EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^

Join the forum, it's quick and easy

EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^
EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

ข่าวกรอง?!! Empty ข่าวกรอง?!!

Sat Mar 08, 2014 3:00 pm
ในการสืบสวนสอบสวนก็ย่อมต้องมีบ้าง ที่จะต้องใช้ข้อมูลอื่นๆจากภายนอกมาประกอบกับการพิจารณา
ในสมัยก่อนก็คงจะเป็นการเข้าหอสมุดไปค้นหน้าสือหลายพันเล่มเพื่อหาข้อมูลมายืนยันสมมติฐานที่สร้างไว้
แต่ในสมัยปัจจุบัน การค้นคว้้าาข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพียงแค่ไม่กี่คลิกก็สามารถหาข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างฉับไว แต่ทว่า ข้อมูลเหล่านั้นใครเป็นคนเขียน? น่าเชื่อถือแค่ไหน? เป็นเรื่องจริงเท็จอย่างไร? แล้วเราจะรู้ได้ยังไง?
การกลั่นกรองข้อมูลและข่าวสารให้ถี่ถ้วนจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการสืบสวนสอบสวน ซึ่ง วิธีการกลั่นกรองข้อมูลในเบื้องต้นมีดังนี้

1. ถ้าข่าวหรือข้อมูลที่ดังมากๆเป็นเรื่องจริง มักจะค้นเจอได้ใน Google แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่ค้นเจอจะเป็นความจริง
อย่างที่รู้กันว่า กูเกิลเป็น search engine ที่ดีที่สุดในตอนนี้ ถ้ามีข้อมูลหรือข่าวสารอะไรกูเกิลก็มักจะค้นเจอเกือบทั้งหมด ยกเว้นว่าจะเป็นหน้าที่ปิดกั้นการเข้าถึงจากสาธารณะ หรือไปผิดอนุสัญญาห่าเหวอะไรระหว่างชาติ(เช่น DMCA)เท่านั้น  ดังนั้น ถ้าเป็นข่าวที่ดังๆจะต้องค้นเจอแน่นอน
แต่ก็อย่าลืมว่ากูเกิลเป็นแค่ search engine เท่านั้น สามารถช่วยในการค้นหาข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยกลั่นกรองข้อมูลแล้วประมวลผลสรุปมาให้เราได้ว่า ข่าวไหน ข้อมูลไหน จริงหรือไม่จริงอย่างไร แถมการเรียงผลการค้นหายังเรียงจากความนิยมของบทความอีก ทำให้ในบางครั้งข้อมูลที่น่าเชื่อถือถูกดันไปอยู่หน้าท้ายๆที่ไม่มีใครคิดจะเข้าไปหาเลยก็มี  อีกทั้งการใส่คีย์เวิร์ดก็เป็นสิ่งสำคัญ การจะค้นหาเรื่องเดียวกันแต่ใส่คีย์เวิร์ดต่างกันนั้นก็อาจทำให้ได้รับข้อมูลที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงได้

2. Wikipedia ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
วิกิพีเดีย หรือสารานุกรมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลกในตอนนี้ ที่เด็กนักเรียนนักศึกษาและชาวโลกไซเบอร์ทั้งหลายมักจะเอามาเป็นที่มาในการอ้างอิงต่างๆนานานั้น ความจริงแล้วไม่ได้เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเลย
จริงอยู่ที่วิกิพีเดียเป็นแหล่งรวมบทความทางวิชาการจากทั่วทุกมุมโลก มีข้อมูลตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ แต่หารู้ไม่ว่า ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่ใครจะเขียนขึ้นมาก็ได้
ถ้าเป็นเรื่องที่รู้กันโดยทั่วไปกว้างขวาง หรือเรื่องที่พิสูจน์ได้ง่าย เช่นวิทยาศาสตร์ ก็คงจะมีความน่าเชื่อถืออยู่"บ้าง"  แต่ถ้าเป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ การเมือง ข้อพิพาทต่างๆ ฯลฯ ล่ะ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นเรื่องจริง?  ที่สำคัญ วิกิพีเดียยังมีข้อมูลหลากหลายภาษาแต่ข้อมูลของแต่ละภาษานั้น บางทีก็ไม่ตรงกันเลยก็มี!! อย่างที่เขาว่ากันว่า ผู้ชนะจะเป็นผู้จารึกประวัติศาสตร์ ส่วนผู้แพ้ที่ยังหลืออยู่ ก็จะสร้างเรื่องราวใส่ร้ายผู้ชนะ และปลูกฝังความเกลียดชังสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
เรื่องนั้นยังเป็นเรื่องยิบย่อยที่บางคนอาจรู้กันอยู่แล้ว แต่จะรู้ไหมว่า ในโลกอินตอร์เน็ตที่เราอยู่กันนี้ มีคนไม่น้อยที่ชอบล่นสนุกกับความเชื่ออะไรง่ายๆของคนอื่น(ผมด้วยในบางที) แค่ปั้นเรื่องขึ้นมา เขียนให้ดูมีมูล เอาไปลงวิกิพีเดีย ใส่เครดิตที่ไม่มีจริงเยอะๆ แค่นี้คนก็เชื่อแล้ว ใครมันจะไปสนใจดูกันว่าที่มาของเรื่องนี้มาจากไหน วิกิพีเดียซะอย่าง ใครจะไปสงสัยลง
หลังจากคนเชื่อกันเต็มบ้านเต็มเมืองบทความได้รับการแชร์ไปเกือบทั่วโลก ได้รับการโหวตเป็นบทความแห่งปีของวิกิพีเดียหลายปีติดต่อกันเพราะเป็นเหมือนข้อมูลลับที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ไม่เคยมีใครรู้ ใครอยากรู้ก็เข้ามาอ่านมาศึกษาในวิกิพีเดีย  จนกระทั่งวันหนึ่ง ก็ได้มีคนช่างสงสัยตั้งข้อสงสัยกับบทความนี้ และไปค้นคว้าหาข้อมูล ในตอนแรกคนอื่นก็มองเขาว่าบ้า ใครจะไปสงสัยวิกิพีเดียกัน จนกระทั่งเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่า บทความนั้น ยดเมฆทั้งเพ ไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย นักวิชาการที่เคยให้บทความนั้นไปอ้างอิงก็เงิบแดกสิครับ ต่อมาก็ได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ของวิกิพีเดีย ผู้คนได้ตระหนักว่า วิกิพีเดียนั้น ไม่ได้มีความน่าเชื่อถือแบบสัมบูรณ์อีกต่อไป ทุกคนเริ่มกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับจากวิกิพีเดีย และช่วยกันตรวจสอบข้อมูลเท็จต่างๆ และผลที่ได้คือ มันมีปริมาณมากมายอย่างน่าอัศจรรย์ (ข้อมูลประกอบ รายชื่อบทความที่ได้ถูกจับได้ว่ามีข้อมูลปลอม : http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:List_of_hoaxes_on_Wikipedia)
จนในปัจจุบันนี้ ก็ไม่อาจมีใครแน่ใจได้ว่า ข้อมูลเท็จที่ได้ถูกแทรกลงไปในบทความต่างๆ หรือบทความที่เป็นเท็จทั้งบทความนั้นจะหมดไปจากวิกิพีเดียหรือยัง  ถึงมันจะหมดแล้ว ความชื่อและศรัทธาของผู้คนที่ได้ถูกทำลายแล้วก็ยังทิ้งรอบแผลไว้อยู่ ทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป


3. แหล่งข่าวจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูง แต่ไม่ได้น่าเชื่อถืือทั้งหมด
แน่นอนว่า แหล่งข้อมูลที่มาจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่หากข้อมูลเหล่านั้นเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ล่ะก็ ถึงจะเป็นคำประกาศอย่างเป็นทางการจากกรมกองอะไร วิเศษแค่ไหน ความน่าเชื่อถือก็จะหมดไปทันที (ใครๆก็เข้าข้างตัวเองทั้งนั้นแหละ)  และถึงแม้จะเป็นข้อมูลทางวิชาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์อะไร ก็ยังต้องได้รับการกลั่นกรองก่อน เพราะข้อมูลเหล่านั้น อาจล้าหลังได้ เราอยู่ในประเทศไทยนะครับอย่าลืม  เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการบางที่ไม่ได้รับการอัพเดตมาหลายปี บางที่อัพเดต แตะโปะแต่ข่าวใหม่ ข่าวเก่าที่ล้าหลังแล้วไม่มีการปรับปรุงก็จะทำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ล้าสมัยไปนั่นเอง

4. สำนักข่าวดังๆก็ผิดกันได้
ในสมัยนี้ที่การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันในวงการข่าวสารก็ยิ่งสูงขึ้น  คงไม่มีสำนักข่าวไหนอยากนำเสนอข่าวช้ากว่ากันหรอก ทำให้ในหลายๆครั้ง นักข่าวตีพิมพ์ข่าวที่ได้รับทันทีโดยไม่ผ่านการกลั่นกรองหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน โดยคิดว่า ออกข่าวไปก่อน ถ้าเป็นเรื่องจริงเราก็จะได้เป็นคนตีข่าวรายแรก ถ้าไม่จริงก็ค่อยแก้กันทีหลัง ทำให้ผู้อ่านเสี่ยงต่อการรับรู้ข้อมูลผิดๆได้

5. หมั่นตรวจสอบที่มาและหลักฐานประกอบข้อมูล
ข้อมูลที่ดีจะต้องระบุแหล่งที่มาให้ตรวจสอบได้เสมอ แต่ถ้าแค่ระบุแหล่งที่มาใครก็ทำได้ คนอ่านต้องหมั่นตรวจสอบแหล่งที่มาด้วย ว่าต้นทางมาจากเว็บไหน เป็นอย่างไร มีความเชื่อถือมากแค่ไหน มีรูปประกอบหรือไม่ มีคลิปประกอบหรือไม่ รูปหรือคลิปนั้นเป็นการตัดต่อหรือไม่ รูปหรือคลิปนั้นเกี่ยวข้องกับข่าวหรือไม่ รูปหรือคลิปนั้นมีที่มาที่แตกต่างจากตัวข่าวหรือไม่(อันนี้ไม่ได้ล้อเล่นนะครับ เคยมีคนเอารูปสัตว์ประหลาดจากหนังยอดมนุษย์มาประกอบข่าวเต่ายักษ์ทองคำนำโชคกันมาแล้ว) แชร์ต่อมาลำดับอย่างไร มีการบิดเบือนอะไรระหว่างการแชร์บ้าง ฯลฯ และที่สำคัญ ต้องขจัดโรคกลัวภาษาต่างประเทศครับ เพราะมีหลายข่าวเลยที่กุขึ้นมา แล้วแหล่งข่าวคลิดเข้าไปเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเยอะๆรัวๆ คนไทยก็ขี้เกียจอ่านสิครับ แล้วก็เชื่อกันง่ายๆเลย พยายามอย่าขี้เกียจอ่านครับ ถ้าอ่านไม่ออกก็ให้คนที่รู้จักช่วยแปลก็ได้เพื่อปรโยชน์ของทุกท่านเอง

เครดิต
lagafia
lagafia
นักวางแผนพิชิตเกม
นักวางแผนพิชิตเกม
จำนวนข้อความ : 3388
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 88
งานอดิเรก งานอดิเรก : คิดเรื่อยเปื่อย

ข่าวกรอง?!! Empty Re: ข่าวกรอง?!!

Wed Mar 12, 2014 7:15 pm
ยิมลับได้ถูกเคลียร์แล้วค่ะ Smile 
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ