EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^

Join the forum, it's quick and easy

EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่ สถานที่รวบรวมบุคคลหน้าแปลก เอ้ย แปลกหน้าที่รักการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น และสนุกไปกับแชทกับผู้คนมากมาย ลองสมัครแล้วมาเป็นสมาชิกด้วยกันสิ ^ ^
EDS แคมป์ที่พักของสายลับหน้าใหม่
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

การตายจากขาดอากาศ  Empty การตายจากขาดอากาศ

Fri Oct 07, 2011 1:01 am
Message reputation : 100% (1 vote)
การตายจากขาดอากาศ หมายความถึง การตายที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายไม่สามารถได้รับออกซิเจนหรือไม่สามารถใช้ออกซิเจน ถ้าเซลล์หรืออวัยวะใดได้รับออกซิเจนน้อยกว่าที่ต้องการเรียกว่าHypoxia ถ้าไม่ได้รับเลยเรียกว่า Anoxia
พยาธิสภาพของอวัยวะที่ขาดออกซิเจน คือ การปรากฏการคั่งของเลือดที่อวัยวะนั้น (Congestion) , มีสีคล้ำ(Cyanosis) ,จุดเลือดออก (Peticiae) และเลือดเหลว (Fluidity of blood) แต่พยาธิสภาพเหล่านี้ไม่ใช่ลักษณะจำเพาะของการขาดอากาศ การตายจากสาเหตุอื่นๆก็สามารถให้พยาธิสภาพนี้ได้
สีคล้ำที่อวัยวะเกิดจากเลือดที่คั่งอยู่ขาดออกซิเจน จะเห็นชัดเมื่อมีออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 5 กรัม% การเกิดสภาพใสหรือเหลวของเลือดเกิดจากมีการทำลายการแข็งตัว(Fibrinolysis)

แบ่งการขาดอากาศตามลักษณะการเกิดได้ดังนี้
1.SUFFOCATION การที่ออกซิเจนไม่สามารถเข้าถึงปอดได้
2.STRANGULATION การผูกรัดบริเวณลำคอ
3.CHEMICAL ASPHYXIA การได้รับสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้

1.SUFFOCATION การที่ออกซิเจนไม่สามารถเข้าถึงปอดได้
แบ่งตามลักษณะที่เกิดดังนี้
1.1 Entrapment or environmental suffocation
ติดอยู่ในที่อับออกซิเจนหรือบรรยากาศที่ไม่มีออกซิเจน

1.2 Smothering
ทางเดินหายใจภายนอกถูกอุด เช่น อุดปากอุดจมูก

1.3 Choking
ทางเดินหายใจภายในถูกอุด เช่น การมีสิ่งอุดหลอดลม หรือ กล่องเสียง

1.4 Mechanical asphyxia
การถูกแรงภายนอกกดทับ

1.5 Mechanical asphyxia combined with smothering
การถูกแรงภายนอกกดทับร่วมกับการถูกอุดปากอุดจมูก

1.6 Suffocating gas
การได้รับกาซไม่มีพิษแต่ไม่ใช่ออกซิเจน

1.1 การติดอยู่ในที่อับออกซิเจนหรืออยู่ในบรรยากาศที่ขาดออกซิเจน
ส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุ เช่น ติดอยู่ในตึกถล่ม เด็กติดในตู้เข็น ปกติร่างกายจะอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนประมาณ 20.9% ถ้าบรรยายกาศที่ออกซิเจนน้อยกว่า 5% คนจะหมดสติอย่างรวดเร็วและอาจตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
ทางพยาธิสภาพจะไม่พบพบพยาธิสภาพที่จำเพาะหรือการเก็บสิ่งต่างๆเพื่อตรวจก็ไม่พบสิ่งผิดปกติใดใด

1.2 ทางเดินอากาศภายนอกถูกอุดตัน
การตายลักษณะนี้มักเกิดจากการฆ่าตัวตายหรือฆาตกรรม เช่นการเอาถุงพลาสติกคลุมศีรษะแล้วผูกไว้
ผู้ที่หมดสติจากยา หรือ สุรา อาจจะขาดอากาศตายได้ง่ายๆจากการนอนท่าที่หายใจไม่ได้ หรือหน้าคว่ำไปบนหมอน(ถ้าในคนปกติจะเกิดปฏิกิริยาขยับศีรษะได้)
ในเด็กเล็กหรือคนชราหรือคนป่วยที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ถูกผู้อื่นเอามืออุดปากอุดจมูกก็อาจจะตายได้โดยไม่เกิดร่องรอยใดใด
แต่ในผู้ใหญ่ที่ปกติดี การถูกอุดปากอุดจมูกให้ถึงตายนั้นทำได้ยากเพราะจะมีการต่อสู้ดิ้นรนอย่างมาก มีบาดแผลถลอกที่ใบหน้า ริมฝีปาก โดยเฉพาะริมฝีปากด้านในที่ จะถูไถกับฟันทำให้เกิดแผลภายในปากได้(ภาพที่3) และจะมีเลือดออกในตาขาวได้ด้วย
กลไกในการตายมักเกิดจากเมื่อสมองขาดอากาศจะทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติไป โดยอาจเต้นช้าลงๆจนหยุดเต้นไป

1.3 การขาดอากาศจากทางเดินอากาศภายใน(หลอดลม)อุดตัน
การตายวิธีนี้พบได้ทั้งอุบัติเหตุ ฆาตกรรม และฆ่าตัวตาย และตายตามธรรมชาติ เช่น การอักเสบของกล่องเสียงอย่างรุนแรงเช่นโรคคอตีบหรือเยื่อบุกล่องเสียงหรือหลอดลมบวมอย่างรุนแรงจากการภูมิแพ้ เช่นแพ้ยาจำพวกเพ็นนิซิลิน ซึ่งการบวมแบบนี้หลอดลมจะบวมตลอดความยาวฉะนั้นการเจาะคอจะไม่ได้ผลในการรักษา(ภาพที่4-1) อาจจะ ทำให้อากาศเข้าปอดไม่ได้และตายในเวลาไม่นาน
ในเด็กเล็กอาจสำลักลูกอม เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดถั่วลิสง ฯลฯ หรือถูกฆ่าโดยยัดของบางอย่างเข้าไปในปาก
การสำลักอาหารเข้าหลอดลมพบบ่อยโดยเฉพาะผู้มีอายุและโดยเฉพาะกับอาหารที่นิ่มแต่เหนียวพอสมควร เช่น เนื้อเสต็กที่ไม่สุกมาก เช่นมีผู้ชายผิวขาว ทานอาหารในภัตตาคาร อายุประมาณ 50 - 60 ปี แล้วก็มักจะภูมิฐานมีไขมันพอกตามร่างกายพอสมควร ในทันทีก็ลุกขึ้นเอามือกุมหน้าอก หน้าแดงแล้วเปลี่ยนเป็นดำอย่างรวดเร็วแล้วก็ล้มลงกับทุรนทุรายอยู่ชั่วขณะก็ถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นอาการคล้ายคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดจึงมีศัพท์ภาษาอังกฤษว่า”CAFÉ CORONARY”
การตรวจศพเพื่อยืนยันว่ามีการสำลักอาหารตาย จะต้องพบว่าในหลอดลมมีเศษอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมอุดอยู่ค่อนข้างแน่นพอสมควร
ในบางครั้งก่อนตายผู้ป่วยได้รับการรักษามาแล้วได้ถูกนำเศษอาหารออกไปแล้ว การวินิจฉัยจะทำได้จากประวัติของการรักษาเท่านั้น เพราะการผ่าศพอาจจะไม่พบพยาธิสภาพใดใด

1.4 การขาดอากาศจากการถูกแรงภายนอกกดทำให้หายใจไม่ได้
การกดทับในลักษณะนี้มักเป็นอุบัติเหตุ เกิดจากการถูกของหนักกดทับลำตัว ทำให้หายใจไม่ได้เช่นทราย โคลนถล่มลงมาทับ การเบียดเสียดในหมู่คนจำนวนมากถ้ากระดูกหรือกล้ามเนื้อซี่โครงไม่แข็งแรงก็อาจจะทำให้ขาดอากาศตายได้(man pile) หรือรถหลุดจากแม่แรงทับบนลำตัวขณะกำลังซ่อมรถ การตรวจศพมักพบใบหน้าคล้ำ และอาจมีเลือดออกในจอภาพในตาได้
การฆาตกรรมวิธีนี้พบน้อยมีพบเช่นทำร้ายจนสลบแล้วเอาโต๊ะเหลือเครื่องใช้ที่ค่อนข้างหนักในบ้านทับไว้
การถูกงูรัด ผู้ถูกรัดก็จะตายด้วยกลไกเดียวกัน แต่การตรวจศพจะพบบาดแผลจากเขี้ยวงูด้วย

1.5 การถูกแรงภายนอกกดทับร่วมกับการอุดทางเดินหายใจภายนอก
มักเป็นอุบัติเหตุ เช่นการถูกกลบฝังทั้งตัวรวมถึงกลบปากกลบจมูกด้วย ผู้เขียนตรวจศพเด็กชาย 3 รายเป็นพี่น้องกันอายุ 11,12,และ13 ปี เล่นน้ำอยู่ชายคลอง ไม่รู้ว่า ข้างบนกำลังขุดคลองถมที่ตรงนั้นพอดี เลยถูกโคลนกลบทับทั้งตัวและปากจมูกด้วย การตรวจศพพบเพียงมีโคลนจำนวนมากในหลอดลมและปากจมูก แต่ไม่มีบาดแผลอื่น
ในราวปี ค.ศ.1800เศษ นายBURK เป็นคนที่หาศพส่งขายโรงเรียนแพทย์ ได้ใช้วิธีนั่งทับบนตัวเหยื่อแล้วใช้ 2 มืออุดปากอุดจมูกเหยื่อจนตายได้ ซึ่งบาดแผลภายนอก มีน้อยมาก ซึ่งต่อมาถูกจับได้และยอมสารภาพวิธีการนี้ จึงเรียกวิธีนี้ว่า Burking

1.6 การหายใจเอากาซที่ไม่มีพิษแต่ไม่ใช่ออกซิเจน
เช่น หายใจเอากาซมีเทน (กาซหุงต้ม) จากในเหมืองที่รั่วเนื่องจากไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงไม่รู้ตัวและถึงแก่ความตาย หรือลงไปในที่ลึก หรือแคบ เพราะในที่ลึกๆอาจจะเกิดกาซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหมักของยีสท์ ทำให้คนลงไปตายได้ใน 2 - 3 นาที
ซึ่งพยาธิสภาพก็ไม่พบอะไรและกาซที่เข้าไปก็เป็นกาซที่เกิดตามธรรมชาติทำให้ตรวจไม่ได้ การตรวจจะต้องทำทางอ้อมคือนำเอากาซในที่เกิดเหตุมาวิเคราะห์หาเหตุตาย


2.การผูกรัดบริเวณลำคอ STRANGULATION
กลไกในการตายกรณีนี้คือการที่สมองขาดออกซิเจนเนื่องจากเส้นเลือดบริเวณลำคอถูกรัด เส้นเลือดแดงที่ส่งเลือดไปสมองมี 2 ชุด คือ ทางด้านหน้าและด้านหลัง
ชุดที่อยู่ด้านหน้าคือเส้นเลือดแดงคาโรติด(carotid arteries)ที่ลำคอด้านหน้าทั้งซ้ายขวา เส้นเลือดแดงนี้ด้านซ้ายแยกออกมาจากเส้นเลือดแดงใหญ่จากหัวใจ(aorta) ส่วนด้านขวาแยกมาจากเส้นเลือดแดงอินโนมิเนต (innominate) ส่งเลือดเลี้ยงสมองทางด้านหน้า โดยเข้าสู่โพรงกะโหลกผ่านรูที่ฐานกะโหลก
ชุดที่อยู่ด้านหลังเรียกว่าเส้นเลือดแดงเวอร์ติบราล(vertibral arteries) ซึ่งแยกออกจากเส้นเลือดแดงซับคลาเวียนทั้งซ้ายขวา ผ่านขึ้นไปทางด้านข้างของกระดูกสันหลังระดับคอ เข้าสู่โพรงกะโหลกทางโพรงเดียวกับไขสันหลัง

ส่วนเส้นเลือดดำที่นำเลือดกลับจากสมองก็มีสองชุดเช่นเดียวกัน คือ
ด้านหน้าจะมีเส้นเลือดดำจูกูล่าซึ่งรับเลือดออกมาทางโพรงฐานกะโหลก เป็นเส้นเลือดที่อยู่เคียงกับเส้นเลือดแดงคาโรติด ทั้งสองข้างของลำคอด้านหน้า
ส่วนเส้นเลือดดำทางด้านหลังเรียกว่าเส้นเลือดดำเวอร์ติบราลเช่นกันแต่จะเป็นเส้นเลือดฝอยแทรกรวมๆกับกล้ามเนื้อที่ด้านหลังลำคอ

น้ำหนักที่สามารถกดให้เส้นเลือดดำเหล่านี้ตีบตันได้มี
เส้นเลือดดำจูกูล่า ประมาณ 2 กิโลกรัม
เส้นเลือดแดงคาโรติด ประมาณ 5 กิโลกรัม
เส้นเลือดแดงเวอร์ติบราล ประมาณ 30 กิโลกรัม
เส้นเลือดดำเวอร์ติบราลถูกกดให้ตันง่ายในการบีบกล้ามเนื้อที่ลำคอหรือโดยการเงยหน้ามากๆ

ในขณะที่ศีรษะ หนักประมาณ 5 กิโลกรัม
จะเห็นว่าแรงที่กดลำคอเพียงแค่น้ำหนักของศีรษะตนเองก็สามารถทำให้เส้นเลือดดำทั้งสองกลุ่มตีบตันได้แล้ว ซึ่งการทำให้เส้นเลือดดำตีบตันจะทำให้เลือดดำกลับมาที่หัวใจไม่ได้เกิดการทำให้มีเลือดคั่งในสมอง เลือดแดงที่ไม่ได้ถูกอุดยังสามารถส่งเลือดไปสมองได้อีกบ้าง แต่เมื่อความดันภายในเส้นเลือดในสมองมีมากขึ้น(เนื่องจากเลือดดำไม่สามารถกลับลงมา) เลือดแดงก็ไม่สามารถขึ้นสู่สมองได้อีกต่อไป ในพวกนี้จะพบว่ามีเลือดคั่งบนใบหน้ามาก ใบหน้าสีคล้ำ มักจะมีเลือดออก(hemorrhage)หรือจุดเลือดออก(petichia)ในตาขาว และอาจจะมีน้ำมูก น้ำลายไหลออกมาด้วย ในกรณีนี้อาจจะทำให้หมดสติในเวลาหลายนาที บางรายที่ไม่ตายก็อาจจะเกิดเลือดออกหรือจุดเลือดออกเหล่านี้ได้เช่นกัน
แต่ถ้าแรงมากพอที่จะกดเส้นเลือดแดงทั้งหน้าหลังอาจจะต้องรักแรงมากหรือการห้อยแขวนโดยน้ำหนักตัวเช่นการแขวนคอตาย พวกนี้จะหมดสติภายในเวลาประมาณ 10 วินาที แต่ถ้าถูกปลดออกก็จะสามารถฟื้นภายใน 10-12 วินาทีเช่นกัน



2.1 การแขวนคอ(hanging)
การแขวนคอเป็นวิธีฆ่าตัวตายที่พบมากที่สุดในศพที่ส่งมายังสถาบันนิติเวชวิทยา
การแขวนคอตายสามารถทำได้ทั้งห้อยแขวนทั้งตัวหรือห้อยบางส่วน หรือเพียงห้อยศีรษะไว้กับเชือกหรือสิ่งที่ใช้ และใช้เพียงน้ำหนักของศีรษะ(ประมาณ 5 กิโลกรัม)ถ่วงไว้ก็เพียงพอที่จะกดเส้นเลือดดำทั้งสองชุด(ประมาณ 2 กิโลกรัม)ได้แล้ว จะทำให้หมดสติและตายภายในไม่กี่นาที พยาธิสภาพจะเหมือนกับที่กล่าวมาข้างต้น
แต่ถ้าแขวนโดยอาศัยน้ำหนักตัวทั้งหมด(ประมาณ 50 - 70 กิโลกรัม) ก็จะกดได้ทั้งหมดคือเส้นเลือดแดงเส้นเลือดดำ และหลอดลมด้วย จะหมดสติในเวลาอันรวดเร็ว และตายในไม่กี่นาทีเช่นกัน ซึ่งมักพบว่าศพในกรณีนี้มักมีใบหน้าซีด ลิ้นสีคล้ำจุกปากเพราะแนวหรือแผลถลอกที่เกิดจากเชือกที่แขวนมักจะผ่านลำคอด้านหน้าสูงกว่าลูกกระเดือก หรืออยู่ใต้กระดูกขากรรไกรล่างเลยซึ่งจะดันที่โคนลิ้นพอดี และแนวถลอก(ซึ่งมักปรากฏตามลักษณะของสิ่งที่รัด เช่น เชือกมีเกลียว ไม่มีเกลียว สายไฟฟ้า เข็มขัดผ้าขาวม้า ฯลฯ) จะเฉียงขึ้นทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่นเฉียงขึ้นไปทางท้ายทอย เฉียงมาทางกกหูข้างใด หรือเฉียงมาทางใต้คางก็ได้
การดำเนินการตั้งแต่ที่เกิดเหตุ เมื่อพบศพที่แขวนคอตายอยู่(และรู้ว่าเสียชีวิตแล้ว) ให้บันทึกรายละเอียด ตำแหน่งของศพที่แขวนอยู่ ตำแน่งที่ยิ่งขึ้นยากยิ่งช่วยบอกว่าเป็นการขึ้นไปเอง หรือศพอยู่ในท่าทางอื่นๆ และรายละเอียดสถานที่ (ร่องรอยการงัดแงะ รื้อค้นฯลฯ)
การนำศพลงต้องให้ตัดเชือกที่ผูกห้ามใช้วิธีแก้ปมหรือตัดที่ปม และตัดเชือกที่ผูกลำคอโดยไม่ตัตที่ปมเช่นกัน ซึ่งจะสามารถตรวจปมการผูกได้
การผ่าศพ หลังจากตรวจภายนอกอื่นๆแล้ว แพทย์จะบรรยายบาดแผลที่ถูกรัดว่ามีสภาพอย่างไร ขนาดเท่าใด เป็นแนวเฉียงขึ้นอย่างไร เช่น “มีแผลถลอกรอบลำคอ ขนาดกว้างประมาณ 1 ถึง 1.2 ซม. ผ่านลำคอด้านหน้าที่เหนือกระดูกกล่องเสียงชิดกับขากรรไกรล่าง แผลถลอกมีร่องเกลียวแบบเกลียวเชือก ผ่านลำคอด้านข้างเฉียงขึ้นไปทางกลางท้ายทอย เคยมีการทดลองพบว่าแผลที่เกิดที่ลำคอเกิดได้ถ้าเป็นการตายใหม่ๆ และถ้าถูกทิ้งให้รัดอยู่นานยิ่งเห็นชัด
การพบแผลรอบลำคอนี้จึงไม่ใช่เครื่องยืนยันว่าถูกรัดคอก่อนตาย
การฆาตกรรมโดยการแขวนคอนั้น ทำได้ยาก ยิ่งถ้าผู้กระทำมีแค่ 1 - 2 คน เว้นแต่ผู้ถูกกระทำจะหมดสติหรือหมดทางขัดขืนด้วยสาเหตุอื่น หรือหมดสติด้วยยาหรือเหล้า หรือสารพิษอื่นๆ
การแขวนคอตายอาจจะเป็นอุบัติเหตุได้ เช่นเด็กๆเล่นผูกคอกันแล้วแกะออกไม่ได้หรือไม่ทัน หรือ
การแขวนคอตายเพื่อเป็นการประหารชีวิตตามกฏหมายของบางประเทศนั้น ลักษณะการแขวนจะต่างกันกับการแขวนคอตายของชาวบ้าน คือ เชือกที่ใช้จะใช้เชือกขนาดใหญ่เพื่อลดการเจ็บปวด และการตายเกิดจากการที่ทิ้งให้น้ำหนักตัวกระชากให้กระดูกคอเคลื่อนออกจากฐานกะโหลกหรือกระดูกสันหลังระดับคออันที่2-3-4หัก เป็นผลทำให้เกิดแรงดึงเส้นเลือดที่ฐานสมองฉีกขาดและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ถ้าตกมาสูงเกินไปคออาจจะหลุดจากบ่าได้ แต่ถ้าตกมาเตี้ยเกินไปอาจจะไม่ตายจากการกระชากแต่จะตายจากการรัดคอตามปกติซึ่งใช้เวลาหลายนาทีซึ่งนักโทษอาจจะดิ้นรนเป็นที่หวาดเสียวแก่ผู้พบเห็นและอาจจะมีผลทางสังคม

2.2 การรัดคอตาย(ligature strangulation)
ในการรัดคอตายแรงที่ใช้รัดเป็นแรงที่เกิดจากการดึงเชือกหรือสิ่งที่รัดลำคอไว้ ไม่ใช่แรงจากน้ำหนักตัวหรือน้ำหนักใด การรัดคอตายเกือบทุกรายเป็นการฆาตกรรม และผู้ตายส่วนใหญ่เป็นหญิง กลไกในการตายจะคล้ายกับการแขวนคอ คือรัดเส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดง ถ้าแรงพอที่จะรัดเส้นเลือดดำ พยาธิสภาพก็เป็นตามที่กล่าวแล้ว
สิ่งที่ใช้รัดมักเป็น สายไฟฟ้า เน็คไทด์ เชือก สายโทรศัพท์ กระทั่งผ้าพันคอ แม้การรัดด้วยผมของผู้ตายเองก็เคยมีรายงานในวารสารทางนิติเวชมาแล้ว ความชัดเจนและลักษณะบาดแผลที่เกิดขึ้นจึงขึ้นอยู่กับ สิ่งที่ใช้รัด ปริมาณการต่อสู้ดิ้นรน และแรงที่ใช้
ในเด็กหรือ ผู้ใหญ่ที่หมดสติ การรัดอาจจะใช้เพียงแคผ้ารัดคอ ก็อาจตรวจไม่พบแผลใดเลย รอยรัดจะชัดกว่าถ้าสิ่งที่รัดเล็กกว่า แผลรอยรัดจะเกิดเป็นแผลสีเหลืองซีดก่อนแล้วจะค่อยเข้มขึ้นหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ แผลรอบลำคอจะขนานกับพื้นไม่เฉียงขึ้นทางใด จะผ่านด้านหน้าของลำคอที่จุดต่ำกว่าการแขวนคอโดยอาจจะผ่านกระดูกกล่องเสียงหรือต่ำกว่า อาจจะพบแผลถลอกเหนือหรือใต้แผลรัดเกิดจากการที่ผู้ตายพยายามแกะสิ่งที่รัด จึงอาจจะพบเนื้อเยื่อตนเองในเล็บมือหรือเศษผมของตนเองในกำมือ แต่ย่างไรก็ตามจะต้องเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้ตรวจด้วย
พยาธิสภาพในลำคอจากการผ่าศพ พบมีเลือดออกในเนื้อเยื่อลำคอ20%แต่ปริมาณของเลือดจะมากกว่าในรายแขวนคอ และมีกระดูกกล่องเสียงหัก 42%
ในเด็ก คนอายุมาก และคนอ้วน ที่มีเนื้อบริเวณลำคอหย่อนหรือมีมากมเนื้ออาจจะทับกับให้คล้ายเป็นรอยรัดเล็กๆได้ และถ้าเป็นในเด็กแรกคลอดซึ่งอาจจะมีจุดเลือดออกตามใบหน้าจากการคลอดด้วย อาจจะทำให้การวินิจฉัยผิดว่าเป็นการถูกรัดคอได้

2.3 การบีบคอ(manual strangulation)
การบีบคอตายไม่ได้หมายความเฉพาะการใช้มือเท่านั้น แต่รวมถึงการใช้นิ้วมือ แขน หรือ ขาด้วย กลไกในการตายคล้ายในการรัดคอหรือแขวนคอ คือตายการการรัดเส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดง ซึ่งในการบีบคอนั้นส่วนใหญ่มักตายจากการบีบเส้นเลือดดำ เพราะแรงที่บีบจากมือมักไม่สามารถรัดให้แรงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการดิ้นรนต่อสู้ เส้นเลือดแดงมักสามารถส่งเลือดขึ้นสมองได้บางส่วน ทำให้เกิดมีการคั่งเลือดอย่างมากในสมอง การบีบคอตายเป็นฆาตกรรมเกือบทุกราย ไม่มีใครสามารถบีบคอตนเองจนตายได้
พยาธิสภาพ พบใบหน้าคล้ำ มีจุดเลือดออก หรือ เลือดออกในตาขาว การตรวจศพอาจจะพบแผลถลอกที่ลำคอจากมือของผู้บีบจิกเข้าไป หรือจากเล็บของผู้ตายที่พยายามแกะมือคนบีบ อาจจะพบเศษเนื้อเยื่อจากมือของผู้บีบอยู่ในเล็บผู้ตาย ถ้าคนบีบๆจากด้านหลังรอยจิกหัวแม่มือจะอยู่ที่คอด้านหลัง ถ้าบีบด้านหน้าก็จะอยู่ด้านหน้า จะพบมีเลือดออกในเนื้อเยื่อลำคอมากเกือบทุกราย พบกระดูกกล่องเสียงหักถึง 90% แต่ถ้าผู้ตายหมดสติ หรือ เป็นเด็กหรือคนแก่ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีการต่อสู้ดิ้นรน ก็อาจไม่พบพยาธิสภาพเช่นกัน
การตายจากการถูกผูกรัดบริเวณลำคอทั้ง 3 ชนิด การถูกบีบคอตายพบมีปัสสาวะราดบ่อยกว่าอันอื่นคือพบถึง 60%
ที่หลังมือและแขนของผู้บีบอาจจะมีบาดแผลถูกข่วนได้ โดยเฉพาะที่หลังนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งอาจจะต่างกับการข่มขืนที่ผู้ข่มขืนอาจถูกข่วนที่ใบหน้า ที่ลำตัวด้านหลัง และที่ลำคอ

เปรียบเทียบพยาธิสภาพของการถูกบีบรัดลำคอทั้งสามชนิดตามตาราง

ผูกคอตาย ถูกรัดคอตาย ถูกบีบคอตาย
ไม่มีพยาธิสภาพ 44% น้อยมาก น้อยมาก
เลือดออกที่กล้ามเนื้อลำคอ 20%(จำนวนน้อย) 20%(จำนวนมาก) เกือบทุกรายและจำนวนมาก
กระดูกกล่องเสียงหัก 11% 42% เกือบทุกราย
เลือดออกในตาขาว 25% เกือบทุกราย เกือบทุกราย


3. การได้รับสารเคมีที่เป็นอันตราย(chemical asphyxia)
คือการที่ได้รับสารบางอย่างเข้าร่างกายแล้วมีปฏิกิริยาทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนทำให้ขาดอากาศถึงแก่ความตาย สารพวกนี้มักมีผลให้ตายอย่างรวดเร็ว

3.1 คาร์บอนโมน๊อกไซด์(carbon monoxide CO)
คาร์บอนโมน๊อกไซด์เป็นกาซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่ระคายเคืองต่อร่างกาย มีน้ำหนักเบากว่าอากาศเล็กน้อย เป็นกาซที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ หรือจากท่อ ไอเสียรถยนต์ จากเครื่องทำความร้อนที่สภาพเก่าหรือชำรุด หรือการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์อื่นๆ เช่นการเผาถ่านและการเผาไหม้สารอินทรีย์อื่นๆที่การสันดาปไม่สมบูรณ์
เมื่อCO เข้าสู่ร่างกายมันจะจับกับฮีโมโกลบินเร็วกว่าออกซิเจนถึง 300 เท่า นอกจากนั้นมันยังมีผลโดยตรงกับไมโตคอนเดรียภายในเซลล์ ทำให้เซลล์เหล่านั้นไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ และเมื่อCO รวมกับฮีโมโกลบินแล้วจะไม่คลายตัว ทำให้ปริมาณของฮีโมโกลบินที่จะขนส่งออกซิเจนไปสู่เซลล์มีจำนวนลดลง จำนวนออกซิเจนที่ไปสู่เซลล์จะ ลดน้อยลงจนไม่เพียงพอในเวลาอันรวดเร็ว
ปริมาณ CO ในบรรยากาศที่ถือว่าไม่เป็นอันตรายคือ 5 ppm (5ส่วนในล้านส่วน) หรือ0.005% และปริมาณของฮีโมโกลบินที่จับกับ CO (เรียกว่าคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิน) ไม่ควรเกินกว่า 5%ในร่างกาย ในผู้สูบบุหรี่จะมีจำนวนคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบินประมาณ 5 - 6% แต่ถ้าสูบจัดมากอาจจะมีถึง 13%

การเปรียบเทียบปริมาณCOในบรรยากาศกับปริมาณของคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบินในร่างกายโดยทางการสหรัฐอเมริกาให้ไว้ดังนี้
ความเข็มข้นของCOในบรรยากาศ เปอร์เซ็นต์ในเลือด ภายในระยะเวลา อาการ
0.02-0.03% 23-30% 5-6 ชั่วโมง เริ่มปวดศรีษะ
0.04-0.06% 36-44% 4-5 ชั่วโมง ปวดศรีษะมากขึ้น คลื่นไส้ อาเจียร
0.07-0.10% 47-55% 3-4 ชั่วโมง ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน มากขึ้น
0.11-0.15% 55-60% 1.5-3 ชั่วโมง หมดสติ อาจเสียชีวิต
0.15-0.20% 61-64% 1-1.5 ชั่วโมง หมดสติ อาจเสียชีวิต
0.21-0.30% 64-68% 30-45 นาที หมดสติ อาจเสียชีวิต
0.30-0.50% 68-73% 20-30 นาที เสียชีวิต
0.50-1.0% 73-76%2-15 นาที เสียชีวิต

การตายจากCOมักเป็นการตายจากไฟไหม้บ้านเป็นส่วนใหญ่ เพราะจะเกิดกาซCOเป็นจำนวนมากระหว่างไฟไหม้ ผู้ที่ติดอยู่ในบ้านจะได้รับกาซนี่เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้หมดสติและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วแล้วจึงถูกไฟครอกในตอนหลัง
การตายจากCO อาจจะเป็นการฆ่าตัวตายได้ เช่นต่อท่อไอเสียจากรถยนต์เข้าร่างกาย หรือโดยกาสตาร์ทรถยนต์ในที่อากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานาน เช่น ในโรงรถ ควัน จากท่อไอเสียรถยนต์มีกาซCOถึง 4%
ในการตรวจศพ จะพบว่าลิวิดิตี้ของศพที่ตายจากCO นั้นมีสีแดงสดกว่าปกติ ในผู้ตายที่มีผิวคล้ำอาจจะสังเกตได้จากเล็บมือ ที่เยื่อบุในตาขาว หรือริมฝีปาก และเลือดที่ เจาะจากศพเหล่านี้จะมีสีแดงสดกว่ารายอื่นๆอย่างชัดเจน ในรายที่ตายจากไฟไหม้บ้านมักพบCOในเลือดสูงกว่า 60% ในศพที่ถูกไฟไหม้และมีCOในเลือดต่ำกว่า 8%ให้สงสัยว่าอาจจะตายก่อนถูกไฟไหม้
ในรายที่ไม่ตายจึงอาจจะมีอาการทางสมอง ซึ่งบางคนปรากฏเร็วบางคนปรากฏช้า อาจเป็นวันหรือเป็นอาทิตย์ อาการที่พบมักมี ปวดศีรษะ ไข้ ชักกระตุก ความจำเสื่อม เคลื่อนไหวช้า ประสาทหลอน หรือเสียสติ
3.2 ไซยาไนด์(cyanide)
สารประกอบพวกไซยาไนด์เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ โปแตสเซี่ยมหรือโซเดียมไซยาไนด์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยทางจมูกหรือทางปาก จะเข้าไปรวมกับอะตอมของธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของไซโตโครมอ๊อกซิเดสในเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ปริมาณของไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่ทำให้เสียชีวิตคือ 75-100 มิลลิกรัม โปแตสเซี่ยมกับโซเดียมไซยาไนด์ทำให้เสียชีวิตในปริมาณเพียง200มิลลิกรัมหรือประมาณ 1/20 ช้อนชาเท่านั้น
การตายจากไซยาไนด์ในปัจจุบันพบน้อยมาก(ไม่เคยตรวจพบที่สถาบันนิติเวชมาหลายปีแล้ว) พบในเลือดเพียง1มิลลิกรัมต่อเลือด1ลิตรก็เป็นสาเหตุตาย ซึ่งอาจจะพบ ในคนงานเหมืองบางชนิด
ลิวิดิตี้ในศพที่เสียชีวิตจากไซยาไนด์จะมีลักษณะคล้ายที่พบในผู้ตายจากCO
กลิ่นของไซยาไนด์ในกระเพาะอาหารจะมีกลิ่นบิทเตอร์อัลมอนด์(bitter almond) ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยได้กลิ่น

3.3 ไฮโดรเจน ซัลไฟด์(hydrogen sulfide H2S)
ไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือกาซไข่เน่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงคล้ายไข่เน่า เกิดจากการหมักเน่าของสารอินทรีย์ต่างๆและมักเกิดร่วมกับกาซอื่นๆเช่น มีเทน และ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ซึ่งใช้หุงต้มได้
ปริมาณH2Sในบรรยากาศเพียง 0.1 - 0.2%สามารถทำให้ตายได้ แต่ปริมาณH2S เพียง 0.015%ในบรรยากาศก็ได้กลิ่นแล้ว
เมื่อH2Sเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม มันจะรวมกับฮีโมโกลบินทำให้ฮีโมโกลบินไม่สามารถนำออกซิเจนไปให้เซลล์ การผ่าศพจะพบว่า อวัยวะภายในมีสีคล้ำ ปริมาณ ซัลฟ์ฮีโมโกลบินในร่างกาย 0.9 - 3.8 มิลลิกรัมต่อเลือด1ลิตรทำให้ตาย

การขาดอากาศจากการทำตัวเองเพราะการวิปริตทางเพศ(sexual asphyxia)
การขาดอากาศประเภทนี้เกิดขึ้นในบุคคลจำพวกที่มีอาการวิปริตทางเพศ ชอบทำให้ตัวเองเกิดการขาดอากาศโดยการผูกมัดหรือรัดหรือพันธนาการต่างๆ เมื่อร่างกายเกิดสภาพขาดอากาศแล้วจะสำเร็จความใคร่
สถานที่พบศพมักเป็นห้องส่วนตัว มิดชิด อาจจะใส่ชุดผู้หญิง(พวกนี้มักเป็นแต่ในผู้ชาย) มีหนังสือหรือภาพที่กระตุ้นทางกามารมย์วางอยู่รอบๆ ปมของเชือกหรือสิ่งที่ พันธนาการจะสามารถแก้ได้เอง การผูกบางครั้งมีผ้ารองส่วนที่ผูกไม่ให้เจ็บ
การตายมักเป็นอุบัติเหตุ คือ เมื่อ บรรลุจุดสุดยอดแล้วเกิดการอ่อนเพลียหลับไปทั้งที่ยังอยู่ในการผูกมัดอยู่ทำให้เกิดการขาดอากาศตายไปเลย

การตรึงกางเขน(crucifixion)
ผู้ถูกตรึงกางเขนจะถูกตอกตะปูที่ข้อมือหรือฝ่ามือทั้งสองข้างกับที่ขาเพื่อยึดไว้ การตายเกิดจากการช๊อคด้วยความเจ็บปวดส่วนหนึ่ง ขาดน้ำและอาหารส่วนหนึ่ง และ ขาดอากาศอีกส่วนหนึ่งด้วย เนื่องจากการถูกตรึงในท่านั้น กระบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครงทำหน้าที่หายใจได้ลำบากและเป็นเหตุตายด้วย

การรัดคอแบบพิเศษ(choke holds and carotid holds)

การรัดคอแบบchok holds
เป็นการรัดคอจากทางด้านหลัง แขนจะรัดลงที่คอด้านหน้าตรงๆ มืออีกข้างเหนี่ยวแขนที่รัดไว้ แขนจะกดลงบนหลอดลมทำให้ขาดอากาศ และหมดสติได้
การรัดแบบcarotid holds
เป็นการรัดคอที่คล้ายกันแต่ยื่นข้อศอกไปทางด้านหน้าเพื่อให้ต้นแขนและแขนรัดไปที่เส้นเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการต่อสู้ซึ่งสอนว่าการรัดแบบนี้ผู้ถูกรัดจะหมดสติในเวลาอันรวดเร็วและเมื่อปล่อยในระยะเวลาที่เหมาะแล้วผู้นั้นจะไม่เป็นอันตราย แต่ดังได้กล่าวแล้วว่าบางคนเป็นคนที่มีคาโรติดไวมากการรัดอาจจะเป็นเหตุให้การเต้นของหัวใจผิดไปและอาจจะถึงตายได้ ซึ่งอาจจะเป็นการตายโดยไม่ตั้งใจ

ที่มา http://www.ifm.go.th

Winter
Winter
นักล่าปริศนา
นักล่าปริศนา
จำนวนข้อความ : 678
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 33
วันเกิด : 10/01/1997

การตายจากขาดอากาศ  Empty Re: การตายจากขาดอากาศ

Thu Dec 22, 2011 8:27 pm
ขอบคุณนะค่ะ
/Charcoal/
/Charcoal/
ผู้รวบรวมความจริง
ผู้รวบรวมความจริง
จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920

การตายจากขาดอากาศ  Empty Re: การตายจากขาดอากาศ

Sat Nov 10, 2012 9:59 am
Shoko's Stun Gun
การตายจากขาดอากาศ  Tumblr_mbqaprgRO31rihs1co1_500

This dice is not existing.
Na///SodiUm
Na///SodiUm
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
จำนวนข้อความ : 450
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 81
วันเกิด : 09/03/1995
งานอดิเรก งานอดิเรก : อ่านหนังสือ(นิยาย,การ์ตูน) , ฟังเพลง , ดูหนัง

การตายจากขาดอากาศ  Empty Re: การตายจากขาดอากาศ

Sat Nov 10, 2012 10:16 am
ท่าหมัดเดียวจอด!!!

การตายจากขาดอากาศ  Tumblr_m9115pMmmD1qekvhfo1_500

This dice is not existing.
avatar
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน

การตายจากขาดอากาศ  Empty Re: การตายจากขาดอากาศ

Sat Nov 10, 2012 10:35 am
ไม่รอดแน่!!!!

การตายจากขาดอากาศ  Sasuke__23_


This dice is not existing.
Rightman
Rightman
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
จำนวนข้อความ : 374
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 23
วันเกิด : 01/04/1995
งานอดิเรก งานอดิเรก : มากมาย

การตายจากขาดอากาศ  Empty Re: การตายจากขาดอากาศ

Sat Nov 10, 2012 11:57 am
"..."ปกติสวิตซ์ไม่พูดอยู่แล้วชื่อท่าก็เลยเป็นแบบนี้
การตายจากขาดอากาศ  Tumblr_md5anu9S5X1r60zuio9_r1_500
This dice is not existing.
E'numnim
E'numnim
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
นักผจญภัยที่ใหญ่ยิ่ง
จำนวนข้อความ : 431
ชื่อเสียง&น้ำใจ ชื่อเสียง&น้ำใจ : 80
วันเกิด : 11/02/1998
งานอดิเรก งานอดิเรก : อ่านนิยาย

การตายจากขาดอากาศ  Empty Re: การตายจากขาดอากาศ

Sat Nov 10, 2012 3:02 pm
ชน !!!

การตายจากขาดอากาศ  73

This dice is not existing.
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ