EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^

Join the forum, it's quick and easy

EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^
EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
avatar
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน

ความสำคัญของตรรกศาสตร์ต่อการสืบสวน และการให้เหตุผล Empty ความสำคัญของตรรกศาสตร์ต่อการสืบสวน และการให้เหตุผล

Tue Oct 30, 2012 10:30 am
หลายอย่าง ฟังดูสมเหตุสมผล แต่ไม่สมเหตุสมผล?
แต่สิ่งที่ดูไม่สมเหตุสมผลที่สุด กลับเป็นสิ่งที่จริง?

ถ้า A อ่านหนังสือ A จึงจะสอบผ่าน
แต่ A สามารถสอบผ่านได้โดยไม่ต้องอ่านหนังสือ?

A เป็นคนรักของ B หรือ C
A อาจจะเป็นคนรักของทั้งสองคนเลยก็ได้?

ทั้งหมดนี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ ศาสตร์แห่งความจริง

แล้วพวกนี้เกี่ยวข้องกับนักสืบยังไง?
แน่นอนว่าเกี่ยวข้อง นักสืบไม่ใช่คนที่แค่ไขปริศนาหาตัวคนร้ายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองไปใน"ทุก"ความเเป็นไปได้ บางที สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด คิดแล้วสามารถโยงปริศนาทั้งหมดเข้าหากันได้ อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปจริง แต่สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่สุด มีมูลน้อยที่สุด อาจเปนสิ่งเดียวที่จริงก็ได้ เราจึงต้องใช้วิธีการในทางตรรกศาสตร์ มาช่วยในการวิเคราะห์หาความสมเหตุสมผลของสิ่งที่เรานำมาใช้อ้างอิง



ต่อมาจะมาว่าด้วยเรื่องของการให้เหตุผลนะครับ

การให้เหตุผลแบ่งออกเป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ แบบอุปนัยและแบบนิรนัย


การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ วิธีสรุปจากการสังเกตุ หรือจากการทดลอง กล่าวง่ายๆคือการสรุปหาเหตุ จากผล
เป็นการให้เหตุผลโดยใช้ข้อสังเกตุ ผลการทดลองย่อย หรือความจริงส่วนย่อยที่พบเห็น มาสรุปเป็นข้อตกลง หรือข้อคาดเดาทั่วไป รวมไปถึงคำพยากรณ์ด้วย การหาข้อสรุปหรือความจริงโดยวิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น "ไม่จำเป็นจะต้องถูกต้องทุกครั้ง" เนื่องจากเป็นการสรุปผลจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ โดยข้อสรุปที่ได้จะมีความถูกต้องมากเท่าใดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับสามอย่างต่อไปนี้

  1. จำนวนข้อมูล ที่มากเพียงพอต่อการสรุปความ
  2. ข้อมูลหลักฐาน ที่ได้นำมาให้เหตุผลนั้น เป็นตัวแทนที่ดีหรือไม่
  3. ความซับซ้อนของข้อสรุปที่ต้องการ


ตัวอย่าง

แกะตัวที่ 1 มีสีขาว
แกะตัวที่ 2 มีสีขาว
แกะตัวที่ 3 มีสีขาว
...
แกะตัวที่ 999 มีสีขาว
สรุปว่าแกะทุกตัวจะมีสีขาว

จะเห็นได้ว่าการให้เหตุผลแบบนี้ จะค่อนข้างตรงกับการให้เหตุผลในชีวิตประจำวัน และการทดลองทั้งทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยา ซึ่ง แกะทั้ง 999 ตัวนั้นมีสีขาวก็จริง แต่เราพบแกะทุกตัวจริงๆแล้วหรือยัง บางทีแกะบางตัวที่เราไม่ยังไม่ได้สำรวจ อาจจะเป็นสีเขียวก็ได้ ดังนั้น ข้อสรุปเช่นนี้ สมเหตุสมผลตามวิธีการอุปนัย แต่ไม่สมเหตุสมผล

วิธีนี้จะเหมาะกับการสรุปข้อมูลที่มีขอบเขตที่จำกัด เช่น

มีลูกบอลอยู่ในถุงห้าลูก
ลูกที่ 1 เป็นสีแดง
ลูกที่ 2 เป็นสีแดง
ลูกที่ 3 เป็นสีแดง
ลูกที่ 4 เป็นสีแดง
ลูกที่ 5 เป็นสีแดง
ดังนั้น ลูกบอลทุกลูกในถุงเป็นสีแดง

อย่างนี้จึงจะเป็นข้อสรุปที่สมเหตุสมผลอย่างแท้จริง


การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการนำความรู้พื้นฐานที่อาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฏ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป สรุปง่ายๆคือ เป็นการอ้างถึงเหตุผลที่มีอยู่ก่อนแล้ว และอนุมานว่าเหตุผลนั้นเป็นจริง และนำมาหาข้อสรุปของเหตุการณ์

เช่น

จาก แกะทุกตัวเป็นสีขาว (ความเชื่อที่ถูกดึงมาอ้าง ได้รับการอนุมานว่าจริง)
สิ่งนี้คือแกะ (จากการสังเกต พิสูจน์ ฯลฯ)
สิ่งนี้มีสีขาว (สรุป)

จะเห็นว่า เหมือนกับการให้เหตุผลวิธีนี้จะสมเหตุสมผลกว่าวิธีการอุปนัย คำตอบทางตรรกศาสตร์คือ ใช่ครับ สมเหตุสมผลกว่า หรืออาจเรียกได้ว่า หาดสมเหตุสมผลในทางนิรนัยแล้ว จะสมเหตุสมผลเสมอไปเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าเราจะวัดว่า ข้อสรุปที่ได้มานั้นจะมีความเป็นจริงได้มากเท่าไหร่ นั่นย่อมขึ้นกับเหตุผลที่เรานำมาอ้างด้วย เช่น

ถ้าเราบอกว่า คนทุกคนคือแมว (ได้รับการอนุมานว่าจริง)
แมวทุกตัวบินได้ (ได้รับการอนุมานว่าจริงเหมือนกัน)
สรุปว่า คนทุกคนบินได้

ในกรณีนี้ เนื่องจากเหตุผลที่นำมาอ้างนั้น ไม่จริง(คนจะเป็นแมวได้ยังไงเล่าRazz) ก็จะทำให้ข้อสรุป ไม่จริงตามไปด้วย แต่ถึงจะไม่จริง ก็สมเหตุสมผล


ความแตกต่างระหว่างการให้เหตุผลทั้งสอง

การให้เหตุผลแบบอุปนัยจะต้องมีกฎของความสมเหตุสมผลเฉพาะของตนเอง นั่นคือ จะต้องมีข้อสังเกต หรือผลการทดลอง หรือ มีประสบการณ์ที่มากมายพอที่จะปักใจเชื่อได้ แต่ก็ยังไม่สามารถแน่ใจในผลสรุปได้เต็มที่ เหมือนกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการให้เหตุผลแบบนิรนัยจะให้ความแน่นอน แต่การให้เหตุผลแบบอุปนัย จะให้ความน่าจะเป็นนั่นเอง
avatar
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน

ความสำคัญของตรรกศาสตร์ต่อการสืบสวน และการให้เหตุผล Empty Re: ความสำคัญของตรรกศาสตร์ต่อการสืบสวน และการให้เหตุผล

Sun Nov 11, 2012 7:03 pm
ขอบคุนนะค่ะ Very Happy
Mameaw
Mameaw
นักเดินทางแห่งสายลม
นักเดินทางแห่งสายลม
จำนวนข้อความ : 101
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 10
วันเกิด : 05/09/1997

ความสำคัญของตรรกศาสตร์ต่อการสืบสวน และการให้เหตุผล Empty Re: ความสำคัญของตรรกศาสตร์ต่อการสืบสวน และการให้เหตุผล

Fri May 10, 2013 8:33 pm
ขอบคุณมากนะ่ค่ะ แต่อยากได้ ตัวอย่างมากก็นี้เพื่อจะทำให้เข้าใจมากขึ้น silent
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ