แต่ถ้าเสื้อผ้าติดไฟด้วยก็จะเกิดสภาพการไหม้มากขึ้นในส่วนนั้น
การเกิดไฟลุกติดเสื้อผ้ามักเกิดในบ้าน โดยเกิดระหว่างการเอื้อมผ่านเปลวไฟบนเตาขณะสวมเสื้อแขนยาวรุ่มร่าม
ถ้าเสื้อผ้าติดแน่นกับร่างกายจะไหม้น้อยกว่า ชนิดของผ้าก็กันความร้อนได้ต่างกัน ผ้าฝ้ายจะนำความร้อนให้ร่างกายได้มากกว่าผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าฝ้ายไหม้เร็วกว่า ทำให้เกิดแผลมากกว่า การใส่ชั้นในจะป้องกันความร้อนให้ส่วนนั้น ผ้าที่หนักกว่าป้องกันไฟได้ดีกว่าและผ้าถักป้องกันไฟได้ดีกว่าผ้าทอ
ผู้ถูกไฟไหม้อาจจะตายทันทีหรือตายในเวลาต่อมา ผู้ตายทันทีอาจจะเกิดจากความร้อนของเปลวไฟหรือจากการ”สำลักควันไฟ” ผู้ตายใน 2 - 3 วันต่อมามักตายจากช๊อค,เสียน้ำมาก,หรือเกิดจากการหายใจล้มเหลวเนื่องจากสูดควันร้อนเข้าปอด ถ้าการตายหลังจากนี้มักเกิดจากการติดเชื้ออักเสบ
ในผู้ตายในจากไฟไหม้ จะต้องตรวจ 5 ประการคือ
1. พิสูจน์บุคคล
2. ตายก่อนไฟไหม้หรือไม่
3. สาเหตุตาย
4. พฤติการณ์ที่ตาย
5. มีเหตุอื่นร่วมในการทำให้ไฟไหม้หรือการตายด้วยหรือไม่เช่น แอลกอฮอล์,ยา,ฯลฯ
พบเสมอว่าในการตายจากไฟไหม้ ร่างกายมีการไหม้ไม่มาก เพราะตายจากการสำลักควัน (หรือสูดเอาCOเข้าไป) การพิสูจน์บุคคลทำได้ง่ายเพราะจำได้หรือใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ
ถ้าถูกเผาจนไหม้ดำใบหน้าจะจำไม่ได้ และลายพิมพ์นิ้วมือถูกทำลายด้วย การพิสูจน์บุคคลมักใช้การพิสูจน์โดยสภาพฟัน ดังนั้นจึงควรเตรียม ทำรายงานการตรวจฟัน และ x-rays ฟันไว้ด้วยเพื่อตรวจการเรียงตัว โครง และลักษณะของฟันเพื่อการเปรียบเทียบต่อไป
การเปรียบเทียบภาพถ่ายx-raysก่อนและหลังตาย โดยเฉพาะภาพx-raysของกะโหลกอาจช่วยการพิสูจน์ได้มาก
DNAก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำได้ในกรณีนี้
การผ่าศพไม่สามารถบอกได้ว่าการเผาไหม้ของร่างกายนั้นเกิดก่อนหรือหลังตาย การตรวจชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์ก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าผู้ตายไม่ได้มีชีวิตอยู่หลายวันหลังถูกไฟไหม้ ถึงแม้ในบางรายอาจมีชีวิตอยู่หลายวันแต่เกิดการอุดตันของเส้นเลือดของผิวหนังจากการไหม้ทำให้ไม่มีเม็ดเลือดขาวมาที่บาดแผลทำให้บอกการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์ไม่ได้
ในรายที่ไหม้มากๆผิวหนังอาจจะไหม้หายไป พบแต่กล้ามเนื้อ ผิวหนังส่วนที่เหลือจะมีสภาพแห้งไหม้และแข็ง ถ้าร่างนั้นนอนหงายถึงแม้นส่วนที่ไหม้จะไหม้มากสักเท่าใด ผิวหนังที่ด้านหลังบางส่วนจะยังคงสภาพดีมาก
กล้ามเนื้อที่ถูกไหม้มักขาดออกจากกัน ส่วนกระดูกที่ไหม้จะกลายเป็นสีเทาขาว และอาจจะแตกจากความร้อนซึ่งทำให้มักร่วนร่วงระหว่างการ เคลื่อนย้าย ศีรษะที่ถูกไหม้จนเนื้อหายไปหมด กระดูกกะโหลกอาจไหม้จนกระดูกแผ่นบนสลายไป
มือและเท้าของศพหลุดหายไปเนื่องจากไหม้มากบ่อยๆ ศพมักอยู่ในท่า”นักมวย”คือแขนขางอขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อที่ถูกไฟเผาจะ หดตัว แข็ง
ผนังหน้าท้องอาจจะแตกออกจากก๊าซในลำไส้ที่ขยายตัวจากความร้อนดันออกมา
อาจจะพบเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ซึ่งเกิดจากเลือดออกมาจากไขกระดูกจากการเผาไหม้ ไม่ใช่เกิดจากการบาดเจ็บ แต่ลักษณะจะเป็นสีน้ำตาลและมีลักษณะเป็นรูพรุนและยังแผ่เป็นบริเวณกว้างไม่เหมือนที่เกิดจากการบาดเจ็บ
การมีแผลพองตามผิวหนังตอนถูกไฟไหม้ก็ไม่ใช่เครื่องชี้ว่าต้องมีชีวิตขณะถูกไฟไหม้ เพราะถึงตายแล้วก็เกิดการพองได้เช่นเดียวกัน
พวกที่ตายจากการสูด COนั้น การผ่าศพจะพบว่าในหลอดลมจะมีเขม่าในปาก จมูก คอ กล่องเสียงและหลอดลม การไม่พบเขม่าก็ไม่ใช่เครื่องชี้ว่าตายมาก่อน นอกจากนั้นอวัยวะต่างๆจะมีสีแดงกว่าปกติ ค่าCOที่เจาะได้ในพวกนี้จะประมาณ 70%หรือมากกว่า บางรายอาจจะมีน้อยแค่ 20%ก็เพราะมีโรคอื่นอยู่แล้ว เช่นอาจจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว เมื่อได้COเพียงไม่มากก็เกิดอาการกำเริบและตาย
การตายที่อาจจะไม่พบCO อาจจะเกิดจากการขาดออกซิเจน หรือการเกิดก๊าซไซยาไนด์ หรือสารที่เป็นพิษอื่นๆ แต่การเข้าใจว่าการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนหมด เป็นการ เข้าใจที่ผิด เพราะถ้ามีออกซิเจนไม่พอให้รอดชีวิตไฟจะไม่ติด ตามที่กล่าวแล้ว
การตรวจไซยาไนด์ทำยากและให้ผลไม่แน่นอน จึงไม่ค่อยมีการตรวจยืนยัน
สารอื่นๆอันอาจจะเป็นพิษเนื่องจากอาจจะไปทำลายแรงตึงผิวของถุงลมปอดทำให้ปอดฟอกเลือดไม่ได้
การสูบบุหรี่เป็นเหตุไฟไหม้บ้านที่พบบ่อยที่สุด(ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ก็เชื่อว่าจากบุหรี่)สามารถตรวจปริมาณของนิโคตีนในปัสสาวะได้
มักพบว่ามีเด็กตายมากเมื่อมีไฟไหม้มักเกิดจากการที่ผู้ใหญ่ไม่สอนให้ระมัดระวัง เช่น การพยายามจุดไม้ขีดไฟ หรือ ไฟแช็ค
การตายจากไฟไหม้มักเป็นอุบัติเหตุ แต่ถ้าไฟไหม้จากการจงใจวางเพลิง การตายในรายนั้นอาจจะเกิดจากการฆาตกรรมได้
การวางเพลิงอาจจะเพราะต้องการค่าประกันภัย แก้แค้น เป็นโรคจิต หรือ เพื่อปกปิดร่องรอยของอาชญากรรมเช่นอำพรางการโจรกรรม หรือการฆ่าคนตาย
ไฟไหม้บ้านอุณหภูมิมักไม่ถึง 900องศาเซลเซียส และมักจะเหลือซากศพให้เห็นเสมอ เพราะการเผาศพให้ไหม้จนหมดต้องใช้ความร้อนเกิน 1000องศาเซลเซียสขึ้นไป การเผาศพกลางแจ้งโดยสุมไฟไว้ข้างบนจะไม่มีทางเผาให้ศพสลายไปจนหมดได้ และจะพบส่วนด้านหลังของศพที่สัมผัสพื้นเหลือ อยู่เสมอ ถ้าต้องการเผาให้ไหม้จนหมดในกลางแจ้งต้องยกศพให้ตั้งอยู่บนกองไฟให้ไฟอยู่ทางด้านล่างของศพ น้ำมันจากตัวศพจะไหลลงมาช่วยให้ไหม้ ได้ดีขึ้นจนหมด
การฆ่าตัวตายโดยการใช้ไฟเผาตัวเองพบน้อย และมักทำโดยเอาน้ำมันเบ็นซีนราดตัวแล้วจุดไฟ การตรวจที่เกิดเหตุน่าจะพบถังน้ำมันกับไม้ขีดไฟซึ่งน่าจะหาลายพิมพ์นิ้วมือได้ และแผลที่ได้รับกรณีนี้มักเป็นแผลไหม้ระดับที่2ถึง3ทั่วทั้งตัว นิติเวชแพทย์ควรเก็บเศษเสื้อผ้าจากร่างกายเพื่อตรวจหาน้ำมันเบ็นซินด้วย และเสื้อผ้าที่เก็บนั้นต้องใส่ขวดแก้วเพราะเบ็นซินละลายพลาสติค หรือซึมระเหยผ่านกระดาษ หรืออาจต้องเก็บดินในจุดที่มีการเผาตัวเองเพื่อตรวจหาน้ำมันเช่นกัน
ในการเผาตัวเอง ระดับCOในเลือดจะสูงขึ้นหรืออยู่ในค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ว่าสามารถอยู่ได้นานเท่าใด รวมทั้งกรณีที่ตายจาก การระเบิดของก๊าซ หรือเปลวไฟ ถ้าลุกอย่างแรง จนเสียชีวิตก่อนที่จะมีโอกาศสูดควันไฟมาก ระดับ CO อาจจะไม่สูง ส่วนใหญ่ถ้ามี CO สูงกว่า10%ขึ้นไปมักแสดงว่ามีชีวิตอยู่ก่อนการถูกเผา
การที่อยู่ดีดีไฟสามารถลุกขึ้นบนตัวเองได้นั้น เป็นไสยาศาสตร์ที่ชาวผิวขาวบางคนที่เชื่อลัทธิบางอย่างคิดว่าพลังอำนาจอาจจะสาบให้ไฟลุกขึ้นที่ตัวบุคคลใดได้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลและไม่ใช่วิชานิติเวชศาสตร์
ความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสี
ความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีของวัตถุอื่นมักเป็นความร้อนที่ไม่มากแต่ได้รับเป็นเวลานานๆ เช่นจากแสงแดด จากเตาผิง อาจจะทำให้เกิดการไหม้ระดับที่1เท่านั้น แต่บางครั้งความร้อน เช่น คลื่นความร้อนในต่างประเทศทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวเพื่อลดความร้อน จากตัวเอง
ความร้อนที่เกิดจากของเหลวที่ร้อน
อาจจะมี 3 แบบคือ
1. การลงไปในน้ำร้อน
2. การกระเซ็นของของเหลวหรือของเหลวลวก
3. การถูกไอน้ำร้อน
สองอย่างแรกมักเป็นน้ำร้อนธรรมดา เคยพบว่าน้ำร้อนประมาณ80องศาเซลเซียส สามารถทำให้เกิดไหม้ระดับที่ 3 ในการสัมผัสเป็นเวลา 1 วินาที
การถูกกระเซ็นหรือลวกจากของเหลวมักเกิดในเด็ก เช่นจะดึงกาน้ำร้อนจากเตาไฟ ลักษณะนี้แผลไหม้จะมากที่ส่วนบนของร่างกายจากนั้นค่อยๆเบาลงเมื่อไหลลงมาถึงด้านล่าง
การถูกไอน้ำร้อนลวกก็เหมือนถูกน้ำร้อนลวกแล้วยังมีอันตรายจากการที่สูดเอาไอน้ำร้อนเข้าไปในปอดและหลอดลมด้วย อาจจะทำให้เยื่อบุกล่องเสียงบวมอย่างมากและอุดทางเดินอากาศทำให้ขาดอากาศได้
ลักษณะผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกมักพบว่าเส้นขนจะยังอยู่ ต่างกับการถูกเปลวไฟที่เส้นขนจะไหม้หรือหงิกงอ
ความร้อนที่เกิดจากสารเคมี
อันตรายที่เกิดกับร่างกายในประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความแรง ความเข้มข้น ปริมาณของสารเคมีนั้น ระยะเวลาในการสัมผัส และความลึกที่เข้าไปในร่างกาย สารเคมีจะทำ ปฏิกิริยาเรื่อยไปบนผิวหนังยิ่งนานยิ่งมากจนกว่ามันจะถูกทำลายจากน้ำยาอื่น ไม่เหมือนน้ำเพราะน้ำจะค่อยๆเย็นลง สารเคมีจะทำปฏิกริยาทำลายเนื้อเยื่อโดยขบวนการ reduction, 0xidation, salt formation, corrosion, protoplamic poisoning, metabolic competition or inhibition, desication, หรือโดยการทำให้เกิดการขาดเลือดของอวัยวะ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของกรด ด่าง หรือ vesicant
กรดแก่ มักมีpH ต่ำกว่า2 ด่างแก่มีpH11.5หรือมากกว่า เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารเหล่านี้จะสะท้อนความรุนแรงของการทำลายเนื้อเยื่อ ด่างจะมีผลรุนแรงต่อร่างกายมากกว่ากรด มันจะสลายเนื้อเยื่อให้กลายเป็นน้ำทำให้สามารถลุกลามลึกลงไปในเนื้อเยื่อได้ง่ายกว่า และมีการบวมมาก
กรดจะกัดเนื้อเยื่อให้สลายตัวเป็นก้อนทำให้เกิดเนื้อแข็ง การไหม้ที่เกิดจากกรดจะมีขอบชัด เนื้อแข็ง และแห้ง ไม่ค่อยมีการบวม มักเป็นการไหม้ระดับที่2อย่างลึก แต่ถ้าสัมผัสนานอาจจะถึงไหม้ ระดับที่ 3 โดยเฉพาะกับกรด ซัลฟูริค และกรดไนตริก จะเกิดสะเก็ดสีคล้ำ เหมือนหนังหมู และแห้ง กรดไฮโดรฟลูออริคจะไหม้ลึกกว่ากรดอื่นๆ และ สีของสะเก็ดจะขึ้นอยู่กับความลึกของเนื้อเยื่อที่ไหม้ กรดไนตริค จะมีสะเก็ดสีเหลือง กรดซัลฟูริก สะเก็ดสีดำหรือน้ำตาล กรดเกลือสะเก็ดสีขาวหรือสีเทา สารฟีนอลสะเก็ดสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอ่อน
ฟีนอล ,ฟอสฟอรัส และแอมโมเนียมซัลไฟด์ไม่เกิดเฉพาะการไหม้แต่ยังเป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ ฟีนอลทำอันตรายต่อไต ฟอสฟอรัสทำให้ตับและไตสลายตัว
น้ำมันเบ็นซีน หรือปูนซีเมนต์สามารถเกิดการไหม้ได้ เช่นปูนซีเมนต์จะมีpH12.5-14 ซึ่งเป็นด่างอย่างแรง การถูกน้ำมันเบ็นซีนนานและทำลายเนื้อเยื่อไขมัน และจะไหม้ได้ถึงระดับที่ 2
การไหม้จากไมโครเวฟ
ไมโครเวฟทำให้เกิดความร้อนในระดับโมเลกุล ยิ่งเนื้อเยื่อใดมีส่วนประกอบของน้ำมาก เนื้อเยื่อนั้นยิ่งเกิดความร้อนมากและจะทำลายถึงอวัยวะ ภายในเลย การเกิดการไหม้จากไมโครเวฟมักเป็นการเกิดทางอ้อมเช่นกินน้ำหรืออาหารที่อุ่นด้วยไมโครเวฟโดยไม่ทราบว่ามันร้อนมาก
เคยมีรายงานการเกิดไหม้จากไมโครเวพโดยตรงพบว่ามีลักษณะการไหม้แบบแซนวิชคือผิวหนังไหม้ไขมันใต้ผิวหนังปกติ แต่กล้ามเนื้อล่างลง ไปไหม้อีก เพราะเนื้อเยื่อไขมันมีปริมาณน้ำต่ำมาก
ืที่มา http://www.ifm.go.th
- Winterนักล่าปริศนา
- จำนวนข้อความ : 678
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 33
วันเกิด : 10/01/1997
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Thu Dec 22, 2011 8:29 pm
เอาเหล็กดัดออกจากหน้าต่างบ้านก่อน 555 (:
- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Mon Nov 19, 2012 11:02 pm
เอาตะบองฟาดหัว
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- คิรัวร์นักล่าปริศนา
- จำนวนข้อความ : 807
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 59
วันเกิด : 14/01/1992
งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ เล่นคอม เล่นกีฬา
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Tue Nov 20, 2012 8:14 pm
ด้ายสังหาร
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- Lightdramonผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 1674
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 97
วันเกิด : 01/01/1992
งานอดิเรก : ดูอนิเม,ซีรีย์,ฟังเพลง,ดูทีวี,อ่านหนังสือ
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Tue Nov 20, 2012 9:17 pm
Misaka Spin Kick!
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- bobonusนักล่าปริศนา
- จำนวนข้อความ : 679
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 71
วันเกิด : 23/01/1995
งานอดิเรก : เข้าโรงเรียน
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Fri Nov 23, 2012 10:04 pm
ส่งสายตาวิ้งๆ สะกดจิตไปให้
This dice is not existing.
- Na///SodiUmนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 450
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 81
วันเกิด : 09/03/1995
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ(นิยาย,การ์ตูน) , ฟังเพลง , ดูหนัง
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Sun Nov 25, 2012 12:24 am
พลังน้ำละลายน้ำแข็ง
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Sun Nov 25, 2012 2:06 pm
girl
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Tue Jan 08, 2013 7:23 pm
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Tue Jan 08, 2013 7:24 pm
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Tue Jan 08, 2013 7:25 pm
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Tue Jan 08, 2013 7:28 pm
This dice is not existing.
- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
Re: การตายจากไฟและความร้อน (Death due to fire and heat)
Fri Feb 08, 2013 12:36 pm
kamonegi
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ