การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
+5
E'numnim
Na///SodiUm
bobonus
spy-16-18-1-14-7
/Charcoal/
9 posters
- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Fri Oct 07, 2011 12:55 am
การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ คือการพิสูจน์ว่าซากหรือศพนั้นคือใคร เพื่อผลทางสังคมหรือผลทางขบวนการยุติธรรม หลักของการพิสูจน์เอกลักษณ์ฯก็คือ การเปรียบเทียบจากสิ่งต่าง ๆ ที่พบหรือตรวจพบจากซากศพ เทียบกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือเคยเป็นอยู่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งถ้าพิสูจน์ได้ว่าตรงกันก็ยืนยันได้ว่าซากศพนี้คือบุคคลนั้น โดยศพที่พบอาจมาในหลายรูปแบบ เช่น ถ้าได้มาเป็นศพที่ครบถ้วนและยังไม่สลายตัวจากการเน่าการพิสูจน์อาจจะทำได้ง่ายว่าเป็นใคร ถ้าได้มาเป็นชิ้นส่วนที่เน่าและไม่ครบถ้วน อาจจะต้องพิสูจน์ก่อนว่าเป็นของคนหรือไม่ โดยการตรวจทางรูปร่างลักษณะของกระดูกชิ้นนั้นๆ หรือการถ่าย x-rays เปรียบเทียบลักษณะกระดูก
ในทางกลับกัน บางครั้งสิ่งที่พบเป็นคราบเลือดหรือสารคัดหลั่งอื่นเช่นน้ำอสุจิฯลฯ และต้องการตรวจว่าเป็นของใคร การตรวจจะเริ่มจากการตรวจว่าเป็นของคนหรือไม่ซึ่งอาจจะทำได้ไม่ยากด้วยการให้ทำปฏิกิริยากับน้ำยาที่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของมนุษย์ จากนั้นจึงทำการตรวจต่อไปว่าเป็นของใครด้วยกรรมวิธีทางห้องปฏิบัติการต่อไป
เนื่องจากการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลเป็นการเปรียบเทียบ จึงต้องมีข้อมูลจากสองด้าน ด้านหนึ่งคือข้อมูลจากการตรวจศพ อีกด้านหนึ่งคือข้อมูลจากด้านบุคคลที่สงสัยว่าสูญหาย ซึ่งข้อมูล ทางด้านบุคคลนั้นต้องสอบถามจากญาติผู้ใกล้ชิด เรื่องเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ข้อมูลทางการแพทย์ เคยผ่าตัดอะไร ข้อมูลทางสภาพฟัน ข้อมูลเอกสารลายพิมพ์นิ้วมือที่เคยพิมพ์ไว้ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มีรายละเอียดแตกแขนงถี่ยิบออกไปอย่างมากมายยกตัวอย่าง เช่น ผู้สงสัยว่าเป็นผู้ตายนั้นผูกนาฬิกาข้อมือ เป็นนาฬิกายี่ห้อใด แบบตัวเลขหรือแบบมีเข็ม ชอบผูกมือซ้ายหรือข้อมือขวาเวลาผูกชอบผูกเอาหน้าปัดหันเข้าตัวหรือหันออกจากตัวสายนาฬิกา หนังหรือโลหะ สีอะไร มีลักษณะเด่นอะไรเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งผู้หาข้อมูลก็จะต้องได้รับการฝึกฝนมาพอสมควร ในส่วนนี้ข้อมูลอาจจะได้มาจากต่างประเทศ ผ่านทางตำรวจสากล
การตรวจอาจแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ วิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์และวิธีที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์(scientific and non-scientific method)
วิธีที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์(non-scientific)
ความจริงวิธีนี้ก็เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ใช้คำว่า Non-Scientificเพื่อเป็นการบอกว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ใช้ยืนยันตัวบุคคลได้ แต่เป็นวิธีที่ช่วยในการพิสูจน์เท่านั้น
1.Visual identification
คือการพิสูจน์บุคคลด้วยสายตาของผู้รู้จักซึ่งเป็นข้อมูลของผู้สูญหายที่อยู่ในความทรงจำของผู้ที่จำได้ แต่จะถือว่าเป็นการยืนยันอย่างแน่นอนไม่ได้ เพราะศพอาจจะมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว เช่น ขึ้นอืดมีสีเขียวคล้ำตามใบหน้า หน้าบวมจากการอืดหรือการบาดเจ็บ หรือ มีบาดแผลทำให้หน้าผิดรูปไปบางส่วน ทำให้จำผิดไป มีบางรายที่มาดูศพที่สถาบันนิติเวชฯ ศพเสียชีวิตจากถูกรถชน ศพเริ่มขึ้นอืดใบหน้าคล้ำ ภรรยายืนยันว่าใช่ไปแจ้งแก่ตำรวจเจ้าของคดีว่าใช่ ตำรวจทำหนังสือแจ้งชื่อมายังสถาบันนิติเวชฯเพื่อขอให้ญาติรับศพไปดำเนินพิธีทางศาสนา ต่อมาไม่นานสามีเดินทางกลับมาบ้าน ทำให้ความสับสนทางทะเบียนราษฎร์ และภรรยารายนี้อาจจะต้องคดีแจ้งความเท็จ
เท่ากับเป็นการพิสูจน์จากการดูรูปร่างหน้าตาภายนอกเท่านั้น แต่ก็เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดในการพิสูจน์บุคคล
2.Document
คือเอกสารที่เป็นของประจำตัว อาจจะเป็นพาสปอร์ต บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ เครดิตการ์ด ฯลฯ
3.Clothing and personal effects
สิ่งของเครื่องใช้ที่ติดตัว หรือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆที่ใส่อยู่ ลักษณะของการตัดเย็บ ชนิดของผ้า ลวดลายพิเศษฯลฯ เครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู ฯลฯ บางชิ้นออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะตัว ล้วนแต่สามารถใช้ช่วยประกอบในการพิสูจน์บุคคลได้
4.Birthmark and tattoo
ไฝ ปาน รอยสัก หรือ แผลเป็นต่างๆตามส่วนต่างๆของร่างกาย อาจจะใช้ช่วยในการพิสูจน์บุคคลได้
5.Deformities or surgical treatment
ความผิดปกติ ความพิการของอวัยวะบางส่วนหรือการผ่าตัดบางอย่างอาจจะช่วยในการรักษาพยาบาล เช่น ศพจากเพลิงไหม้โรงแรมโรยัลจอมเทียนรายหนึ่งไฟไหม้มากจำใบหน้าไม่ได้ เป็นหญิงรูปร่างใหญ่สามีของหญิงชาวฮังการีผู้สูญหายแจ้งว่าเคยตัดมดลูกไป และมีประวัติฟันเฉพาะบางซี่ เมื่อผ่าศพตรวจแล้วพบว่าฟันซี่ที่มีประวัติการทำฟันอยู่มีลักษณะเหมือนกัน และพบว่าศพเคยถูกตัดมดลูกไปแล้ว และรูปร่างสูงใหญ่ จึงพิสูจน์ว่าเป็นศพหญิงชาวฮังการีผู้สูญหาย
การเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดที่อาจมีผลในการเปลี่ยนแปลงต่อกระดูกและเคย x-rays มาก่อน ก็อาจจะใช้การ x-rays ส่วนนั้นของศพเพื่อเปรียบเทียบกัน
วิธีวิทยาศาสตร์(Scientific method)
เป็นวิธีเปรียบเทียบที่สามารถใช้ยืนยันตัวบุคคลได้
1.ลายพิมพ์นิ้วมือ(Fingerprint)
ลายพิมพ์นิ้วมือสิบนิ้วจากศพเมื่อเปรียบเทียบกับลายพิมพ์นิ้วมือของผู้สูญหายที่เคยพิมพ์ไว้สามารถยืนยันได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน บางคนอาจจะไม่เคยพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ก็อาจจะหาลายพิมพ์นิ้วมือได้จากข้าวของเครื่องใช้ของผู้สูญหาย เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือแฝงของผู้ที่สูญหายจากแก้วน้ำ หนังสือ ฯลฯ ของผู้สูญหาย
การตรวจลายพิมพ์นิ้วมือที่พบในที่เกิดเหตุ ในกรณีการประกอบอาชญากรรมก็ใช้วิธีตรวจหาลายพิมพ์นิ้วมือแฝงในบริเวณที่สงสัย โดยวิธีเดียวกัน
ปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจหาลายพิมพ์นิ้วมือบนร่างกายมนุษย์ได้ แต่มีผู้พยายามทำการทดลองเพื่อหาวิธีตรวจอยู่ เพราะถ้าสามารถตรวจได้ ลายนิ้วมือของผู้ที่ทำร้ายคนอื่น ที่ปรากฏอยู่บนร่างกายผู้ถูกทำร้าย จะเป็นเครื่องชี้ว่าผู้ต้องสงสัยได้ทำจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบีบคอ เป็นต้น
2.การตรวจสภาพฟัน(Dental status)
การตรวจสภาพฟันของศพรวมทั้งการ x-rays รากฟันเปรียบเทียบกับสภาพฟันจากรายงานของทันตแพทย์ ใช้ยืนยันได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะรายละเอียดการอุดฟันซี่ต่างๆซึ่งมีถึง32ซี่ แต่ละซี่มี5ด้าน คือ ด้านลิ้น(lingual) ด้านกระพุ้งแก้ม(buccal) ด้านหน้า(mesial) ด้านหลัง(distal) และด้านสบฟัน(occlusion) นอกจากนั้นยังอุดฟันเป็นรูปร่างต่างๆ และด้วยสารที่ต่างชนิดกันอีก ฯลฯ เป็นต้น
สภาพของรากฟันจาก x-rays ในแต่ละคนก็ต่างกัน และรากฟันยังช่วยบอกอายุได้อีกด้วย
ฟันเป็นกระดูกจึงไม่เน่าเปื่อยและทนความร้อนได้ดี ถ้าฟันไม่ได้ถูกสุมไฟโดยตรงความร้อนที่สะสมมักจะไม่ถึง 600องศาเซลเซียส ฟันจะยังไม่เปลี่ยนสภาพเช่นเดียวกับกระดูก
ในทางกลับกัน รอยกัด(bitemark)บนร่างกายผู้ถูกทำร้ายอาจจะใช้เปรียบเทียบกับฟันของผู้ต้องสงสัยเพื่อช่วยในการหาตัวคนกัดได้ หน้าที่ของนิติเวชแพทย์หรือนักสืบจะต้องดูให้ออกว่าบาดแผลที่ปรากฏเป็นรอยวงกลมนั้นคือรอยฟันกัด
3.การเปรียบเทียบสารพันธุกรรม(DNA identification)
สาร DNA (deoxyribose nucleic acid) เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยอณูของนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) หลายๆอณูมาต่อกัน นิวคลีโอไทด์ประกอบขึ้นจากน้ำตาล ริโบส (deoxyribose sugar) อณูของโปรตีน(purine and pyridine) ยึดต่อกันเป็นเส้นยาวด้วยอณูของฟอสฟอรัส เป็นสายยาวเป็นร้อยเป็นพันล้านตัว
สายนิวคลีโอไทด์สองเส้นจะต่อกันด้วยอณูของเพียวรีน (purine) และไพริดีน (pyridine) เป็นสายคู่ยาวเรียกว่าโครโมโซม (chromosome) การเรียงตัวของ DNA ในแต่ละเส้นนิวคลีโอไทด์ในแต่ละคนจะไม่มีซ้ำกันยกเว้นในฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน
การเปรียบเทียบ DNA อาจจะใช้เทคนิค ที่ใช้สารบางอย่างตัดเส้นนิวคลีโอไทด์ออกเป็นท่อนๆ ส่วนของ DNA ที่เรียงตัวเหมือนกันบนเส้น นิวคลีโอไทด์จะถูกตัดออก ทำให้ได้เส้นนิวคลีโอไทด์หลายๆเส้นที่มีขนาดต่างๆกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเส้น นิวคลีโอไทด์ในคนๆเดียวกัน การถูกตัดก็จะถูกตัดที่เดียวกัน จำนวนท่อนของ DNA ที่ได้ก็จะเหมือนกันด้วย และสามารถเปรียบเทียบกันได้
หรือใช้เทคนิคของการตรวจหากลุ่มของDNAในส่วนต่างๆของโครโมโซมที่แสดงลักษณะของความซ้ำกันเป็นช่วงๆ (Short Tandem Repeated) ซึ่งจะถ่ายทอดทางกรรมพันธ์เช่นกัน ตัวอย่างเช่นตำแหน่ง DNAที่โครโมโซมคู่ที่หนึ่งที่เรียกว่า D1S80 ซึ่งมีกลุ่ม DNA ซ้ำกันหลายลักษณะ ทำให้เทื่อสามารถหาจำนวนที่ซ้ำกันของ DNA ที่จุดนี้แล้ว ก็สามารถบอกความแตกต่างในแต่ละคนได้ และสามารถใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคลได้เป็นอย่างดี
นอกจากจะใช้ DNAในการพิสูจน์บุคคลแล้วก็ยังอาจใช้ในการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูกโดยการเปรียบเทียบลักษณะของ DNA เพราะ DNAในลูกต้องรับจากพ่อแม่มาคนละครึ่ง ในทางกลับกันการได้ DNAจากศพ ก็อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับDNAของพ่อแม่ หรือบุตรภรรยาของผู้สูญหาย ว่าศพรายนี้เป็นบุตรหรือสามีของครอบครัวนี้หรือไม่ ซึ่งสถาบันนิติเวชใช้วิธีนี้ในการตรวจผู้สูญหายกรณีไฟไหม้ที่โรงแรม โรยัลจอมเทียน พัทยา เมื่อปี2540จำนวน6ราย และตรวจพิสูจน์บุคคลกรณีการบินไทยเที่ยวบินที่ TG261 ตกที่สุราษฏร์ธานี เมื่อปี 2541 จำนวน13ราย อย่างได้ผลดีมาแล้ว
วิทยาการก้าวหน้าในปัจจุบันเอื้อให้สามารถตรวจหาDNAได้จากส่วนต่างๆของร่างกายได้มากขึ้น เช่นคราบเลือด คราบอสุจิ กระดูก ฯลฯ ทำให้การพิสูจน์บุคคล สามารถได้แน่นอนมากขึ้น แม้นศพที่พบจะเหลือแต่กระดูกก็ตาม
การตรวจอื่นๆที่ใช้ช่วยในการพิสูจน์บุคคล
ในกรณีที่ได้ชิ้นส่วนของศพหรือกระดูกศพ(Skeleton remains)
กรณีที่ได้ศพที่เน่ามากจนไม่สามารถพิสูจน์บุคคลจากรูปร่างหน้าตาได้ ถ้าเนื้อเยื่อที่ได้ไม่เน่าอาจจะทำตรวจหาเพศของชิ้นส่วนนั้นโดยการทำcell imprint (เอาชิ้นเนื้อแปะบนสไลด์กระจกให้เซลล์หลุดติดอยู่) แล้วย้อมสีด้วย Quinacrine HCL 0.5% เพื่อตรวจเพศ(เพศชายจะเห็นจุดสีน้ำตาลติดอยู่ในเซลล์) หรือย้อมด้วยPAP stain ตรวจดูsex chromatin ที่ขอบนิวเคลียส
ถ้าได้ชิ้นส่วนเป็นกระดูก การตรวจพิสูจน์จะต้องเริ่มต้น จากการตรวจกระดูกที่ได้มา ตรวจเชื้อชาติจากลักษณะของกะโหลก ตรวจเพศจากกระดูกเชิงกราน ตรวจความสูงจากกระดูกระยางค์ เช่นกระดูกต้นแขนหรือกระดูกต้นขา ตรวจอายุจากฟัน จากการติดของหัวกระดูก จากรอยต่อของกระดูกกะโหลก
จากนั้นใช้เทคนิคการทำภาพเชิงซ้อนเพื่อปฏิเสธภาพของผู้สูญหาย แต่ถ้าไม่สามารถปฏิเสธก็ต้องทำการตรวจ DNA จากกระดูกต่อไป
เทคนิคและหลักการในการทำภาพเชิงซ้อน
ดังกล่าวแล้วว่าในปัจจุบันสามารถตรวจ DNAได้แม้นแต่กระดูก(แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ตาม สมควร รวมทั้งการปนเปื้อน) แต่เนื่องจากการตรวจทางDNAต้องใช้ งบประมาณค่อนข้างมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องทำในระบบพ่อแม่ลูก ซึ่งเป็นการตรวจ DNAของ พ่อ แม่ และ ลูก รวมเป็นการตรวจถึงสามชุด เพื่อเปรียบเทียบกัน
การตรวจภาพเชิงซ้อนเพื่อปฏิเสธก่อนเป็นการทุ่นงบประมาณ ถ้าภาพเชิงซ้อนสามารถปฏิเสธได้ก็ไม่ต้องทำDNAต่อ เพราะปฏิเสธได้อย่างแน่นอน
การทำภาพเชิงซ้อนคือการนำรูปถ่ายของผู้สูญหายถ่ายซ้อนกับภาพกะโหลกศรีษะที่มีขากรรไกร จัดให้ท่าของกะโหลกศรีษะอยู่ในท่าเดียวกับภาพถ่าย จัดขยายให้ยอดศรีษะกับปลายคางของกระดูกเข้าที่เหมาะสมกับภาพถ่าย จากนั้นจึงเริ่มเปรียบเทียบส่วนของกระดูกต่างๆว่าสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตรงกับภาพถ่าย เช่น กระดูกกลางจมูก กระดูกโหนกแก้ม กระดูกเบ้าตา มุมกระดูกขากรรไกร และฟัน ภาพถ่ายที่ถ่ายเห็นฟันผู้ตายจะช่วยในการเปรียบเทียบมาก
การทำภาพเชิงซ้อนเป็นการทำเพื่อปฏิเสธ ถ้าปฏิเสธไม่ได้ ต้องดำเนินการตรวจด้านอื่นต่อไปเพื่อพิสูจน์
แพทย์หรือพนักงานสืบสวนสอบสวนต้องระลึกไว้เสมอว่า หลักการของการตรวจภาพเชิงซ้อนนั้นเป็นการตรวจเพื่อปฏิเสธ การเข้ากันได้ของรูปกับกะโหลกนั้น ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันแต่อย่างใด
การตรวจทางซีโรโลยี่
ในทำนองเดียวกับการตรวจ DNA การตรวจทางซีโรโลยี่คือตรวจสารเคมีต่างๆในเลือด ในสารคัดหลั่งจากส่วนต่างๆ หรือจากเนื้อเยื่อก็ตาม อาจสามารถใช้ตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลได้ และมีใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนการใช้ DNA แต่เนื่องจากกรรมวิธีการตรวจยุ่งยาก ซับซ้อน และไม่สามารถยืนยันได้อย่างมีน้ำหนักเท่าการตรวจ DNA การตรวจทางซีโรโลยี่เพื่อพิสูจน์บุคคลจึงค่อยเสื่อมความนิยมลง และไม่ค่อยใช้เพื่อการนี้
ปัญหาในการพิสูจน์เอกลักษณ์
ปัญหาที่เกิดขึ้นและพบอยู่เสมอในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลคือ การขาดข้อมูลของบุคคล ตามปกติผู้ที่ให้ข้อมูลที่มีรายละเอียด เชื่อถือได้ที่ของบุคคลใด ๆ คือสามีหรือภรรยา ของบุคคลนั้น ทั้งนี้คู่สามี ภรรยา มักจะเดินทางไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่และประสบภัยทั้งคู่ ข้อมูลในส่วนนี้จึงขาดไป
ปัญหาเรื่องบุคคลไม่เคยพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ก่อน เมื่อมีลายนิ้วมือจากศพก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับลายพิมพ์ลายนิ้วมือผู้สูญหายได้
ปัญหาอันดับต่อมาคือ เครื่องประดับกายสูญหาย เครื่องประดับที่ติดกายถึงแม้จะไม่ใช่วิธีทางวิทยาศา-สตร์ แต่ช่วยในการพิสูจน์เอกลักษณ์ได้ดียิ่งโดยเฉพาะเครื่องประดับราคาแพง ซึ่งมักจะทำเป็นกรณีพิเศษประจำ ตัว เมื่อสูญหายไปจากการถูกลักขโมยก็ตามหรือสูญหายไปเองก็ตามก็ทำให้การพิสูจน์เอกลักษณ์ยากขึ้น
ปัญหาสภาพศพที่เน่าสลายตัว หรือถูกสัตว์กัดแทะ ในกรณีที่ต้องค้นหาหลายวันหรือประสบอุบัติเหตุในที่อันทุรกันดารทำให้การพิสูจน์เอกลักษณ์ทำได้ยากไม่ สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือ หรือตรวจหารายละเอียดใดใดจากศพได้ ถึงแม้มีข้อมูลของผู้สูญหายครบครันก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การพิสูจน์บุคคลว่าเป็นใครที่ให้ยืนยันตัวบุคคลจะมีอยู่เพียง 3 ประการคือ
1. การตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ
2. การตรวจสภาพฟันเปรียบเทียบ โดยนิติทันตแพทย์
3. การเปรียบเทียบ DNA กับครอบครัวผู้สูญหาย
แต่ในทางปฏิบัติลายพิมพ์นิ้วมือมักทำไม่ได้ เนื่องจากสภาพศพมักมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงเหลือการตรวจสภาพฟันกับ DNA เท่านั้น
ที่มา http://www.ifm.go.th
ในทางกลับกัน บางครั้งสิ่งที่พบเป็นคราบเลือดหรือสารคัดหลั่งอื่นเช่นน้ำอสุจิฯลฯ และต้องการตรวจว่าเป็นของใคร การตรวจจะเริ่มจากการตรวจว่าเป็นของคนหรือไม่ซึ่งอาจจะทำได้ไม่ยากด้วยการให้ทำปฏิกิริยากับน้ำยาที่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของมนุษย์ จากนั้นจึงทำการตรวจต่อไปว่าเป็นของใครด้วยกรรมวิธีทางห้องปฏิบัติการต่อไป
เนื่องจากการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลเป็นการเปรียบเทียบ จึงต้องมีข้อมูลจากสองด้าน ด้านหนึ่งคือข้อมูลจากการตรวจศพ อีกด้านหนึ่งคือข้อมูลจากด้านบุคคลที่สงสัยว่าสูญหาย ซึ่งข้อมูล ทางด้านบุคคลนั้นต้องสอบถามจากญาติผู้ใกล้ชิด เรื่องเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ข้อมูลทางการแพทย์ เคยผ่าตัดอะไร ข้อมูลทางสภาพฟัน ข้อมูลเอกสารลายพิมพ์นิ้วมือที่เคยพิมพ์ไว้ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มีรายละเอียดแตกแขนงถี่ยิบออกไปอย่างมากมายยกตัวอย่าง เช่น ผู้สงสัยว่าเป็นผู้ตายนั้นผูกนาฬิกาข้อมือ เป็นนาฬิกายี่ห้อใด แบบตัวเลขหรือแบบมีเข็ม ชอบผูกมือซ้ายหรือข้อมือขวาเวลาผูกชอบผูกเอาหน้าปัดหันเข้าตัวหรือหันออกจากตัวสายนาฬิกา หนังหรือโลหะ สีอะไร มีลักษณะเด่นอะไรเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งผู้หาข้อมูลก็จะต้องได้รับการฝึกฝนมาพอสมควร ในส่วนนี้ข้อมูลอาจจะได้มาจากต่างประเทศ ผ่านทางตำรวจสากล
การตรวจอาจแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ วิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์และวิธีที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์(scientific and non-scientific method)
วิธีที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์(non-scientific)
ความจริงวิธีนี้ก็เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ใช้คำว่า Non-Scientificเพื่อเป็นการบอกว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ใช้ยืนยันตัวบุคคลได้ แต่เป็นวิธีที่ช่วยในการพิสูจน์เท่านั้น
1.Visual identification
คือการพิสูจน์บุคคลด้วยสายตาของผู้รู้จักซึ่งเป็นข้อมูลของผู้สูญหายที่อยู่ในความทรงจำของผู้ที่จำได้ แต่จะถือว่าเป็นการยืนยันอย่างแน่นอนไม่ได้ เพราะศพอาจจะมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว เช่น ขึ้นอืดมีสีเขียวคล้ำตามใบหน้า หน้าบวมจากการอืดหรือการบาดเจ็บ หรือ มีบาดแผลทำให้หน้าผิดรูปไปบางส่วน ทำให้จำผิดไป มีบางรายที่มาดูศพที่สถาบันนิติเวชฯ ศพเสียชีวิตจากถูกรถชน ศพเริ่มขึ้นอืดใบหน้าคล้ำ ภรรยายืนยันว่าใช่ไปแจ้งแก่ตำรวจเจ้าของคดีว่าใช่ ตำรวจทำหนังสือแจ้งชื่อมายังสถาบันนิติเวชฯเพื่อขอให้ญาติรับศพไปดำเนินพิธีทางศาสนา ต่อมาไม่นานสามีเดินทางกลับมาบ้าน ทำให้ความสับสนทางทะเบียนราษฎร์ และภรรยารายนี้อาจจะต้องคดีแจ้งความเท็จ
เท่ากับเป็นการพิสูจน์จากการดูรูปร่างหน้าตาภายนอกเท่านั้น แต่ก็เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดในการพิสูจน์บุคคล
2.Document
คือเอกสารที่เป็นของประจำตัว อาจจะเป็นพาสปอร์ต บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ เครดิตการ์ด ฯลฯ
3.Clothing and personal effects
สิ่งของเครื่องใช้ที่ติดตัว หรือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆที่ใส่อยู่ ลักษณะของการตัดเย็บ ชนิดของผ้า ลวดลายพิเศษฯลฯ เครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู ฯลฯ บางชิ้นออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะตัว ล้วนแต่สามารถใช้ช่วยประกอบในการพิสูจน์บุคคลได้
4.Birthmark and tattoo
ไฝ ปาน รอยสัก หรือ แผลเป็นต่างๆตามส่วนต่างๆของร่างกาย อาจจะใช้ช่วยในการพิสูจน์บุคคลได้
5.Deformities or surgical treatment
ความผิดปกติ ความพิการของอวัยวะบางส่วนหรือการผ่าตัดบางอย่างอาจจะช่วยในการรักษาพยาบาล เช่น ศพจากเพลิงไหม้โรงแรมโรยัลจอมเทียนรายหนึ่งไฟไหม้มากจำใบหน้าไม่ได้ เป็นหญิงรูปร่างใหญ่สามีของหญิงชาวฮังการีผู้สูญหายแจ้งว่าเคยตัดมดลูกไป และมีประวัติฟันเฉพาะบางซี่ เมื่อผ่าศพตรวจแล้วพบว่าฟันซี่ที่มีประวัติการทำฟันอยู่มีลักษณะเหมือนกัน และพบว่าศพเคยถูกตัดมดลูกไปแล้ว และรูปร่างสูงใหญ่ จึงพิสูจน์ว่าเป็นศพหญิงชาวฮังการีผู้สูญหาย
การเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดที่อาจมีผลในการเปลี่ยนแปลงต่อกระดูกและเคย x-rays มาก่อน ก็อาจจะใช้การ x-rays ส่วนนั้นของศพเพื่อเปรียบเทียบกัน
วิธีวิทยาศาสตร์(Scientific method)
เป็นวิธีเปรียบเทียบที่สามารถใช้ยืนยันตัวบุคคลได้
1.ลายพิมพ์นิ้วมือ(Fingerprint)
ลายพิมพ์นิ้วมือสิบนิ้วจากศพเมื่อเปรียบเทียบกับลายพิมพ์นิ้วมือของผู้สูญหายที่เคยพิมพ์ไว้สามารถยืนยันได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน บางคนอาจจะไม่เคยพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ก็อาจจะหาลายพิมพ์นิ้วมือได้จากข้าวของเครื่องใช้ของผู้สูญหาย เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือแฝงของผู้ที่สูญหายจากแก้วน้ำ หนังสือ ฯลฯ ของผู้สูญหาย
การตรวจลายพิมพ์นิ้วมือที่พบในที่เกิดเหตุ ในกรณีการประกอบอาชญากรรมก็ใช้วิธีตรวจหาลายพิมพ์นิ้วมือแฝงในบริเวณที่สงสัย โดยวิธีเดียวกัน
ปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจหาลายพิมพ์นิ้วมือบนร่างกายมนุษย์ได้ แต่มีผู้พยายามทำการทดลองเพื่อหาวิธีตรวจอยู่ เพราะถ้าสามารถตรวจได้ ลายนิ้วมือของผู้ที่ทำร้ายคนอื่น ที่ปรากฏอยู่บนร่างกายผู้ถูกทำร้าย จะเป็นเครื่องชี้ว่าผู้ต้องสงสัยได้ทำจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบีบคอ เป็นต้น
2.การตรวจสภาพฟัน(Dental status)
การตรวจสภาพฟันของศพรวมทั้งการ x-rays รากฟันเปรียบเทียบกับสภาพฟันจากรายงานของทันตแพทย์ ใช้ยืนยันได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะรายละเอียดการอุดฟันซี่ต่างๆซึ่งมีถึง32ซี่ แต่ละซี่มี5ด้าน คือ ด้านลิ้น(lingual) ด้านกระพุ้งแก้ม(buccal) ด้านหน้า(mesial) ด้านหลัง(distal) และด้านสบฟัน(occlusion) นอกจากนั้นยังอุดฟันเป็นรูปร่างต่างๆ และด้วยสารที่ต่างชนิดกันอีก ฯลฯ เป็นต้น
สภาพของรากฟันจาก x-rays ในแต่ละคนก็ต่างกัน และรากฟันยังช่วยบอกอายุได้อีกด้วย
ฟันเป็นกระดูกจึงไม่เน่าเปื่อยและทนความร้อนได้ดี ถ้าฟันไม่ได้ถูกสุมไฟโดยตรงความร้อนที่สะสมมักจะไม่ถึง 600องศาเซลเซียส ฟันจะยังไม่เปลี่ยนสภาพเช่นเดียวกับกระดูก
ในทางกลับกัน รอยกัด(bitemark)บนร่างกายผู้ถูกทำร้ายอาจจะใช้เปรียบเทียบกับฟันของผู้ต้องสงสัยเพื่อช่วยในการหาตัวคนกัดได้ หน้าที่ของนิติเวชแพทย์หรือนักสืบจะต้องดูให้ออกว่าบาดแผลที่ปรากฏเป็นรอยวงกลมนั้นคือรอยฟันกัด
3.การเปรียบเทียบสารพันธุกรรม(DNA identification)
สาร DNA (deoxyribose nucleic acid) เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยอณูของนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) หลายๆอณูมาต่อกัน นิวคลีโอไทด์ประกอบขึ้นจากน้ำตาล ริโบส (deoxyribose sugar) อณูของโปรตีน(purine and pyridine) ยึดต่อกันเป็นเส้นยาวด้วยอณูของฟอสฟอรัส เป็นสายยาวเป็นร้อยเป็นพันล้านตัว
สายนิวคลีโอไทด์สองเส้นจะต่อกันด้วยอณูของเพียวรีน (purine) และไพริดีน (pyridine) เป็นสายคู่ยาวเรียกว่าโครโมโซม (chromosome) การเรียงตัวของ DNA ในแต่ละเส้นนิวคลีโอไทด์ในแต่ละคนจะไม่มีซ้ำกันยกเว้นในฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน
การเปรียบเทียบ DNA อาจจะใช้เทคนิค ที่ใช้สารบางอย่างตัดเส้นนิวคลีโอไทด์ออกเป็นท่อนๆ ส่วนของ DNA ที่เรียงตัวเหมือนกันบนเส้น นิวคลีโอไทด์จะถูกตัดออก ทำให้ได้เส้นนิวคลีโอไทด์หลายๆเส้นที่มีขนาดต่างๆกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเส้น นิวคลีโอไทด์ในคนๆเดียวกัน การถูกตัดก็จะถูกตัดที่เดียวกัน จำนวนท่อนของ DNA ที่ได้ก็จะเหมือนกันด้วย และสามารถเปรียบเทียบกันได้
หรือใช้เทคนิคของการตรวจหากลุ่มของDNAในส่วนต่างๆของโครโมโซมที่แสดงลักษณะของความซ้ำกันเป็นช่วงๆ (Short Tandem Repeated) ซึ่งจะถ่ายทอดทางกรรมพันธ์เช่นกัน ตัวอย่างเช่นตำแหน่ง DNAที่โครโมโซมคู่ที่หนึ่งที่เรียกว่า D1S80 ซึ่งมีกลุ่ม DNA ซ้ำกันหลายลักษณะ ทำให้เทื่อสามารถหาจำนวนที่ซ้ำกันของ DNA ที่จุดนี้แล้ว ก็สามารถบอกความแตกต่างในแต่ละคนได้ และสามารถใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคลได้เป็นอย่างดี
นอกจากจะใช้ DNAในการพิสูจน์บุคคลแล้วก็ยังอาจใช้ในการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูกโดยการเปรียบเทียบลักษณะของ DNA เพราะ DNAในลูกต้องรับจากพ่อแม่มาคนละครึ่ง ในทางกลับกันการได้ DNAจากศพ ก็อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับDNAของพ่อแม่ หรือบุตรภรรยาของผู้สูญหาย ว่าศพรายนี้เป็นบุตรหรือสามีของครอบครัวนี้หรือไม่ ซึ่งสถาบันนิติเวชใช้วิธีนี้ในการตรวจผู้สูญหายกรณีไฟไหม้ที่โรงแรม โรยัลจอมเทียน พัทยา เมื่อปี2540จำนวน6ราย และตรวจพิสูจน์บุคคลกรณีการบินไทยเที่ยวบินที่ TG261 ตกที่สุราษฏร์ธานี เมื่อปี 2541 จำนวน13ราย อย่างได้ผลดีมาแล้ว
วิทยาการก้าวหน้าในปัจจุบันเอื้อให้สามารถตรวจหาDNAได้จากส่วนต่างๆของร่างกายได้มากขึ้น เช่นคราบเลือด คราบอสุจิ กระดูก ฯลฯ ทำให้การพิสูจน์บุคคล สามารถได้แน่นอนมากขึ้น แม้นศพที่พบจะเหลือแต่กระดูกก็ตาม
การตรวจอื่นๆที่ใช้ช่วยในการพิสูจน์บุคคล
ในกรณีที่ได้ชิ้นส่วนของศพหรือกระดูกศพ(Skeleton remains)
กรณีที่ได้ศพที่เน่ามากจนไม่สามารถพิสูจน์บุคคลจากรูปร่างหน้าตาได้ ถ้าเนื้อเยื่อที่ได้ไม่เน่าอาจจะทำตรวจหาเพศของชิ้นส่วนนั้นโดยการทำcell imprint (เอาชิ้นเนื้อแปะบนสไลด์กระจกให้เซลล์หลุดติดอยู่) แล้วย้อมสีด้วย Quinacrine HCL 0.5% เพื่อตรวจเพศ(เพศชายจะเห็นจุดสีน้ำตาลติดอยู่ในเซลล์) หรือย้อมด้วยPAP stain ตรวจดูsex chromatin ที่ขอบนิวเคลียส
ถ้าได้ชิ้นส่วนเป็นกระดูก การตรวจพิสูจน์จะต้องเริ่มต้น จากการตรวจกระดูกที่ได้มา ตรวจเชื้อชาติจากลักษณะของกะโหลก ตรวจเพศจากกระดูกเชิงกราน ตรวจความสูงจากกระดูกระยางค์ เช่นกระดูกต้นแขนหรือกระดูกต้นขา ตรวจอายุจากฟัน จากการติดของหัวกระดูก จากรอยต่อของกระดูกกะโหลก
จากนั้นใช้เทคนิคการทำภาพเชิงซ้อนเพื่อปฏิเสธภาพของผู้สูญหาย แต่ถ้าไม่สามารถปฏิเสธก็ต้องทำการตรวจ DNA จากกระดูกต่อไป
เทคนิคและหลักการในการทำภาพเชิงซ้อน
ดังกล่าวแล้วว่าในปัจจุบันสามารถตรวจ DNAได้แม้นแต่กระดูก(แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ตาม สมควร รวมทั้งการปนเปื้อน) แต่เนื่องจากการตรวจทางDNAต้องใช้ งบประมาณค่อนข้างมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องทำในระบบพ่อแม่ลูก ซึ่งเป็นการตรวจ DNAของ พ่อ แม่ และ ลูก รวมเป็นการตรวจถึงสามชุด เพื่อเปรียบเทียบกัน
การตรวจภาพเชิงซ้อนเพื่อปฏิเสธก่อนเป็นการทุ่นงบประมาณ ถ้าภาพเชิงซ้อนสามารถปฏิเสธได้ก็ไม่ต้องทำDNAต่อ เพราะปฏิเสธได้อย่างแน่นอน
การทำภาพเชิงซ้อนคือการนำรูปถ่ายของผู้สูญหายถ่ายซ้อนกับภาพกะโหลกศรีษะที่มีขากรรไกร จัดให้ท่าของกะโหลกศรีษะอยู่ในท่าเดียวกับภาพถ่าย จัดขยายให้ยอดศรีษะกับปลายคางของกระดูกเข้าที่เหมาะสมกับภาพถ่าย จากนั้นจึงเริ่มเปรียบเทียบส่วนของกระดูกต่างๆว่าสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตรงกับภาพถ่าย เช่น กระดูกกลางจมูก กระดูกโหนกแก้ม กระดูกเบ้าตา มุมกระดูกขากรรไกร และฟัน ภาพถ่ายที่ถ่ายเห็นฟันผู้ตายจะช่วยในการเปรียบเทียบมาก
การทำภาพเชิงซ้อนเป็นการทำเพื่อปฏิเสธ ถ้าปฏิเสธไม่ได้ ต้องดำเนินการตรวจด้านอื่นต่อไปเพื่อพิสูจน์
แพทย์หรือพนักงานสืบสวนสอบสวนต้องระลึกไว้เสมอว่า หลักการของการตรวจภาพเชิงซ้อนนั้นเป็นการตรวจเพื่อปฏิเสธ การเข้ากันได้ของรูปกับกะโหลกนั้น ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันแต่อย่างใด
การตรวจทางซีโรโลยี่
ในทำนองเดียวกับการตรวจ DNA การตรวจทางซีโรโลยี่คือตรวจสารเคมีต่างๆในเลือด ในสารคัดหลั่งจากส่วนต่างๆ หรือจากเนื้อเยื่อก็ตาม อาจสามารถใช้ตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลได้ และมีใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนการใช้ DNA แต่เนื่องจากกรรมวิธีการตรวจยุ่งยาก ซับซ้อน และไม่สามารถยืนยันได้อย่างมีน้ำหนักเท่าการตรวจ DNA การตรวจทางซีโรโลยี่เพื่อพิสูจน์บุคคลจึงค่อยเสื่อมความนิยมลง และไม่ค่อยใช้เพื่อการนี้
ปัญหาในการพิสูจน์เอกลักษณ์
ปัญหาที่เกิดขึ้นและพบอยู่เสมอในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลคือ การขาดข้อมูลของบุคคล ตามปกติผู้ที่ให้ข้อมูลที่มีรายละเอียด เชื่อถือได้ที่ของบุคคลใด ๆ คือสามีหรือภรรยา ของบุคคลนั้น ทั้งนี้คู่สามี ภรรยา มักจะเดินทางไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่และประสบภัยทั้งคู่ ข้อมูลในส่วนนี้จึงขาดไป
ปัญหาเรื่องบุคคลไม่เคยพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ก่อน เมื่อมีลายนิ้วมือจากศพก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับลายพิมพ์ลายนิ้วมือผู้สูญหายได้
ปัญหาอันดับต่อมาคือ เครื่องประดับกายสูญหาย เครื่องประดับที่ติดกายถึงแม้จะไม่ใช่วิธีทางวิทยาศา-สตร์ แต่ช่วยในการพิสูจน์เอกลักษณ์ได้ดียิ่งโดยเฉพาะเครื่องประดับราคาแพง ซึ่งมักจะทำเป็นกรณีพิเศษประจำ ตัว เมื่อสูญหายไปจากการถูกลักขโมยก็ตามหรือสูญหายไปเองก็ตามก็ทำให้การพิสูจน์เอกลักษณ์ยากขึ้น
ปัญหาสภาพศพที่เน่าสลายตัว หรือถูกสัตว์กัดแทะ ในกรณีที่ต้องค้นหาหลายวันหรือประสบอุบัติเหตุในที่อันทุรกันดารทำให้การพิสูจน์เอกลักษณ์ทำได้ยากไม่ สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือ หรือตรวจหารายละเอียดใดใดจากศพได้ ถึงแม้มีข้อมูลของผู้สูญหายครบครันก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การพิสูจน์บุคคลว่าเป็นใครที่ให้ยืนยันตัวบุคคลจะมีอยู่เพียง 3 ประการคือ
1. การตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ
2. การตรวจสภาพฟันเปรียบเทียบ โดยนิติทันตแพทย์
3. การเปรียบเทียบ DNA กับครอบครัวผู้สูญหาย
แต่ในทางปฏิบัติลายพิมพ์นิ้วมือมักทำไม่ได้ เนื่องจากสภาพศพมักมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงเหลือการตรวจสภาพฟันกับ DNA เท่านั้น
ที่มา http://www.ifm.go.th
- spy-16-18-1-14-7นักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 169
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 27
วันเกิด : 22/03/1995
งานอดิเรก : Violin, อ่านหนังสือ, Piano, ฟังเพลง, facebook, ไปส่อง, เฝ้าฐานปฏิบัติการ Nck#7 Laewst Commando.
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Oct 23, 2011 10:49 am
สุดยอดจริงๆคับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ คับผม!
ขอบคุณสำหรับความรู้ คับผม!
- bobonusนักล่าปริศนา
- จำนวนข้อความ : 679
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 71
วันเกิด : 23/01/1995
งานอดิเรก : เข้าโรงเรียน
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Nov 04, 2012 9:20 am
หน้าพิมาต โด้!!!
This dice is not existing.
- Na///SodiUmนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 450
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 81
วันเกิด : 09/03/1995
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ(นิยาย,การ์ตูน) , ฟังเพลง , ดูหนัง
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Nov 04, 2012 9:26 am
ท่าพลังฮัดเช้ยยยยยยย
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Nov 04, 2012 12:49 pm
ลูกเตะสะท้านฟ้า !!!
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- mimozaaนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 277
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 72
วันเกิด : 12/08/1998
งานอดิเรก : YY
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Nov 04, 2012 1:07 pm
จงตายซะ ด้วยท่าเก้าอี้พิฆาต
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- คิรัวร์นักล่าปริศนา
- จำนวนข้อความ : 807
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 59
วันเกิด : 14/01/1992
งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ เล่นคอม เล่นกีฬา
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Nov 04, 2012 7:25 pm
เจ้าจะถูกฟันเป็นสิบๆท่อนด้วยดาบของข้าและคุราบิก้า
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- topyokนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 321
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 5
วันเกิด : 29/05/1995
งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Tue Jan 08, 2013 10:06 pm
Net Ball
Code:
This dice is not existing.
Code:
This dice is not existing.
- topyokนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 321
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 5
วันเกิด : 29/05/1995
งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Tue Jan 08, 2013 10:07 pm
Net Ball
Code:
This dice is not existing.
Code:
This dice is not existing.
- topyokนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 321
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 5
วันเกิด : 29/05/1995
งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Tue Jan 08, 2013 10:07 pm
Net Ball
Code:
This dice is not existing.
Code:
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Tue Jan 08, 2013 10:20 pm
Code:
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Tue Jan 08, 2013 10:21 pm
Code:
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- Kisshhนักท่องเที่ยวสุดขอบฟ้า
- จำนวนข้อความ : 156
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 29/09/1995
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Tue Jan 08, 2013 10:21 pm
Code:
This dice is not existing.
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Jan 13, 2013 3:37 pm
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Jan 13, 2013 4:50 pm
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Jan 20, 2013 2:49 pm
This dice is not existing.
- E'numnimนักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
- จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก : อ่านนิยาย
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Sun Jan 20, 2013 2:49 pm
This dice is not existing.
- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
Re: การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพ
Fri Feb 08, 2013 1:18 pm
kurimugan
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ