EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^

Join the forum, it's quick and easy

EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^
EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
EDS
EDS
ผู้บุกเบิกสร้างแคมป์
จำนวนข้อความ : 10481
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 364
วันเกิด : 28/12/1976
งานอดิเรก งานอดิเรก : รดน้ำต้นไม้

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty การสร้างรหัส (Cryptography)

Thu Feb 17, 2011 1:48 pm
Message reputation : 100% (1 vote)

รหัส (Cryptography) คือ การทำให้ข้อมูลที่จะส่งผ่านไปทางเครือข่ายอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถอ่านออก ได้ ด้วยการเข้ารหัส (Encryption) ทำให้ข้อมูลนั้นเป็นความลับ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์จริงเท่านั้นจะสามารถอ่านข้อมูลนั้นได ด้วยการถอดรหัส (Decryption) นั่นคือ สามารถรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ (Confidentiality) และ กำหนดผู้ มีสิทธิ์ได้ (Authentication & Authorization) สำหรับการเข้ารหัส และ ถอดรหัสนั้นจะอาศัยสมการทาง คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน และ ต้องอาศัยกุญแจซึ่งอยู่ในรูปของพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ (สำหรับตัวกุญแจนั้นจะมีความยาวเป็น บิต(bit) และ ยิ่งกุญแจมีความยาวมาก ยิ่งปลอดภัยมาก เนื่องจากจะต้องใช้เวลานานมากขึ้นในการ คาดเดากุญแจโดยผู้คุกคาม) ในการเข้า และ ถอดรหัส สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การรหัสแบบกุญแจสมมาตร(Symmetric Key Cryptography หรือ Secret Key Cryptography) และ การรหัสแบบอสมมาตร (Asymmetric Key Cryptography หรือ Public Key Cryptography)



การรหัสแบบกุญแจสมมาตร หมายถึง การเข้า และ ถอดรหัส โดยใช้กุญแจลับที่เหมือนกัน ซึ่งมีขั้นตอนแสดงดังตัวอย่าง ในรูปที่ 1 คือ นายแดงเป็นผู้ส่ง จะทำการส่งผ่านข้อความ "ผมชื่อนายดำ" ไปยัง ผู้รับคือนางแดง โดยที่ นายดำทำการเข้า รหัสข้อความ "ผมชื่อนายดำ" ด้วยกุญแจลับ ข้อความนั้นจะเปลี่ยนเป็น ข้อความที่เข้ารหัสแล้ว(Cipher Text) "ก\ยd-#ี)+ใ" ถูกส่งไปยังนางแดง จากนั้นนางแดงก็ใช้กุญแจลับเดียวกันกับที่นายแดงใช้เข้ารหัสมาทำการถอดรหัส ออกมาเป็นข้อความเดิมคือ "ผมชื่อนายดำ" ในกรณีนี้กุญแจลับจะเป็นกุญแจเดียวกันซึ่งจะต้องเป็นที่รู้กันเพียงผู้รับ และผู้ส่งเท่านั้น



การรหัสแบบกุญแจอสมมาตร หมายถึง การเข้า และ ถอดรหัส ด้วยกุญแจต่างกัน ซึ่งมีขั้นตอนดังตัวอย่างที่แสดงไว้ในรูป คือ นายดำเป็นผู้ส่งทำการเข้ารหัสข้อความ "ผมชื่อนายดำ" ไปเป็น "มt*แ)สp@d๊ะ" ด้วยกุญแจสาธารณะของผู้รับได้แก่ นางแดง ซึ่งนายดำขอกุญแจนั้นมาจากองค์กรกลางที่เก็บกัญแจสาธารณะของบุคคลต่างๆไว้ จากนั้นข้อความที่เข้ารหัสแล้วถูกส่งไปยัง นางแดง นางแดงจะทำการถอดรหัสข้อความด้วยกุญแจส่วนตัวของนางแดง และ นางแดงเท่านั้นจะเป็นผู้มีสิทธิ์เนื่องจากนางแดงจะเป็นผู้เดียวที่มีกุญแจ ส่วนตัวของนางแดงเอง นั่นคือ ในการส่งข้อความด้วยการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร จะเน้นที่ผู้รับเป็นหลัก คือ จะใช้กุญแจสาธารณะชองผู้รับซึ่งเป็นที่เปิดเผยในการเข้ารหัส และ จะใช้กุญแจส่วนตัวของผู้รับในการถอดรหัส


แบบกุญแจสมมาตร
ข้อดี
- มีความรวดเร็ว เพราะใช้เวลาใน
การคำนวณที่น้อยกว่า
- สามารถสร้างได้ง่ายโดยใช้ฮาร์ดแวร์


ข้อเสีย
- การบริหารจัดการกุญแจทำได้
ยากเพราะ กุญแจในการเข้ารหัส และ
ถอดรหัส เหมือนกัน


แบบกุญแจอสมมาตร
ข้อดี
- การบริหารจัดการกุญแจทำได้
ง่ายกว่า เพราะใช้กุญแจในการเข้า
รหัส และ ถอดรหัสต่างกัน
- สามารถระบุผู้ใช้โดยการใช้
ร่วมกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


ข้อเสีย
- ใช้เวลาในการเข้า และ ถอดรหัส
ค่อนข้างนาน เพราะต้องใช้การ
คำนวณอย่างมาก


การเข้ารหัส ( Encryption ) คือการทำทำให้ข้อมูลเป็นความลับ
การถอดรหัส ( Decryption ) คือ การที่ทำให้ผู้มีสิทธิ์เท่านั้นทำการอ่านข้อมูลได้
แบ่งเป็น 2 ประเภท


รหัสแบบกุญแจสมมาตร ( Symmetric Key Cryptography )


รหัส แบบกุญแจอสมมาตร ( Asymmetric Key Cryptography )คือ ผู้ส่งใช้กุญแจดอกหนึ่งในการเข้ารหัส และ ผู้รับใช้กุญแจอีกดอกหนึ่งในการถอดรหัส
โดยกุญแจจะมี 2 ตัว คือ Private Key กุญแจส่วนตัว และ Public Key กุญแจสาธารณะ



Digital Signature ลายมือชื่อดิจิตอล
มีไว้เพื่อ
1. ป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ
2. เพื่อแสดงว่าผู้เขียนเอกสารคือใคร
3. ป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร



ระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography)

ระบบ การเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography) เป็นกระบวนการสำหรับการแปรรูปข้อมูลเล็กทรอนิกส์ธรรมดาให้อยู่ในรูปที่บุคคล ทั่วไปไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเข้ารหัสจะกระทำก่อนการจัดเก็บข้อมูลหรือก่อนการส่ง ข้อมูล โดยการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ธรรมดากับกุญแจ (Key) ซึ่งเป็นตัวเลขสุ่มใดๆ มาผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผลที่ได้ก็คือข้อมูลที่เข้ารหัส ขั้นตอนที่กล่าวมานี้จะเรียกว่า “การเข้ารหัส” (Encryption) และเมื่อต้องการอ่านข้อมูล ก็นำเอาข้อมูลที่เข้ารหัสกับกุญแจมาผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือข้อมูลดั้งเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะเรียกว่า “การถอดรหัส” (Decryption)


จะเห็นได้ว่ากุญแจเป็นตัวแปรที่สำคัญสำหรับระบบเข้ารหัส ดังนั้นระบบเข้ารหัสสามารถแบ่งตามวิธีการใช้กุญแจได้เป็น 2 วิธีดังนี้


ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตร (Symmetric-key cryptography)
คือ การเข้ารหัสข้อมูลด้วยกุญแจเดี่ยว (Secret Key) ทั้งผู้ส่งและผู้รับ โดยวิธีการนี้ผู้รับกับผู้ส่งต้องตกลงกันก่อนว่าจะใช้รูปแบบไหนในการเข้า รหัสข้อมูล ซึ่งรูปแบบไหนในการเข้ารหัสข้อมูลที่ผู้รับกับผู้ส่งตกลงกันแท้ที่จริงก็คือ กุญแจลับ (Secret Key) นั่นเอง เช่น ผู้ส่งกับผู้รับตกลงจะใช้เทคนิดการแทนที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไป 1 ตำแหน่ง เช่น ถ้าเห็นตัวอักษร A ก็ให้เปลี่ยนไปเป็น B หรือเห็นตัวอักษร B ก็ให้เปลี่ยนไปเป็น C เป็นต้น นั้นก็คือผู้ส่งกับผู้รับตกลงใช้รูปแบบนี้เป็นกุญแจลับ


ถ้า Mr. A ได้ตกลงกับ Mr. B ว่ากุญแจลับที่จะใช้เข้ารหัสและถอดรหัสคือ การเปลี่ยนตัวอักษรจากเดิมถัดไป1ตำแหน่ง ถ้า Mr. A ต้องการส่งคำว่า HELLO ไปให้ Mr. B ขั้นตอนจะเป็นดังนี้

1. Mr. A สร้างข้อความว่า "HELLO" ขึ้นมา
2. Mr. A ใช้กุญแจลับมาทำการเข้ารหัสข้อความ โดยการเปลี่ยนตัวอักษรจากเดิมถัดไป 1ตำแหน่ง ดังนั้น ตัวอักษร H จะเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษร E จะเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษร F ตัวอักษร L ทั้ง 2 ตัว จะเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษร M ทั้งสองตัว และสุดท้ายตัวอักษร O จะเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษร P เพราะฉะนั้นหลังจากการทำการเข้ารหัสข้อความที่ Mr. A ต้องการส่งด้วยกุญแจลับแล้ว ข้อความว่า HELLO จะเปลี่ยนไปเป็นข้อความที่เข้ารหัส (Ciphertext) ว่า "IFMMP"
3. Mr. A ส่งข้อความที่เข้ารหัสไปให้ Mr. B
4. หลังจากที่ Mr. B ได้รับข้อความที่เข้ารหัสจาก Mr. A แล้ว Mr. B จะต้องทำการถอดรหัสข้อครามนี้ก่อน หรือที่เรียกว่า Decrypt โดยการถอดรหัสข้อความนี้ Mr. B จะต้องใช้กุญแจลับที่ได้ตกลงกันไว้แล้วกับ Mr. A มาทำการถอดรหัส เพราะฉะนั้นกุญแจลับที่ได้ตกลงกันกับ Mr. A ว่า Mr. A จะทำการเข้ารหัสโดยการเปลี่ยนตัวอักษรจากเดิมไปเป็นตัวอักษรที่อยู่ถัดไป 1 ตำแหน่ง ดังนั้น Mr. B จะต้องเอาข้อความเข้ารหัส IFMMP มาถอดรหัส โดยการเปลี่ยนจากตัวอักษร I ไปเป็นตัวอักษร H และตัวอักษร F จะไปเป็นตัวอักษร E และตัวอักษร M ทั้งสองตัวจะเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษร O หลังจากนั้น Mr. B ก็จะทราบว่าข้อความที่ Mr. A ส่งมา คือ ข้อความว่า "HELLO"


จากตัวอย่างที่ได้อธิบายมานี้จะเป็นหลัก การแบบง่ายๆ ทำให้เห็นการทำงานของการเข้ารหัสแบบสมมาตร หรือกุญแจเดี่ยว เพราะฉะนั้นหลักการเข้ารหัสแบบสมมาตรนี้จะใช้กุญแจลับ (Secret Key) ทำการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อความ

ข้อดีของการเข้ารหัสแบบสมมาตร
1. การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลใช้เวลาน้อย เพราะว่าอัลกอริทึมที่ใช้ไม่ได้สลับซับซ้อน
2. ขนาดของข้อมูลหลังจากทำการเข้ารหัสแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า ข้อมูลหลังจากทำการเข้ารหัสแล้ว จะมีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าเดิมมากนัก

ข้อด้อยของการเข้ารหัสแบบสมมาตร
1. การจัดการกับกุญแจลับที่ยุ่งยาก เพราะ Mr. A ต้องจำให้ได้ด้วยว่า ถ้าจะติดต่อกับ Mr. B ต้องใช้กุญแจลับดอกไหน หรือติดต่อกับนายขาวต้องใช้กุญแจลับดอกไหน
2. การกระจายกุญแจลับ เนื่องจากการเข้ารหัสวิธีนี้ต้องใช้กุญแจลับ 1 ดอกต่อผู้รับ 1 คน ดังนั้นถ้า Mr. A ต้องติดต่อกับคนมากๆ Mr. A ก็ต้องส่งกุญแจลับที่ใช้ไปให้กับทุกคน



สำหรับ วิธีการเข้ารหัสแบบนี้ ก็จะมีมาตรฐานมารองรับเหมือนกัน มาตรฐานที่ว่าก็คือ มาตรฐาน DES (Digital Encryption Standard) หรือเรียกว่า “เดส” ที่มาของ DES เกิดขึ้นมาจากทีมพัฒนาของบริษัท IBM เมื่อราวๆปลายยุค 1960 ทำการพัฒนาระบบเข้ารหัสและถอดรหัสนี้ โดยหลักการทำงานจะทำการแบ่งข้อมูลที่จะทำการเข้าหรือถอดรหัสออกเป็นบล็อก (block) โดยที่แต่ละบล็อกจะทีขนาด 64 บิต และจำนวนความยาวของกุญแจลับจะมีขนาด 128 บิตในช่วงแรก หลังจากนั้นทางบริษัท IBM ก็ได้เพิ่มทุนให้ทำการพัฒนาและปรับปรุงต่อเรื่อยๆมา โดยในครั้งนี้ได้มีที่ปรึกษาจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency: NSA) ของสหรัสอเมริกาเข้าร่วมด้วย ผลที่ได้จากการพัฒนานี้ ทำให้ระบบ DES สามารถทนทานต่อผู้ต้องการเจาะรหัส (cryptanalysis) ได้ และขณะเดียวกัน ก็ได้ทำการลดความยาวของกุญแจลงเหลือแค่ 56 บิต จากเดิม 128 บิต เหตุผลที่ต้องลดความยาวของกุญแจลับลง ก็เพราะว่าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของสหรัสอเมริกา เกรงว่าจะไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยความยาวของกุญแจลับที่ 128 บิตได้ ซึ่งการลดความยาวของกุญแจลับก็โดนกระแสต่อต้านจากกลุ่มธุรกิจองค์กรต่างๆมาก มาย เพราะพวกกลุ่มธุรกิจองค์กรต่างๆเหล่านี้ต้องการให้ข้อมูลมีความลับมากๆ เพราะยิ่งกุญแจลับมีความยาวมากเท่าไหร่ ข้อมูลที่เข้ารหัสก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการถอดรหัสออกนานมากขึ้น ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้นอีก แต่รัฐบาลสหรัฐก็ออกมาโต้ว่า ด้วยความยาวกุญแจลับขนาด 56 บิตนี้ ก็ทำให้ต้องใช้เวลาในการถอดรหัสนานมากทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถที่จะถอดรหัสที่ใช้กุญแจขนาด 56 บิตได้ในเวลาแค่ 56 ชั่วโมง และมีแนวโน้มว่าจะสามารถถอดรหัสโดยใช้เวลาลดลงกว่านี้ได้อีก แต่สำหรับข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยกุญแจขนาด 128 บิต ในปัจจุบันยังถือว่าปลอดภัยอยู่มาก เพราะว่ายังไม่สามารถถอดรหัสได้เร็วเกินที่จะรอคอยได้ เพราะกว่าจะถอดรหัสได้ ข้อมูลเหล่านั้นก็อาจจะไม่มีประโยชน์ต่อการนำกลับไปใช้งานได้อีกแล้ว ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ได้มีมาตรฐานที่เรียกว่า 3DES เกิดขึ้นมาแล้ว โดยมาตรฐานนี้จะใช้กุญแจลับที่มีขนาดความยาว 168 บิต แต่สำหรับธุรกิจองค์กรใดที่จะใช้มาตรฐานนี้จะต้องทำเรื่องขออนุญาติจาก รัฐบาลสหรัสอเมริกาก่อน ถ้าได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอเมริการจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้


ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร (Asymmetric-key cryptography or Public Key Technology)


ระบบ การเข้ารหัสแบบนี้ได้ถูกคิดค้นโดย นายวิทฟิลด์ ดิฟฟี (Whitfield Diffie) ซึ่งเป็นนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัสอเมริกา ในปี พ.ศ. 2518 โดยการเข้ารหัสแบบนี้จะใช้หลักกุญแจคู่ทำการเข้ารหัสและถอดรหัส โดยกุญแจคู่ที่ว่านี้จะประกอบไปด้วย กุญแจส่วนตัว (private key) และกุญแจสาธารณะ (public key) โดยหลักการทำงานจะทำดังนี้ ถ้าใช้กุญแจลูกใดเข้ารหัส ก็ต้องใช้กุญแจอีกลูกหนึ่งถอดรหัส สำหรับการเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยกุญแจคู่นี้จะใช้ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ เข้ามาช่วยโดยที่ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะมีเฉพาะกุญแจคู่ของมันเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัส ได้ ไม่สามารถนำกุญแจคู่อื่นมาถอดรหัสได้อย่างเด็ดขาด


การเข้ารหัสแบบนี้จะมี Mr. A คนเดียวที่อ่านได้ จะมีขั้นตอนดังนี้
1. Mr. A ต้องมีกุญแจคู่1คู่ขึ้นมาก่อน คือ กุญแจส่วนตัวกับกุญแจสาธารณะ โดยที่กุญแจสาธารณะของ Mr. A นี้ ใครๆก็สามารถที่จัดหามาได้รวมถึง Mr. B ด้วย หรือ Mr. A ส่งกุญแจนี้ไปให้ Mr. B ก่อน
2. หลังจาก Mr. B มีกุญแจสาธารณะของ Mr. A Mr. B จะใช้กุญแจสาธารณะของ Mr. A เข้ารหัสข้อความที่ต้องการจะส่ง
3. Mr. B ส่งข้อความเข้ารหัสไปให้ Mr. A
4. Mr. A ได้รับข้อความเข้ารหัสจาก Mr. B Mr. A จะต้องใช้กุญแจส่วนตัว นำมาใช้ในการถอดข้อความเข้ารหัสของ Mr. B หลังจากนั้น Mr. A จึงสามารถอ่านข้อความเข้ารหัสจาก Mr. B ได้ หรือในทางกลับกันถ้า Mr. B ต้องการส่งข้อความลับให้กับ Mr. A Mr. B ก็แค่ใช้กุญแจสาธารณะของ Mr. A ทำการเข้ารหัสข้อมูลแล้วส่งไปให้ดำ พอ Mr. A ได้ข้อความเข้ารหัสจาก Mr. B Mr. A ก็จะใช้กุญแจส่วนตัวของตัวเองถอดรหัสข้อความลับจาก Mr. B เพราะฉะนั้นจะมีแต่ Mr. A เท่านั้นที่สามารถอ่านข้อความลับที่ถูกส่งมาจาก Mr. B ได้

แต่จะทำอย่างไรให้แนวคิดของ นายวิทฟิลด์ ดิฟฟี นำมาประยุกต์ใช้งานได้จริงในโลกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงมีอัศวินสามนายขี่ม้าขาวมาช่วยนายวิทฟิลด์ ดิฟฟี โดยอัศวินทั้งสามทำการค้นคว้าและวิจัยอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาซู เซตต์ (MIT : Massachusetts Institute of Technology) นักวิจัยทั้งสามก็คือ นายรอน วิเวสท์ (Ron Rivest) นายเอดิ ชาร์เมียร์ (Adi Shamir) และนายเลียวนาร์ด เอเดิลแมน (Leonard Adleman) ในปี พ.ศ.2520 และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 ดังนั้นเราจึงเรียกฟังก์ชั่นที่ทั้งสามค้นพบนี้ตามอักษรแรกของชื่อนักวิจัย ทั้งสามนี้ว่า ฟังก์ชั่นอาร์เอสเอ (RSA ย่อมาจาก Rivest, Shamir และ Adleman) แต่โดยทั่วไป มักจะนิยมเรียกว่าอัลกอริทึมอาร์เอสเอ (RSA Algorithm) สำหรับการทำงานของอัลกอริทึมนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก http://www.rsasecurity.com


ข้อดีของระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร
1. การจัดการกับกุญแจทำได้ง่าย เพราะว่า Mr. A ไม่ต้องจำเลยว่าได้ใช้กุญแจคู่ไหนกับใคร Mr. A แค่ใช้กุญแจส่วนตัวของตัวเองทำการถอดรหัสข้อมูลที่ Mr. B ส่งมาให้ หรือเอากุญแจส่วนตัวเข้ารหัสส่งไปให้ Mr. B Mr. B ก็สามารถที่จะอ่านได้ ซึ่งวิธีนี้จะง่ายมากครับ เพราะ Mr. A ใช้แค่กุญแจส่วนตัวของตัวเองดอกเดียวก็สามารถติดต่อกับ Mr. B หรือใครๆก็ได้ตามต้องการ
2. การกระจายกุญแจลับ เนื่องจากการเข้ารหัสโดยวิธีนี้ ใช้แค่กุญแจสาธารณะเพียงดอกเดียวในการเข้ารหัสและถอดรหัส และกุญแจสาธารณะของ Mr. A ก็สามารถที่จะเปิดเผยให้กับใครก็ได้ที่ต้องการจะติดต่อด้วย ไม่ว่าจะเป็น Mr. B นายขาว เหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นการแจกจ่ายกุญแจสาธารณะของ Mr. A ไปให้กับคนสักพันคน หรือหมื่นคน จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป


ข้อด้อยของระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร
1. การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลใช้เวลามาก เพราะว่าอัลกอริทึมที่ใช้ค่อนข้างจะสลับซับซ้อนมาก
2. ขนาดของข้อมูลหลังจากทำการเข้ารหัสแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงมาก หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า ข้อมูลหลังจากทำการเข้ารหัสแล้ว จะมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะเป็นปัญหาในการใช้งาน
อิอิ พอเข้าใจ พอเข้าใจ

ยาวเหยียดมาก อ่านจบกันรึป่าวเนี่ย เหอๆๆ




แก้ไขล่าสุดโดย patile เมื่อ Tue Nov 27, 2012 9:57 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
คิรัวร์
คิรัวร์
นักล่าปริศนา
นักล่าปริศนา
จำนวนข้อความ : 807
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 59
วันเกิด : 14/01/1992
งานอดิเรก งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ เล่นคอม เล่นกีฬา

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Thu Feb 17, 2011 5:10 pm
ขอบคุณค่ะ

ยังอ่านไม่หมดเรยเยอะมากก

เดี๋ยวมาอ่านต่อนะค่ะ^^

การสร้างรหัส (Cryptography) Bth_441
lagafia
lagafia
นักวางแผนพิชิตเกม
นักวางแผนพิชิตเกม
จำนวนข้อความ : 3388
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 88
งานอดิเรก งานอดิเรก : คิดเรื่อยเปื่อย

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Thu Feb 17, 2011 11:21 pm
ขอบคุณมากค่ะ ตาลาเลยย *-*
Iris L
Iris L
พรแห่งวันคริสตมาส
พรแห่งวันคริสตมาส
จำนวนข้อความ : 354
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 17

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Mon Feb 21, 2011 8:06 pm
ข้อมูลเยอะๆจริงๆค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ^ ^
jenust
jenust
นักล่าปริศนา
นักล่าปริศนา
จำนวนข้อความ : 712
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 4
วันเกิด : 27/05/1997
งานอดิเรก งานอดิเรก : อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูการ์ตูน

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Thu Mar 17, 2011 8:22 pm
นัทว่าแบบสมมาตรอ่ะ ง่ายกว่าเยอะ T^T
knightz
knightz
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
จำนวนข้อความ : 468
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 31

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Fri Mar 25, 2011 11:50 am
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ มึนมากเลยเรื่องรหัสเนี่ยT^T
avatar
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Sun Oct 07, 2012 11:14 pm
จะสมมาตรหรืออสมมาตรก็ไขยากอยู่ดี 5555
ขอบคุณนะคะ
EDS
EDS
ผู้บุกเบิกสร้างแคมป์
จำนวนข้อความ : 10481
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 364
วันเกิด : 28/12/1976
งานอดิเรก งานอดิเรก : รดน้ำต้นไม้

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Sat Nov 03, 2012 3:37 pm
อุอิ ทดสอบ
Na///SodiUm
Na///SodiUm
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
จำนวนข้อความ : 450
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 81
วันเกิด : 09/03/1995
งานอดิเรก งานอดิเรก : อ่านหนังสือ(นิยาย,การ์ตูน) , ฟังเพลง , ดูหนัง

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Sun Nov 25, 2012 9:31 pm
ท่าแยกพสุธา
This dice is not existing.
การสร้างรหัส (Cryptography) Tumblr_mdxraiYcoQ1r872g1o1_400
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Sun Nov 25, 2012 10:13 pm
เขวี้ยงติดฝา
การสร้างรหัส (Cryptography) Tumblr_mdr9ymjcNB1qcwhdyo1_500

This dice is not existing.
คิรัวร์
คิรัวร์
นักล่าปริศนา
นักล่าปริศนา
จำนวนข้อความ : 807
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 59
วันเกิด : 14/01/1992
งานอดิเรก งานอดิเรก : เล่นดนตรี อ่านหนังสือ เล่นคอม เล่นกีฬา

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Mon Nov 26, 2012 6:43 pm
ฝูงแวมไพร์(สุดหล่อ การสร้างรหัส (Cryptography) 1563644409 ) เตรียมจัดการเจ้าปีศาจจ
การสร้างรหัส (Cryptography) Tumblr_mcrm1dOhZj1rxlhrp
This dice is not existing.
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

การสร้างรหัส (Cryptography) Empty Re: การสร้างรหัส (Cryptography)

Fri Feb 08, 2013 1:24 pm
การสร้างรหัส (Cryptography) Bth_441

perappu
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ