- /Charcoal/ผู้รวบรวมความจริง
- จำนวนข้อความ : 2222
ชื่อเสียง&น้ำใจ : 171
วันเกิด : 02/03/1920
อาวุธศึกษา (ปืนพก ๘๖ ขนาด ๑๑ มม.)
Sun Aug 11, 2013 11:00 pm
ก่อนอื่นผมต้องขอพูดถึงกฎแห่งความปลอดภัย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ผู้ถือครองอาวุธปืนพึงระลึกไว้ตลอดเวลา
ต่อไปผมจะเอาหลักนี้มาขึ้นต้นในทุกโพสของผมที่เกี่ยวกับอาวุธปืน
กฎแห่งความปลอดภัย
ปืนพกแบบ ๘๖ ขนาด .๔๕ นิ้ว (๑๑ มม.)
ในขณะที่เลื่อนปืนถอยมาข้างหลัง ก็เกิดการอัดแหนบรับแรงถอย ด้วยการทำงานขงแหนบรับแรงถอย จะบังคับให้เลื่อนปืนวิ่งกลับไปข้างหน้าและบรรจุกระสุนนัดต่อไปเข้าสู่รังเพลิง
ปืนพก ๘๖ ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุนซึ่งบรรจุได้ ๗ นัด การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเลื่อนปืนจะดันกระสุนนัดบนจาดซองกระสุนเข้ารังเพลิง, เมื่อยิงกระสุนนัดสุดท้ายในซองกระสุนออกไปแล้ว เลื่อนปืนจะถอยไปค้างอยู่ข้างหลังโดยมีสลักยึดลำกล้องขึ้นไปขัดเลื่อนปืนไว้ เมื่อกดเหล็กยึดซองกระสุน ซองกระสุนจะหลุดออกมาจากช่องสวมซองกระสุน ถ้าสอดซองกระสุนซึ่งบรรจุกระสุนเต็มเข้าไปใหม่ และกดสลักยึดลำกล้องลง เลื่อนปืนจะวิ่งกลับไปข้างหน้า ปืนจะยิงต่ออไปได้อีก
ความเร็วในการยิงมีขีดจำกัด ซึ่งขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้ในการบรรจุซองกระสุนเข้าในปืนและความสามารถในการเล็งและลั่นไก
แบบของปืนพก ๘๖
มี ๒ แบบ คือ
แบบ M ๑๙๑๑
แบบ M ๑๙๑๑ A ๑
ปืนทั้ง ๒ แบบนี้ มีการทำงานเหมือนกัน ผิดกันตรงที่รูปร่าง ซึ่งแบบ M ๑๙๑๑ A ๑ ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม และสะดวกแก่การใช้ยิ่งขึ้นไปอีก มีดังนี้
รายการทั่วไป
กา่รถอดประกอบ
การถอดประกอบปกติ ถอดตามลำดับและจำนวนชิ้นส่วน ดังนี้
ซองกระสุน
ครอบแหนบรับแรงถอย
ปลอกบังคับแหนบรับแรงถอย
สลักยึดลำกล้องปืน
โครงปืนออกจากเลื่อนปืน
แกนแหนบรับแรงถอยจากด้านหน้า
แหนบรับแรงถอยจากด้านหน้า
ลำกล้องปืน
เลื่อนปืน
การถอดประกอบพิเศษ (สำหรับการซ่อมบำรุงโดยช่างประจำหน่วย)
ที่เลื่อนปืน
ถอดเหล็กปิดท้ายเข็มแทงชนวน
เข็มแทงชนวนและแหนบ
ขอรั้งปลอกกระสุน
ข้อสังเกต ระวังการประกอบเหล็กปิดท้ายผิดทาง ต้องประกอบขอรั้งปลอกกระสุนก่น มิฉะนั้นอาจประกอบเหล็กปิดท้ายเข็มแทงชนวนไม่เข้า
ที่โครงปืน
ถอดห้ามไก
สลักเหล็กปิดท้ายโครงปืน
เหล็กปิดท้ายโครงปืน
ห้ามไกช่วย
แหนบกระเดื่องนกปืน (แหนบสามขา)
สลักนกปืน
นกปืน
สลักกระเดื่องนกปืน
กระเดื่องนกปืน
สลักปลดประเดื่องนกปืน
เหล็กยึดซองกระสุน
ไกและสะพานไก
ข้อควรสังเกต
การระวังรักษาและการทำความสะอาด
ความชื้นและเหงื่อที่มือเป็นสิ่งเร่งให้เกิดสนิมเร็วขึ้น หลังจากการฝึกหรือนำไปใช้ควรทำความสะอาดและป้องกันสนิมเสมอ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
ก่อนนำออกฝึกหรือก่อนการยิง
ทำความสะอาดลำกล้องและรังเพลิงโดยเช็ดน้ำมันออกให้หมด
ควรหยดน้ำมันหล่อลื่น ๒ - ๓ หยด ตามชิ้นส่วนเคลื่อนที่
ตรวจเครื่องนิรภัยและชิ้นส่วนของปืน
ตรวจซองกระสุน ทำความสะอาดและหล่อลื่นเล็กน้อย
ภายหลังการฝึกหรือหลังจากการยิง
ทำความสะอาดทันที โดยถอดปกติชำระล้างลำกล้อง แยงด้วยแปรงขนหนู
วิธีปฏิบัติต่อไป คงปฏิบัติเหมือนกับการทำความสะอาดอาวุธประจำกาย
ต้องทความสะอาดติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย ๓ วัน
ข้อควรระวัง
ภายหลังการยิง อย่าชโลมน้ำมันในลำกล้องก่อนที่จะชำระลำกล้องให้สะอาดและเช็ดแห้งแล้วเสียก่อน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ปืนพก แบบ ๘๖
กระสุน
กระสุนของ ปพ.๘๖ มี ๕ ชนิด คือ
กระสุนธรรมดา M ๑๙๑๑ ใช้สังหา่ร
กระสุนส่องวิถี T ๓๐ ใช้สังหารและทำสัญญาณ
กระสุนลูกปลาย M ๑๔ ใช้ล่าสัตว์เล็กมาเป็นอาหาร
กระสุนซ้อมรบ M ๙ ใช้ฝึก
กระสุนฝึกหัดบรรจุ M ๑๙๒๑
ข้อสังเกต
เครื่องนิรภัยของปืนพก
เครื่องนิรภัยของปืนพก แบบ ๘๖ มี ๔ อย่างคือ
ห้ามไก
วิธีตรวจ ขึ้นนกปืนแล้วผลักห้ามไกขึ้นข้างบน กำด้ามปืนตามปกติแล้วเหนี่ยวไก ๒ - ๓ ครั้ง ถ้านกปืนสับ แสดงว่าห้ามไกชำรุด ต้องส่งซ่อม
ห้ามไกช่วย
วิธีตรวจ ง้างนกปืนอยู่ในท่าขึ้นนก อย่ากดห้ามไกช่วย ชี้ลำกล้องปืนลงดินเหนี่ยวไก ๓ - ๔ ครั้ง ถ้าห้ามไกช่วยจมลงด้วยน้ำหนักของตัวเองและสามารถลั่นไกได้ แสดงว่าห้ามไกช่วยชำรุด ให้ส่งซ่อม
การขึ้นนกขั้นที่ ๑
วิธีตรวจ ง้างนกปืนไปข้างหลังเกือบสุด แล้วค่อยๆปล่อยกลับคืนไปข้างหน้า บากขึ้นนกปืนเป็นบากแรกจะขัดกับแง่ที่กระเดื่องนกปืน เรียกว่า "ขึ้นนกปืนขั้นที่ ๑" หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ขึ้นนกปืนขั้นที่ ๒(ใช้สำหรับยิง) แล้วใช้มือข้างที่ถนัดลั่นไก ก่อนลั่นไกใช้หัวแม่มืออีกข้างบังคับนกปืนไว้แล้วค่อยๆปล่อยให้นกปืนฟาดตัวไปข้างหน้าช้าๆ จนนกปืนไปขัดที่บากขึ้นนกปืนขั้นที่ ๑ จากนั้น จึงปล่อยไก แล้วทดลองเหนี่ยวไกดูใหม่ ถ้าหากสามารถลั่นไหได้แสดงว่านกปืนหรือกระเดื่องนกปืนชำรุด ต้องส่งซ่อม
ข้อสังเกต การลดนกปืนจากขั้นที่ ๒ ไปขั้นที่ ๑ ใช้ปฏิบัติเมื่อบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงแล้ว เป็นเครื่องนิรภัยว่าปลอดภัยดี แต่มีข้อควรระวังคือ
อาจหลงลืมเรื่องการบรรจุกระสุนอยู่ในรังเพลิง
นกปืนอาจฟาดตัวหลุดจากบากขึ้นนกปืนขั้นที่ ๑ ไปตีท้ายเข็มแทงชนวน ปืนอาจลั่นไก
เหล็กปลดกระเดื่องนกปืน
วิธีตรวจ ขึ้นนกปืนแล้วดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง ๑/๔ นิ้ว แล้วเหนี่ยวไก ขณะเหนี่ยวไก ให้ปล่อยเลื่อนปืนกลับ ถ้านกปืนฟาดตัวไปข้างหน้าได้แสดงว่าปลายบนของเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนสึกให้เปลี่ยนใหม่ ถ้าหากนกปืนไม่ฟาดไปข้างหน้าให้ปล่อยนิ้วเหนี่ยวไกแล้วลั่นไกใหม่ นกปืนจะฟาดตัวไปข้างหน้าได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้นกปืนทำงานขณะที่นกปืนและลำกล้องยังไม่กลับเข้าที่ และขัดกลอนสนิม นอกจากนั้นยังป้องกันมิให้ปืนยิงเป็นชุดอีก
การทำงานของเครื่องกลไก
เมื่อสอดซองกระสุนซึ่งบรรจุกระสุนไว้แล้วเข้าในช่องบรรจุซองกระสุน และดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง ๑ ครั้ง จะเกิดการทำงาน คือ อัดแหนบรับแรงถอยขึ้นนก เมื่อเลื่อนปืนถอยพ้นปากซองกระสุน เหล็กรองกระสุนจะคัดกระสุนนัดบนขึ้นไปขวางทางเดินของเลื่อนปืน เมื่อปล่อยเลื่อนปืน แหนบรับแรงถอยจะขยายตัวบังคับเลื่อนปืนให้วิ่งไปข้างหน้าชนกับจานท้ายกระสุนนัดบนเข้าไปในรังเพลิง ทำให้ลำกล้องวิ่งไปข้างหน้าและกระดกขึ้น เพราะห่วงข้อต่อลำกล้องถูกดึงไว้ด้วยสลักยึดลำกล้อง ทำให้ลำกล้องสูงขึ้นขัดกลอนกับเลื่อนปืนสนิท โดยมีสันบนลำกล้องเข้าไปอยู่ในร่องด้านในปืน เป็นการสิ้นสุดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ปืนพร้อมทำการยิง
เมื่อวางปืนให้อยู่ในตำแหน่งขึ้นนก นกปืนหงายมาข้างหลัง คันผลักนกปืนจะดันแหนบนกปืนให้อัดตัว แหนบกระเดื่องนกปืนอันยาว(แหนบ ๓ ขา) จะดันล่างของกระเดื่องนกปืนไปข้างหน้า ปลายกระเดื่องนกปืนเข้าขัดในบากที่ ๒ ของนกปืน(บากแรกถ้าขัดกับกระเดื่องนกปืนเป็นการขึ้นนกขั้นที่ ๑) นกปืนจึงค้างอยู่ข้างหลัง และเมื่อจะยิงต้องกระทำดังนี้
บีบที่ห้ามไกช่วย เป็นการกดโดยอุ้งมือที่จับปืน ทำให้ห้ามไกหมุนตัวบนสลักแง่ในของห้ามไกช่วย จึงพ้นจากลักษณะที่ยันสะพานไกไว้ สะพานมีที่ว่างถอยมาข้างหลังตามแรงเหนี่ยวไกได้
เลื่อนปืนขัดกลอนสนิทกับลำกล้องปืน ปลายบนเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนจะโผล่ขึ้นในช่องที่เลื่อนปืน ตอนท้ายเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนจะถูกดันขึ้นตลอดเวลา ด้วยแหนบเหล็กปลดกระเดื่องนกปืน(แหนบ ๓ ขาอันกลาง) รูสลักเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนเป็นวงรียาวเหมือนตัว(O) ขึ้นลงได้ด้วยรูสลัก ถ้าปลายบนของเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนขึ้นไปโผล่ที่ช่องที่เลื่อนปืนได้ เหล็กปลดกระเดื่องนกปืนชนกับกระเดื่องนกปืนข้างล่าง ทำให้กระเดื่องนกปืนหมุนตัวบนสลัก ปลายบนกระเดื่องนกปืนจะหลุดจากบากที่ ๒ ของนกปืนฟาดตัวสับลงได้ ถ้าเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนไม่โผล่ที่เลื่อนปืน เมื่อเหนี่ยวไกเสร็จ สะหานไกจะชนกับเหล็กปลดกระเดื่องนกปืน แต่อยู่ต่ำๆป ไม่สูงพอ เหล็กปลดกระเดื่องนกปืนจะไม่ติดและไม่ดันต่อกระเดื่องนกปืน ปลายบนกระเดื่องนกปืนจะไม่หลุดจากบากนกปืน นกปืนจะไม่สับลง
ตาม 2 ถ้าเหนี่ยวไป นกปืนเป็นอิสระ แหนบนกปืนขยายตัวดันให้นกปืนผาดตัวลงตีท้ายเข็มแทงชนวน(เข็มแทงชนวนมีแหนบบังคับอยู่ตลอดเวลาไม่ให้วิ่งไปชนกับชนวนท้ายกระสุนได้ นอกจากถูกตีจากนกปืน) ที่จานท้ายกระสุนทำให้เกิดระเบิดขึ้นในรังเพลิงกลายเป็นแก๊สขับดันให้ลูกกระสุนวิ่งหมุนตามเกลียวออกไปจากลำกล้อง แรงดันแก๊สด้านหลังจะดันปลอกกระสุนและดันต่อหน้าเลื่อนปืน ทำให้เลื่อนปืนและลำกล้องถอยหลังมาพร้อมกัน ๒ ซม. สลักยึดลำกล้องจะดึงห่วงข้อต่อลำกล้องไว้ ทำให้ลำกล้องต่ำลง ท้ายลำกล้องแยกออกจากเลื่อนปืน(ปลดกลอน) ลำกล้องจะหยุดในตำแหน่งต่ำสุด เลื่อนปืนคงถอยต่อไป ทำให้ท้ายรังเพลิงเปิด, รั้งและคัดปลอกกระสุนออก, อัดแหนบรับแรงถอย, ขึ้นนก, เมื่อเลื่อนปืนถอยมาข้างหลังสุดแล้ว กระสุนนัดใหม่จะถูกดันขึ้นมาสูงสุด เพื่อรอการบรรจุต่อไป เมื่อเลื่อนปืนวิ่งกลับเข้าไปข้างหน้าด้วยแรงส่งของแหนบรับแรงถอยก็บรรจุกระสุนนัดใหม่เข้าสู่รังเพลิง เริ่มต้นวงรอบการยิงใหม่
ลูกกระสุนมีความเร็ว จะวิ่งพ้นปากลำกล้องไปก่อนที่เลื่อนปืนและลำกล้องจะถอยมาข้างหลังถึงตำบลปลดกลอน เป็นการถ่วงเวลามิให้รังเพลิงเปิดก่อน ขณะเดียวกัน เลื่อนปืนจะมีแรงดันของแหนบรับแรงถอย และแหนบนกปืนดันไว้อีก เพื่อป้องกันอันตรายจากแก๊สท้ายรังเพลิงที่จะเกิดกับผู้ยิง
การทำงานตาม 4 ยังให้ความแน่นอนในการทำงานของปืนอีกด้วย เมื่อลำกล้องปลดกลอนแล้วจะหยุดอยู่กับที่ เลื่อนปืนยังคงถอยต่อไปด้วยแรงเฉื่อยจนสุด แล้วเคลื่อนที่มาข้างหน้าใหม่ ทำให้ปืนพร้อมที่จะยิงนัดใหม่ต่อไปได้อีก เหล็กปลดกระเดื่องนกปืนยังป้องกันไม่ให้ปืนยิงเป็นอัตโนมัติอีกด้วย
เมื่อกระสุนหมดซอง แหนบเหล็กรองกระสุนไปดันสลักยึดลำกล้องปืน กระดกขึ้นไปขัดกับบากด้านซ้ายของเลื่อนปืน ทำให้เลื่อนปืนถูกยึดค้างอยู่ข้างหลัง ให้ผู้ยิงทราบว่ากระสุนหมดซอง ให้เปลี่ยนซองกระสุนใหม่ การจะปล่อยเลื่อนปืนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เพื่อบรรจุกระสุนนัดใหม่ ให้กดตรงลายกันลื่นของสลักยึดลำกล้องปืนลง
เมื่อจะห้ามไก ให้ดันแผ่นห้ามไกขึ้นในตำแหน่งห้ามไก หลังจากขึ้นนกแล้วห้ามไกจะขัดกับบากที่เลื่อนปืน ทำให้เลื่อนปืนเคลื่อนที่ไม่ได้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งแกนห้ามไปส่วนเต็มจะหมุนมาขวางกระเดื่องนกปืนไม่ให้หลุดจากบากที่ ๒ ของนกปืน นกปืนจึงฟาดตัวลงไม่ได้ เมื่อเปิดห้ามไกส่วนเว้าจะควงกับกระเดื่องนกปืน ทำให้มีที่ว่าง กระเดื่องนกปืนจะหมุนตัว ปลายบนพ้นจากบากที่ ๒ ของนกปืน นกปืนเป็นอิสระฟาดตัวไปข้างหน้าตีเข็มแทงชนวน เกิดการทำงานขึ้นอีก เป็นวงรอบเช่นนี้จนกว่ากระสุนจะหมดซอง
การฝึกยิงเบื้องต้น
"การถือปืนพก" ใช้คำบอกว่า "ถือปืนพก" คือใช้มือที่ถนัดถือปืน ๓ นิ้ว กำรอบด้ามปืน นิ้วชี้ขนานกับลำกล้อง ยกปืนเสมอแนวไหล่(ฝ่ามือ)
"ปลดซองกระสุน" ให้พลิกลำกล้องออกจากตัวเล็กน้อย โดยไม่ต้องลดมือที่จับปืน ถ้าใช้มือขวาถือปืน ก็ใช้หัวแม่มือขวากดเหล็กที่ยึดซองกระสุน ถ้าใช้มือซ้ายถือปืน ต้องใช้มือขวากดเหล็กที่ยึดซองกระสุน และใช้อุ้งมือที่มิได้กำปืนรองซองกระสถนไว้ด้วย เมื่อปลดซองออกแล้วจึงนำมาเหน็บไว้ที่เข็มขัด
"เปิดรังเพลิง"(ปืนต้องไม่มีซองกระสุน)
วิธีปฏิบัติ คว่ำมือที่ไม่ได้กำปืน หัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาตัว จับเลื่อนปืนตรงลายกันลื่น ดึงเลื่อนปืนลงจนสุด ถ้ากำปืนด้วยมือขวา ใช้หัวแม่มือดึงสลักยึดลำกล้อง ถ้าใช้มือซ้ายกำปืน ให้ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขวาดันสลักยึดลำกล้องขึ้นขัดกับบากที่เลื่อนปืน ขณะปฏิบัติต้องไม่ลดปืนลงเลย
"ปิดรังเพลิง" ใช้หัวแม่มือขวา(หรือนิ้วชี้มือขวา เมื่อใช้มือซ้ายจับปืน) กดสลักยึดลำกล้องปืนลง ทำให้เคลื่อนปืนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (ต้องฝึกห้ามไกปืนทุกครั้งที่เปิดรังเพลิง) และอยู่ในท่าถือปืนพกตลอดเวลา
"บรรจุกระสุน" เบนลำกล้องออกนอกตัวทางข้างโดยไม่ลดปืนลง ใช้มือที่ว่างหยิบซองกระสุนที่เอวสอดเข้าในช่องใส่ซองกระสุน ดันเข้าไป
"บรรจุ" (หมายถึงนำซองกระสุนเข้าสู่รังเพลิง โดยมากมักจะมีคำบอกว่า หนึ่งซองจำนวนนัด หรือ จำนวนนัดหนึ่งซอง นำหน้าคำบอกว่า "บรรจุ" ก่อนเสมอ) ถ้ายังมิได้บรรจุซองกระสุนก็ให้ใส่ซองกระสุนเข้าที่ปืนก่อน ถ้าบรรจุซองกระสุนแล้วก็เพียงแต่ดึงเลื่อนปืนขึ้นมาข้างหลังแล้วปล่อยกลับ หรือกดสลักเหล็กยึดซองกระสุน ปล่อยเลื่อนปืนไปข้างหน้าแล้วห้ามไก
"เลิกบรรจุ" ให้เปิดรังเพลิงแล้วปลดซองกระสุนออก วางแนบไว้บนฝ่ามือที่มิได้ถือปืน ยกขึ้นระดับเข็มขัด ภายหลังการตรวจปิดรังเพลิง ลั่นไกในท่าถือปืนพก แล้วบรรจุซองกระสุนเข้าปืน คอบฟังคำสั่งต่อไป
"เก็บปืนพก" ให้ลดปืนลง นำปืนเก็บไว้ในซองปืนแล้วอยู่ในท่าตรง
ท่ายิง
ท่ายิง ปพ.๘๖ ตามปกติมีเพียงท่าเดียว คือ ท่ายืนยิง ท่าฝึกยิงปืนพกตามทำนงรบมี ๓ ท่า คือ
ท่านอนยิง จับปืนสองมือใช้ยิงในระยะ ๕๐ หลา หรือกว่านั้น
ท่านั่งคุกเข่ายิง จับปืนสองมือใช้ยิงในระยะ ๒๕ - ๕๐ หลา
ท่ายืนย่อตัวยิง จับปืนมือเดียว(แต่หากยังไม่ชำนาญให้จับสองมือ เพื่อให้จับได้อย่างมั่นคงกันไม่ให้ปืนสะบัดหลุดมือ) ใช้ยิงในระยะประชิด ประมาณ ๒๕ หลา
ข้อแนะนำ การจับปืนพกเพื่อทำการยิงนั้น ผู้ยิงจะต้องฝึกให้เคยชินเกี่ยวกับการจับปืน โดยเฉพาะการจับที่ถูกต้อง เพราะ ปพ.๘๖ ตามปกติมีอาการสะบัดมากกว่าปืนชนิดอื่นๆ ซึ่งพอสรุปเป็นข้อปฏิบัติดังนี้
สำหรับท่ายิงนี้ ไม่ถือว่าเป็นกฎตายตัวว่าทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด เพราะรูปร่าง, ขนาด และความถนัดของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน ผู้ยิงควรค้นคว้าแก้ไขไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ท่าทางที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของตน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นแรกของการฝึกนั้นไม่ควรจะทิ้งหลักการดังกล่าว
เป้า ของ ปพ.๘๖ มี ๒ ประเภท คือ ประเภทเป้าหุ่นและประเภทเป้าปืนพก
ประเภทเป้าหุ่นมี ๓ ชนิด คือ
เป้าหุ่น ก (เป้าหุ่นนอน)
เป้าหุ่น ข (เป้าหุ่นนั่ง)
เป้าหุ่น ค (เป้าหุ่นยืน)
ประเภทเป้าปืนพก มี ๒ ชนิด คือ
เป้า ปพ. ก ใช้สำหรับฝึกยิง ปพ.๘๖ ในระยะไม่เกิน ๒๕ เมตร
เป้า ปพ. ข ใช้สำหรับฝึกยิง ปพ.๘๖ ในระยะเกินกว่า ๒๕ - ๕๐ เมตร
สรุป
ปพ.๘๖ เป็นอาวุธที่มีลำกล้องสั้นกว่าชนิดอื่น และนายทหารสัญญาบัตรส่วนมากมีไว้เพื่อใช้ประจำตัว ฉะนั้น ผู้มีไว้เพื่อป้องกันตนเอง จึงควรมีความรู้ความสามารถในการใช้พอสมควร ซึ่งมีข้อควรระลึกและควรปฏิบัติดังนี้
เกลียวของ ปพ.๘๖ มีลักษณะเวียนซ้าย ผิดกับอาวุธชนิดอื่น ซึ่งเวียนขวา
กระสุนและลำกล้องมีขนาดกว้างกว่าอาวุธประจำกายชนิดอื่น ทำให้ปืนมีอาการสะบัดเมื่อทำการยิง เพราะหน้าตัดลูกกระสุนกว้างมีแรงเสียดทานกับลำกล้องที่สั้นมาก
ซองกระสุนต้องระวังอย่าให้ปากซองกระสุนผิดรูปด้วยการทำหล่น บรรจุกระสุนด้วยการตบแรงเกินควร และอื่นๆ เพราะจะทำให้ปืนติดขัดขณะทำการยิง
ต้องตรวจเครื่องนิรภัยของปืนทุกครั้งที่นำออกใช้
กระสุนลูกปราย ถ้าจะให้มีการคัดปลอก ต้องปลดซองกระสุนออกก่อนทำการยิง
อย่าประมาท เช่น เล็งปืนและลั่นไกไปยังที่ไม่ปลอดภัย
ในการฝึก ต้องจัดให้มีครู ผู้ช่วยครูมากพอสมควร โดยเฉพาะการยิงปืนในสนาม เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ถ้าฝึกเล็งและลั่นไกบ่อยๆ จะทำให้ผู้ฝึกยิงปืนได้ผล ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระสุนซ้อมยิงก็ตาม
ที่มา : เอกสารการสอน วิชาอาวุธศึกษา
ต่อไปผมจะเอาหลักนี้มาขึ้นต้นในทุกโพสของผมที่เกี่ยวกับอาวุธปืน
กฎแห่งความปลอดภัย
- พึงระลึกไว้เสมอว่าปืนทุกกระบอกมีลูกกระสุนบรรจุอยู่ ดังนั้นต้องทำการตรวจปืนทุกครั้งก่อนจับถือ
- อย่าหันปากกระบอกปืนไปในทิศทางที่ยังไม่พร้อมจะทำการยิง (คน - สัตว์)
- ไม่นำนิ้วเข้าโกร่งไกปืน จนกว่าจะพร้อมทำการยิง
- ต้องมั่นใจในเป้าหมายและสิ่งที่อยู่รอบๆเป้าหมาย
ปืนพกแบบ ๘๖ ขนาด .๔๕ นิ้ว (๑๑ มม.)
- กล่าวนำ
- คุณลักษณะของ ปพ.๘๖
ปพ.๘๖ ขนาด .๔๕ นิ้ว(๑๑ มม.) เป็นอาวุธประจำกาย, ทำงานด้วยการสะท้อนถอยหลังของลำกล้อง, ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุน สามารถทำการยิงได้ในแบบกึ่งอัตโนมัติโดยแก๊สอันเกิดจากการเผาไหม้ของกระสุนซึ่งยิงออกไปใช้ประโยชน์ในการทำให้ส่วนเคลื่อนที่ถอยไปข้างหลังเพื่อ - คัดปลอกกระสุน
- ขึ้นนก
- บังคับให้เลื่อนปืนถอยมาข้างหลัง
ในขณะที่เลื่อนปืนถอยมาข้างหลัง ก็เกิดการอัดแหนบรับแรงถอย ด้วยการทำงานขงแหนบรับแรงถอย จะบังคับให้เลื่อนปืนวิ่งกลับไปข้างหน้าและบรรจุกระสุนนัดต่อไปเข้าสู่รังเพลิง
ปืนพก ๘๖ ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุนซึ่งบรรจุได้ ๗ นัด การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเลื่อนปืนจะดันกระสุนนัดบนจาดซองกระสุนเข้ารังเพลิง, เมื่อยิงกระสุนนัดสุดท้ายในซองกระสุนออกไปแล้ว เลื่อนปืนจะถอยไปค้างอยู่ข้างหลังโดยมีสลักยึดลำกล้องขึ้นไปขัดเลื่อนปืนไว้ เมื่อกดเหล็กยึดซองกระสุน ซองกระสุนจะหลุดออกมาจากช่องสวมซองกระสุน ถ้าสอดซองกระสุนซึ่งบรรจุกระสุนเต็มเข้าไปใหม่ และกดสลักยึดลำกล้องลง เลื่อนปืนจะวิ่งกลับไปข้างหน้า ปืนจะยิงต่ออไปได้อีก
ความเร็วในการยิงมีขีดจำกัด ซึ่งขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้ในการบรรจุซองกระสุนเข้าในปืนและความสามารถในการเล็งและลั่นไก
มี ๒ แบบ คือ
ปืนทั้ง ๒ แบบนี้ มีการทำงานเหมือนกัน ผิดกันตรงที่รูปร่าง ซึ่งแบบ M ๑๙๑๑ A ๑ ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม และสะดวกแก่การใช้ยิ่งขึ้นไปอีก มีดังนี้
- หางห้ามไกช่วย สร้างให้ยื่นออกไปรับอุ้งมือยิ่งขึ้น
- รอยตัดที่โครงปืน ได้ดัดแปลงให้สอดนิ้วเข้าหน้าไกได้สะดวก (สวมถุงมือยิงได้)
- ไกด้านหน้า ทำให้เว้าสั้นกว่าเดิมและมีลายกันลื่น
- เหล็กปิดท้ายโครงปืน โค้งออกมาและมีลายกันลื่นเพื่อให้แนบสนิทกับอุ้งมือ
- ศูนย์หน้าขยายใหญ่กว่าเดิม
- กว้างปากลำกล้อง .๔๕ นิ้ว(๑๑ มม.) | มีเกลียว ๖ เกลียวเวียนซ้าย |
- ลำกล้องยาว | ๕.๐๓ นิ้ว |
- ปืนทั้งกระบอกยาว | ๘.๕๙๓ นิ้ว |
- ปืน, ซองกระสุนพร้อมด้วยกระสุน ๗ นัด หนัก | ๒.๔๓๗ ปอนด์ |
- แรงเหนี่ยวไก | ๕ - ๖ ๑/๒ ปอนด์ |
- กำลังกระทบในระยะ ๒๕ หลา | ๔๓.๔๐ ก.ก. |
- อำนาจทะลุทะลวงในระยะ ๒๕ หลา | |
ไม้สนขาว | ๖.๐๐ นิ้ว |
ดินทราย ดินเปียก | ๑๐.๐๐ นิ้ว |
ทรายแห้ง ไม้อัดแน่น | ๘.๐๐ นิ้ว |
- ความเร็วในการยิงทางทฤษฎี | ๒๑ - ๒๘ นัด/วินาที |
- ความเร็วในการยิงหวังผล | ๑๐ นัด/วินาที |
- ระยะยิงไกลสุง(มุม ๓๐ ํ) | ๑,๖๔๐ หลา |
- ระยะยิงหวังผล | ๕๐ หลาลงมา |
- เกลียวเวียนซ้าย เพื่อแก้อาการเยื้องของการเหนี่ยวไก |
ข้อสังเกต ระวังการประกอบเหล็กปิดท้ายผิดทาง ต้องประกอบขอรั้งปลอกกระสุนก่น มิฉะนั้นอาจประกอบเหล็กปิดท้ายเข็มแทงชนวนไม่เข้า
ข้อควรสังเกต
- การประกอบจากลำดับหลังสุดไปหาลำดับแรก
- ก่อนถอด - ประกอบห้ามไก ต้องขึ้นนกปืนก่อนทุกครั้ง
- ชิ้นส่วนในเหล็กปิดท้ายโครงปืน ไม่ควรถอดออกโดยไม่จำเป็น
- การถอดเหล็กยึดซองกระสุน ควรใช้ไขควงตัวเล็กมีขนาดเท่ากับหมุดเกลียวของเหล็กยึดซองกระสุน (ถ้าหากจำเป็นอาจใช้ปลายของแหนบห้ามไกช่วยถอดก็ได้)
- ถ้าต้องการทำให้ไกปืนอ่อน ให้ดัดที่แกนแหนบเหล็กปลดกระเดื่องนกปืน และแหนบกระเดื่องนกปืน (ดัดขึ้น)
ความชื้นและเหงื่อที่มือเป็นสิ่งเร่งให้เกิดสนิมเร็วขึ้น หลังจากการฝึกหรือนำไปใช้ควรทำความสะอาดและป้องกันสนิมเสมอ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
ข้อควรระวัง
ภายหลังการยิง อย่าชโลมน้ำมันในลำกล้องก่อนที่จะชำระลำกล้องให้สะอาดและเช็ดแห้งแล้วเสียก่อน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ปืนพก แบบ ๘๖
- หลังจากการฝึกไม่ควรทิ้งปืนไว้โดยไม่ทำความสะอาด เพราะเมื่อเกิดการชรุดแล้วยากที่จะแก้ไข
- ชโลมน้ำมันเพียงบางๆ
- อย่าวางปืนลงบนพื้นที่มีฝุ่นละอองเพราะวัตถุดังกล่างอาจจะเข้าไปภายในลำกล้องและเครื่องกลไก
- อย่าใช้เศษผ้าหรือวัสดุอื่นใด อุดปากลำกล้องเพราะอาจหลงลืมถอดออก ซึ่งจะทำให้ลำกล้องแตกหรือบวมเมื่อมีการยิง
- ไม่ควรลั่นไกขณะทำการถอด
- ควรใช้นิ้วชี้ลั่นไก ถ้าใช้นิ้วกลาง นิ้วชี้จะลั่นส่วนเคลื่อนที่และกดสลักยึดลำกล้อง จะเป็นเหตุให้เลื่อนปืนถอยไม่สะดวก
- เมื่อลั่นไกไปแล้วต้องปล่อยไก เพื่อให้เหล็กปลดกระเดื่องนกปืนขัดกับกระเดื่องนกปืนได้ใหม่
- เมื่อจะเลิกบรรจุให้ถอดซองกระสุนก่อน
- การสอดซองกระสุนเข้าปืน อย่ากระแทกแรงๆ เพราะจะทำให้ซองกระสุนสะท้อนออก และปากซองกระสุนอาจชำรุดได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ปืนติดขัดขณะทำการยิง
- การเก็บปืนพกไว้ในซองหนังจะทำให้เป็นสนิมได้ง่ายเนื่องจากความชื้นของหนัง ฉะนั้นควรใช้ซองปืนที่แห้งสนิทจริงๆ ถ้าจำเป็นต้องเก็บ ปพ. ไว้ในซองหนังให้ชโลมน้ำมันหนาๆ
กระสุนของ ปพ.๘๖ มี ๕ ชนิด คือ
ข้อสังเกต
- กระสุนซ้อมรบ หัวกระสุนไม่ใช่โลหะ อาจเป็นกระดาษหรือไม้ก๊อก
- กระสุนฝึกหัดบรรจุ ที่จานท้ายปลอกกระสุนไม่มีชนวน ข้างปลอกกระสุนมีรูเล็กๆ ป้ายสีแดง
- กระสุนลูกปลายมีหัวตัด, คอปลอกกระสุนคอด และถ้าจะให้มีการรั้งและคัดปลอกกระสุนชนิดนี้ ต้องปลดซองกระสุนก่อนทำการยิงทุกครั้ง
เครื่องนิรภัยของปืนพก แบบ ๘๖ มี ๔ อย่างคือ
วิธีตรวจ ขึ้นนกปืนแล้วผลักห้ามไกขึ้นข้างบน กำด้ามปืนตามปกติแล้วเหนี่ยวไก ๒ - ๓ ครั้ง ถ้านกปืนสับ แสดงว่าห้ามไกชำรุด ต้องส่งซ่อม
วิธีตรวจ ง้างนกปืนอยู่ในท่าขึ้นนก อย่ากดห้ามไกช่วย ชี้ลำกล้องปืนลงดินเหนี่ยวไก ๓ - ๔ ครั้ง ถ้าห้ามไกช่วยจมลงด้วยน้ำหนักของตัวเองและสามารถลั่นไกได้ แสดงว่าห้ามไกช่วยชำรุด ให้ส่งซ่อม
วิธีตรวจ ง้างนกปืนไปข้างหลังเกือบสุด แล้วค่อยๆปล่อยกลับคืนไปข้างหน้า บากขึ้นนกปืนเป็นบากแรกจะขัดกับแง่ที่กระเดื่องนกปืน เรียกว่า "ขึ้นนกปืนขั้นที่ ๑" หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ขึ้นนกปืนขั้นที่ ๒(ใช้สำหรับยิง) แล้วใช้มือข้างที่ถนัดลั่นไก ก่อนลั่นไกใช้หัวแม่มืออีกข้างบังคับนกปืนไว้แล้วค่อยๆปล่อยให้นกปืนฟาดตัวไปข้างหน้าช้าๆ จนนกปืนไปขัดที่บากขึ้นนกปืนขั้นที่ ๑ จากนั้น จึงปล่อยไก แล้วทดลองเหนี่ยวไกดูใหม่ ถ้าหากสามารถลั่นไหได้แสดงว่านกปืนหรือกระเดื่องนกปืนชำรุด ต้องส่งซ่อม
ข้อสังเกต การลดนกปืนจากขั้นที่ ๒ ไปขั้นที่ ๑ ใช้ปฏิบัติเมื่อบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงแล้ว เป็นเครื่องนิรภัยว่าปลอดภัยดี แต่มีข้อควรระวังคือ
วิธีตรวจ ขึ้นนกปืนแล้วดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง ๑/๔ นิ้ว แล้วเหนี่ยวไก ขณะเหนี่ยวไก ให้ปล่อยเลื่อนปืนกลับ ถ้านกปืนฟาดตัวไปข้างหน้าได้แสดงว่าปลายบนของเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนสึกให้เปลี่ยนใหม่ ถ้าหากนกปืนไม่ฟาดไปข้างหน้าให้ปล่อยนิ้วเหนี่ยวไกแล้วลั่นไกใหม่ นกปืนจะฟาดตัวไปข้างหน้าได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหล็กปลดกระเดื่องนกปืนมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้นกปืนทำงานขณะที่นกปืนและลำกล้องยังไม่กลับเข้าที่ และขัดกลอนสนิม นอกจากนั้นยังป้องกันมิให้ปืนยิงเป็นชุดอีก
วิธีปฏิบัติ คว่ำมือที่ไม่ได้กำปืน หัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาตัว จับเลื่อนปืนตรงลายกันลื่น ดึงเลื่อนปืนลงจนสุด ถ้ากำปืนด้วยมือขวา ใช้หัวแม่มือดึงสลักยึดลำกล้อง ถ้าใช้มือซ้ายกำปืน ให้ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขวาดันสลักยึดลำกล้องขึ้นขัดกับบากที่เลื่อนปืน ขณะปฏิบัติต้องไม่ลดปืนลงเลย
ท่ายิง ปพ.๘๖ ตามปกติมีเพียงท่าเดียว คือ ท่ายืนยิง ท่าฝึกยิงปืนพกตามทำนงรบมี ๓ ท่า คือ
ข้อแนะนำ การจับปืนพกเพื่อทำการยิงนั้น ผู้ยิงจะต้องฝึกให้เคยชินเกี่ยวกับการจับปืน โดยเฉพาะการจับที่ถูกต้อง เพราะ ปพ.๘๖ ตามปกติมีอาการสะบัดมากกว่าปืนชนิดอื่นๆ ซึ่งพอสรุปเป็นข้อปฏิบัติดังนี้
- จับเลื่อนปืนหันด้ามปืนเข้าหามือที่ใช้ยิง พยายามให้ด้านหลังอยู่ที่กึ่งกลางของรอยพับระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้
- นิ้วที่กำด้ามปืน ๓ นิ้ว รูดชิดใต้โกร่งไกเข้าด้ามปืน
- กำปืนแน่นพอประมาณ ถ้ายิงจังหวะช้าจับแน่นขึ้น(แต่อย่าเกร็ง) ถ้าหากเป็นการยิงเร็ว นิ้วชี้ต้องเป็นอิสระจริงๆ
- นิ้วหัวแม่มือที่กำปืนตั้งขึ้น อย่างน้อยเท่ากับระดับของโคนนิ้วชี้ที่ใช้ลั่นไกปืน แต่ไม่สูงจนเลยแผ่นห้ามไกช่วย เพราะจะทำให้มือไม่กดห้ามไกช่วย ปืนจะลั่นไกไม่ได้
- ในการยิงจังหวะเร็ว ควรล็อคข้อศอกและหัวไหล่เพื่อให้ปืนกลับเข้าที่เร็วขึ้น และไม่ทำให้เส้นเล็งเสียไปบางนัด(การเล็งตรง)
- ลำตัวของผู้ยิงควรทำมุมกับแนวยิงหรือแนวเป้าประมาณ ๔๕ องศา แต่ไม่ควรเกิน ๙๐ องศา
สำหรับท่ายิงนี้ ไม่ถือว่าเป็นกฎตายตัวว่าทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด เพราะรูปร่าง, ขนาด และความถนัดของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน ผู้ยิงควรค้นคว้าแก้ไขไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ท่าทางที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของตน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นแรกของการฝึกนั้นไม่ควรจะทิ้งหลักการดังกล่าว
ปพ.๘๖ เป็นอาวุธที่มีลำกล้องสั้นกว่าชนิดอื่น และนายทหารสัญญาบัตรส่วนมากมีไว้เพื่อใช้ประจำตัว ฉะนั้น ผู้มีไว้เพื่อป้องกันตนเอง จึงควรมีความรู้ความสามารถในการใช้พอสมควร ซึ่งมีข้อควรระลึกและควรปฏิบัติดังนี้
ที่มา : เอกสารการสอน วิชาอาวุธศึกษา
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ