- ivanalkaevนักพเนจรร่อนเร่
- จำนวนข้อความ : 13
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 0
วันเกิด : 24/08/1997
งานอดิเรก : อ่านหนังสือทุกประเภท
ไพโบลาร์ : โรคสองบุคลิกที่น่ากลัว
Thu Apr 03, 2014 4:11 pm
โรคไบโพล่าร์เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ โรคนี้มีหลายชื่อเช่น โรคอารมณ์แปรปรวน , manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depressive episode หรือ depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (manic episode หรือ mania)
โรคไพโบลาร์เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย และภาวะซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่างๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป
=> ภาวะไพโบลาร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลและมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริม
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาการต่างๆอาจดีขึ้นเองในบางคนแต่ต้องใช้เวลานาน และกว่าอาการจะดีขึ้นก็ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง บางคนก่อหนี้สิน บางคนใช้สารเสพติด ต้องออกจากงานหรือโรงเรียน บางคนทำผิดกฎหมาย ที่รุนแรงที่สุด คือฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น และถ้าเป็นหลายๆครั้ง อาการครั้งหลังจะเป็นนานและถี่ขึ้น
=> อาการของโรค
1. ภาวะซึมเศร้า
-ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า
-เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา
-อารมณ์เศร้าหรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน
-ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรงในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา
-หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ
-มองโลกในแง่ร้ายไปหมด
-ขาดสมาธิ ความจำลดลง
-หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้
-ไม่อยากสังสรรค์หรือออกสังคม
-มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ
-มองตนเองว่าไร้ค่าหรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม
-มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ
2. ภาวะแมเนีย
-มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
-มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
-มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
-ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่นมากขึ้น เอาแต่ใจ
-มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
-ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
-ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็วและมีเนื้อหามาก เสียงดัง
-ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
-ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว
-มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
=> การรักษา
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการใน2-8สัปดาห์และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนก่อนป่วย แต่ในบางรายอาจต้องให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อขจัดความเครียดและลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลจึงต้องใช้ยาที่จะปรับสารสื่อประสาท ปัจจุบันมียาควบคุมอารมณ์หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ไม่ทำให้ติดยาเมื่อใช้ในระยะยาว แต่มักต้องใช้เวลา2-4สัปดาห์จึงจะเห็นผล
นอกจากยาควบคุมอารมณ์ แพทย์อาจใช้ยากลุ่มอื่นร่วมด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ยาทางจิตเวชก็เหมือนกับยาอื่นที่ทุกตัวจะมีผลข้างเคียงแต่อาการและความรุนแรงจะต่างกัน ผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายมาก ผู้ป่วยควรได้พูดคุยกับแพทย์เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมและปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการข้างเคียง สำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรคุยกับแพทย์ถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย
โรคนี้มีอัตราการเป็นซ้ำสูงมากถึง90% ฉะนั้นโดยทั่วไปหลังจากหายแล้ว แพทย์มักแนะนำให้กินยาต่ออย่างน้อย1ปีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งที่เคยเป็นและความรุนแรงในครั้งก่อนๆ ยาไม่ได้ทำให้สมองเสื่อมลงแต่การป่วยซ้ำหลายๆครั้งทำให้สมองแย่ลงได้
- ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)
ยากลุ่มนี้เป็นยาหลักที่ใช้ทั้งรักษาทั้งในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าและยังใช้ป้องกันการกลับเป็นใหม่ได้ด้วย ในประเทศไทยปัจจุบันมียากลุ่มนี้ใช้แพร่หลายอยู่3ชนิดคือ ลิเที่ยม (lithium carbonate), วาลโปรเอท (valproate), และคาร์บามาซีปีน (carbamazepine) ซึ่งยาทั้ง3ชนิดนึ้ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่มีข้อควรระวังและข้อดีข้อเสียปลีกย่อยต่างกัน นอกจากนี้ยังมียาชนิดใหม่ที่เริ่มมีการใช้กัน คือ โทพิราเมท (topiramate) ซึ่งยังค่อนข้างใหม่และประสบการณ์การใช้ยาในประเทศไทยยังน้อยอยู่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์นี้จะออกฤทธิ์ช้า เมื่อปรับยาครั้งหนึ่งต้องรออย่างน้อย2-3สัปดาห์ยาจึงเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มนี้มักต้องถูกเจาะเลือดดูระดับยาในร่างกายเพื่อช่วยในการปรับยาด้วย และยาในกลุ่มนี้มักเป็นยาต้องห้ามในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะใน3เดือนแรก
- ยาแก้โรคจิต (antipsychotics)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้านั้นการรอให้ยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์นั้นมักจะไม่ทันการเพราะผู้ป่วยมักจะวุ่นวายและมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหามากแพทย์จึงมักให้การรักษาด้วยยาแก้โรคจิตถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่ถึงกับมีอาการของโรคจิตก็ตาม ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ไวและช่วยให้ผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีให้เลือกใช้หลายชนิดแต่แพทย์มักเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากๆเช่น คลอโปรมาซีน (chlorpromazine), ไธโอริดาซีน (thioridazine), เพอร์เฟนาซีน (perphenazine) เมื่อยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์เต็มที่และอาการของผู้ป่วยดีชึ้นแพทย์ก็จะค่อยๆลดและหยุดยาในกลุ่มนี้ไป
- ยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการซึมเศร้านั้นแพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์โดยไม่ต้องให้ยาแก้โรคซึมเศร้าก็ได้แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกที่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าด้วยเพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้นแล้วค่อยลดและหยุดยาแก้โรคซึมเศร้าเมื่อผู้ป่วยสบายดีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย “ดีเกิน” กลายเป็นอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าไป ยาแก้โรคซึมเศร้ามีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ผลข้างเคียงต่างกันเช่นบางชนิดทำให้ง่วงบางชนิดไม่ทำให้ง่วง ยาแก้ซึมเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าเช่นเดียวกับยาควบคุมอารมณ์
=> ปัจจัยที่ทำให้กลับมาเป็นอีก
1.เครียดมาก
2.อดนอน
3.ขาดยา
ปัจจัยข้อที่1เป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบ แต่เราก็คงจะสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้บ้างให้เครียดเฉพาะที่จำเป็นต้องเครียด ส่วนปัจจัยอีก2ข้อนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้ ให้ให้ความสำคัญกับการนอน จัดเวลาให้นอนให้พอเสมอ นอกจากนั้นกินยาให้ครบถึงแม้ว่าจะน่าเบื่อเพียงใดก็ตาม แพทย์ทุกท่านเห็นใจผู้ป่วยที่ต้องกินยานานๆแต่บางครั้งมันก็จำเป็น เพราะเมื่ออาการกำเริบแต่ละครั้งมักเกิดความเสียหายแก่ทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติๆและยาสามารถช่วยป้องกันการกำเริบได้จริงๆ
=> การปฏิบัติตัว
1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ออกกำลังกาย มีกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด หลีกเลี่ยงสุรา สารเสพติด
3. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีปัญหาผลข้างเคียงจากยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรหยุดยาเอง
4. หมั่นสังเกตอารมณ์ของตน เรียนรู้อาการแรกเริ่มของโรค และรีบไปพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก
5. บอกคนใกล้ชิดถึงอาการเริ่มแรกของโรค ให้ช่วยสังเกตและพาพบแพทย์
=> การช่วยเหลือผู้ป่วย
1. เข้าใจว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติเป็นการเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยของผู้ป่วย
2. ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
3. สังเกตอารมณ์ของผู้ป่วย เรียนรู้อาการเริ่มแรกของโรค และรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการมาก
4. ช่วยควบคุมการใช้จ่ายและพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอีก
5. เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการ ให้กำลังใจในการกลับไปเรียนหรือทำงาน และไม่หยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์
ที่มาข้อมูล
>> http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9550000069173 (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย ผศ.พญ.สุทธิพร เจณณวาสิน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล)
>> http://infomental.com/bipolar.htm : ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์
>> http://www.manarom.com/article-detail.php?id=94 : โรงพยาบาลมนารมณ์
โรคไพโบลาร์เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย และภาวะซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่างๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป
=> ภาวะไพโบลาร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลและมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริม
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาการต่างๆอาจดีขึ้นเองในบางคนแต่ต้องใช้เวลานาน และกว่าอาการจะดีขึ้นก็ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง บางคนก่อหนี้สิน บางคนใช้สารเสพติด ต้องออกจากงานหรือโรงเรียน บางคนทำผิดกฎหมาย ที่รุนแรงที่สุด คือฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น และถ้าเป็นหลายๆครั้ง อาการครั้งหลังจะเป็นนานและถี่ขึ้น
=> อาการของโรค
1. ภาวะซึมเศร้า
-ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า
-เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา
-อารมณ์เศร้าหรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน
-ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรงในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา
-หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ
-มองโลกในแง่ร้ายไปหมด
-ขาดสมาธิ ความจำลดลง
-หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้
-ไม่อยากสังสรรค์หรือออกสังคม
-มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ
-มองตนเองว่าไร้ค่าหรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม
-มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ
2. ภาวะแมเนีย
-มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
-มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
-มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
-ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่นมากขึ้น เอาแต่ใจ
-มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
-ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
-ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็วและมีเนื้อหามาก เสียงดัง
-ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
-ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว
-มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
=> การรักษา
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการใน2-8สัปดาห์และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนก่อนป่วย แต่ในบางรายอาจต้องให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อขจัดความเครียดและลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลจึงต้องใช้ยาที่จะปรับสารสื่อประสาท ปัจจุบันมียาควบคุมอารมณ์หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ไม่ทำให้ติดยาเมื่อใช้ในระยะยาว แต่มักต้องใช้เวลา2-4สัปดาห์จึงจะเห็นผล
นอกจากยาควบคุมอารมณ์ แพทย์อาจใช้ยากลุ่มอื่นร่วมด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ยาทางจิตเวชก็เหมือนกับยาอื่นที่ทุกตัวจะมีผลข้างเคียงแต่อาการและความรุนแรงจะต่างกัน ผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายมาก ผู้ป่วยควรได้พูดคุยกับแพทย์เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมและปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการข้างเคียง สำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรคุยกับแพทย์ถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย
โรคนี้มีอัตราการเป็นซ้ำสูงมากถึง90% ฉะนั้นโดยทั่วไปหลังจากหายแล้ว แพทย์มักแนะนำให้กินยาต่ออย่างน้อย1ปีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งที่เคยเป็นและความรุนแรงในครั้งก่อนๆ ยาไม่ได้ทำให้สมองเสื่อมลงแต่การป่วยซ้ำหลายๆครั้งทำให้สมองแย่ลงได้
- ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)
ยากลุ่มนี้เป็นยาหลักที่ใช้ทั้งรักษาทั้งในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าและยังใช้ป้องกันการกลับเป็นใหม่ได้ด้วย ในประเทศไทยปัจจุบันมียากลุ่มนี้ใช้แพร่หลายอยู่3ชนิดคือ ลิเที่ยม (lithium carbonate), วาลโปรเอท (valproate), และคาร์บามาซีปีน (carbamazepine) ซึ่งยาทั้ง3ชนิดนึ้ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่มีข้อควรระวังและข้อดีข้อเสียปลีกย่อยต่างกัน นอกจากนี้ยังมียาชนิดใหม่ที่เริ่มมีการใช้กัน คือ โทพิราเมท (topiramate) ซึ่งยังค่อนข้างใหม่และประสบการณ์การใช้ยาในประเทศไทยยังน้อยอยู่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์นี้จะออกฤทธิ์ช้า เมื่อปรับยาครั้งหนึ่งต้องรออย่างน้อย2-3สัปดาห์ยาจึงเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มนี้มักต้องถูกเจาะเลือดดูระดับยาในร่างกายเพื่อช่วยในการปรับยาด้วย และยาในกลุ่มนี้มักเป็นยาต้องห้ามในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะใน3เดือนแรก
- ยาแก้โรคจิต (antipsychotics)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้านั้นการรอให้ยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์นั้นมักจะไม่ทันการเพราะผู้ป่วยมักจะวุ่นวายและมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหามากแพทย์จึงมักให้การรักษาด้วยยาแก้โรคจิตถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่ถึงกับมีอาการของโรคจิตก็ตาม ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ไวและช่วยให้ผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีให้เลือกใช้หลายชนิดแต่แพทย์มักเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากๆเช่น คลอโปรมาซีน (chlorpromazine), ไธโอริดาซีน (thioridazine), เพอร์เฟนาซีน (perphenazine) เมื่อยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์เต็มที่และอาการของผู้ป่วยดีชึ้นแพทย์ก็จะค่อยๆลดและหยุดยาในกลุ่มนี้ไป
- ยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการซึมเศร้านั้นแพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์โดยไม่ต้องให้ยาแก้โรคซึมเศร้าก็ได้แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกที่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าด้วยเพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้นแล้วค่อยลดและหยุดยาแก้โรคซึมเศร้าเมื่อผู้ป่วยสบายดีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย “ดีเกิน” กลายเป็นอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าไป ยาแก้โรคซึมเศร้ามีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ผลข้างเคียงต่างกันเช่นบางชนิดทำให้ง่วงบางชนิดไม่ทำให้ง่วง ยาแก้ซึมเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าเช่นเดียวกับยาควบคุมอารมณ์
=> ปัจจัยที่ทำให้กลับมาเป็นอีก
1.เครียดมาก
2.อดนอน
3.ขาดยา
ปัจจัยข้อที่1เป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบ แต่เราก็คงจะสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้บ้างให้เครียดเฉพาะที่จำเป็นต้องเครียด ส่วนปัจจัยอีก2ข้อนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้ ให้ให้ความสำคัญกับการนอน จัดเวลาให้นอนให้พอเสมอ นอกจากนั้นกินยาให้ครบถึงแม้ว่าจะน่าเบื่อเพียงใดก็ตาม แพทย์ทุกท่านเห็นใจผู้ป่วยที่ต้องกินยานานๆแต่บางครั้งมันก็จำเป็น เพราะเมื่ออาการกำเริบแต่ละครั้งมักเกิดความเสียหายแก่ทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติๆและยาสามารถช่วยป้องกันการกำเริบได้จริงๆ
=> การปฏิบัติตัว
1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ออกกำลังกาย มีกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด หลีกเลี่ยงสุรา สารเสพติด
3. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีปัญหาผลข้างเคียงจากยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรหยุดยาเอง
4. หมั่นสังเกตอารมณ์ของตน เรียนรู้อาการแรกเริ่มของโรค และรีบไปพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก
5. บอกคนใกล้ชิดถึงอาการเริ่มแรกของโรค ให้ช่วยสังเกตและพาพบแพทย์
=> การช่วยเหลือผู้ป่วย
1. เข้าใจว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติเป็นการเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยของผู้ป่วย
2. ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
3. สังเกตอารมณ์ของผู้ป่วย เรียนรู้อาการเริ่มแรกของโรค และรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการมาก
4. ช่วยควบคุมการใช้จ่ายและพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอีก
5. เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการ ให้กำลังใจในการกลับไปเรียนหรือทำงาน และไม่หยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์
ที่มาข้อมูล
>> http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9550000069173 (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย ผศ.พญ.สุทธิพร เจณณวาสิน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล)
>> http://infomental.com/bipolar.htm : ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์
>> http://www.manarom.com/article-detail.php?id=94 : โรงพยาบาลมนารมณ์
- ผู้มาเยือนผู้มาเยือน
Re: ไพโบลาร์ : โรคสองบุคลิกที่น่ากลัว
Fri Apr 04, 2014 11:53 pm
เราเปนกันบ้าง บางครั้ง ดูเผินๆก้อเหมือนเปนเรื่องปกติ แต่ถ้าดูลึกจะไม่ปกติ ตามนั้นครับ
- khaw dissaroผู้ชนะเกมสิบทิศ
- จำนวนข้อความ : 958
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 151
วันเกิด : 19/05/2002
งานอดิเรก : อ่านการ์ตูนและนวนิยายสืบสวนสอบสวน เล่นคอมพิวเตอร์
Re: ไพโบลาร์ : โรคสองบุคลิกที่น่ากลัว
Sun Apr 20, 2014 2:11 pm
โรคนี้มีความน่ากลัวอยู่เหมือนกันแฮะ
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ