- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชันสูตรพลิกศพ
Tue Oct 28, 2014 8:28 pm
อ้างอิงจาก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ มาตราที่ 148-156
สรุปคือ
เมื่อพบการตายเกิดขึ้น ให้สามี ภรรยา ญาติ ผู้ปกครองของผู้ตาย หรือผู้พบศพ ทำการเก็บรักษาสภาพศพไว้ ณ ที่พบศพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วแต้งความต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด
ศพที่จะต้องได้รับการชันสูตร คือศพที่ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ยกเว้น ประหาร ระบุสาเหตุการตายไม่ได้ หรือ ตายผิดธรรมชาติ 5 ประการ คือ ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย ถูกสัตว์ทำให้ตาย อุบัติเหตุ ตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ
การตายในโรงพยาบาลไม่ต้องชันสูตร เพราะถือว่ารู้สาเหตการตายแล้ว แต่ถ้าเข้าเกณฑ์ข้างต้น ก็ต้องชันสูตร
ผู้มีหน้าที่ชันสูตร
1.กรณีตายผิดธรรมชาติ 5 ประการ
ชันสูตรโดย แพทย์ตามลำดับขั้น และตำรวจในท้องที่
2.กรณีตายโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่อ้างว่าทำโดยปฏิบัติงานตามหน้าที่ (วิสามัญฆาตกรรม)
ชันสูตรโดย พนักงานสอบสวน แพทย์ตามลำดับขั้น อัยการ พนักงานฝ่ายปกครองระดับปลัดอำเภอขึ้นไป
3.กรณีตายระหว่างการควบคุมตัว ใช้บุคคลเดียวกับกรณีวิสามัญฆาตกรรม
ลำดับของแพทย์ที่มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ต้องไล่ลงไปตามลำดับ หากลำดับก่อนหน้าไม่สามารถมาปฏิบัติได้จึงให้ลำดับต่อไป
1. แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์
2. แพทย์รพ.รัฐ
3. แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุข
4. แพทย์รพ.เอกชน หรือ แพทย์ผู้ขึ้นทะเบียนประกอบบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัคร
ก่อนการชันสูตรพลิกศพต้องแจ้ง สามี ภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาตของผู้ตายทราบอย่างน้อย 1 คน
การชันสูตรนั้น ทำเพื่อให้ทราบถึง สาเหตุการตาย ระบุตัวผู้ตาย สถานที่ที่ตาย เวลาที่ตาย และคนร้าย หากเป็นการฆาตกรรม
สรุปคือ
เมื่อพบการตายเกิดขึ้น ให้สามี ภรรยา ญาติ ผู้ปกครองของผู้ตาย หรือผู้พบศพ ทำการเก็บรักษาสภาพศพไว้ ณ ที่พบศพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วแต้งความต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด
ศพที่จะต้องได้รับการชันสูตร คือศพที่ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ยกเว้น ประหาร ระบุสาเหตุการตายไม่ได้ หรือ ตายผิดธรรมชาติ 5 ประการ คือ ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย ถูกสัตว์ทำให้ตาย อุบัติเหตุ ตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ
การตายในโรงพยาบาลไม่ต้องชันสูตร เพราะถือว่ารู้สาเหตการตายแล้ว แต่ถ้าเข้าเกณฑ์ข้างต้น ก็ต้องชันสูตร
ผู้มีหน้าที่ชันสูตร
1.กรณีตายผิดธรรมชาติ 5 ประการ
ชันสูตรโดย แพทย์ตามลำดับขั้น และตำรวจในท้องที่
2.กรณีตายโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่อ้างว่าทำโดยปฏิบัติงานตามหน้าที่ (วิสามัญฆาตกรรม)
ชันสูตรโดย พนักงานสอบสวน แพทย์ตามลำดับขั้น อัยการ พนักงานฝ่ายปกครองระดับปลัดอำเภอขึ้นไป
3.กรณีตายระหว่างการควบคุมตัว ใช้บุคคลเดียวกับกรณีวิสามัญฆาตกรรม
ลำดับของแพทย์ที่มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ต้องไล่ลงไปตามลำดับ หากลำดับก่อนหน้าไม่สามารถมาปฏิบัติได้จึงให้ลำดับต่อไป
1. แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์
2. แพทย์รพ.รัฐ
3. แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุข
4. แพทย์รพ.เอกชน หรือ แพทย์ผู้ขึ้นทะเบียนประกอบบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัคร
ก่อนการชันสูตรพลิกศพต้องแจ้ง สามี ภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาตของผู้ตายทราบอย่างน้อย 1 คน
การชันสูตรนั้น ทำเพื่อให้ทราบถึง สาเหตุการตาย ระบุตัวผู้ตาย สถานที่ที่ตาย เวลาที่ตาย และคนร้าย หากเป็นการฆาตกรรม
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ